คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

คุ้มเจ้าหลวง

คุ้มเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์หรือจวนผู้ว่าราชการเมืองแพร่ในปัจจุบัน

     คุ้มเจ้าหลวง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดยเจ้าพิริยเทพวงษ์ คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารโอ่โถง มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น ซึ่งมีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือทรงขนมปังขิง ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น และจัดงานฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในปีพ.ศ. 2435 คุ้มนี้งดงามใหญ่โตเพราะเงินคงคลังในสมัยพระยาพิมพิสารราชานั้นมีมาก ตกมาถึงรุ่นเจ้าพิริยเทพวงษ์ผู้เป็นลูก จึงสามารถสร้างคุ้มใหม่หลังใหญ่ได้ แม้ว่าในปี พ.ศ. 2433 เป็นปีที่เมืองแพร่ฝนแล้งราษฎรทำนาได้หนึ่งส่วน เสียสี่ส่วนต้องเปิดคลังหลวงไปช่วยราษฎรก็ตาม แต่เมืองแพร่ยังมีเงินมากพอที่จะสร้างสถาปัตยกรรมงดงามล้ำค่าหลังนี้ขึ้นมาได้

       ในปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ ทำให้เจ้าพิริยเทพวงษ์ได้หลีภัยการเมืองไปอยู่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาวและไม่ได้มาอีกจนถึงพิราลัย สยามจึงได้ยึดราชสมบัติ และคุ้มของเจ้าหลวง และได้ใช้เป็นที่ตั้งของกองทหารม้าจากกรุงเทพฯ ที่ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยู่ระยะหนึ่ง บริเวณตรงข้ามคุ้มเจ้าหลวงเคยมีคอกม้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่ เมื่อปี พ.ศ. 2454 พระยานิกรกิตติการ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่คนที่ 4 ได้ย้ายโรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ โรงเรียนหนังสือไทยตัวอย่างตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มาตั้งอยู่ตรงข้ามคุ้มเจ้าหลวง โดยโรงเรียนนี้เมื่อแรกก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า "โรงเรียนเทพวงษ์" ตามนามของเจ้าพิริยเทพวงษ์ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 เมื่ออาคารเรียนไม้สักสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งได้รับความร่วมมือร่วมใจจากมหาชนชาวเมืองแพร่ทุกหมู่เหล่าเป็นอย่างดีและได้รับบริจาคไม้สัก 100 ท่อน จากพระยาบุรีรัตน์ คุ้มวงศ์บุรี กรมที่ปรึกษาโรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานนามใหม่ว่า "โรงเรียนพิริยาลัย" ลงวันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2456 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าหลวงนครแพร่องค์สุดท้ายและเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แต่ต่อมาโรงเรียนก็ได้ย้ายไปอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล คือ โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ในปัจจุบัน ส่วนคุ้มเจ้าหลวงก็กลายเป็นจวนหรือบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ จนเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้มอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ดูแล มีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นจนถึงปัจจุบัน

โรงเรียนเทพวงศ์ หรือ โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ ในปัจจุบัน

      นอกจากภายนอกจะดูเป็นบ้านที่มีสถาปัตยกรรมงดงามทรงคุณค่าแล้ว ใครจะรู้ว่า ใต้ถุนบ้านหลังนี้เคยเป็นที่กักขังนักโทษมาก่อน และเคยเกิดโศกนาฏกรรม จนกลายเป็นเรื่องราวลึกลับดำมืด และอาถรรพ์จวบจนปัจจุบันในอดีตบริเวณใต้ถุนอาคารหลังนี้เคยเป็นที่คุมขังนักโทษมานานนับศตวรรษ มีคนเจอโครงกระดูก โซ่ตรวน สภาพศพแขนขาหัก อยู่ใต้คุ้มเจ้าหลวง จ.แพร่

ในห้องคุมขังได้ตัวอาคารถูกแบ่งออกเป็น 3 ห้อง โดยห้องกลางเป็นห้องทึบ ที่แสงไม่สามารถเล็ดลอดเข้ามาได้เลย  มีไว้สำหรับขังข้าทาสที่กระทำความผิดขั้นร้ายแรงไม่ให้เห็นเดือนเห็นตะวัน มีความลี้ลับที่สร้างความกลัวชวนขนหัวลุกให้กับคนท้องถิ่น ถึงความเฮี้ยนของผีทาสในสมัยก่อน โดยแต่ละตำแหน่งของบ้านพื้นบ้าน จะพบว่ามีปล่องที่สามารถหย่อนนักโทษลงไป ซึ่งเป็นสาเหตุของพวกเขาแขนขาหัก และส่งข่าวส่งน้ำสู่ด้านล่าง หากลองได้ไปยืน ณ จุดที่ข้าทาสเคยถูกจองจำ  คงทำให้เข้าใจถึงความทุกข์ทรมานเหล่านักโทษได้มากขึ้น

ห้องขังนักโทษใต้คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ในอดีต 

ห้องขังนักโทษใต้คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ในอดีต

ห้องขังนักโทษใต้คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ในอดีต

3,606 views

2

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่