คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

คุ้มเจ้าหลวง จ.แพร่

พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่

  • คุ้มเจ้าหลวง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยเจ้าพิริยเทพวงษ์ เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูน มี ๒ ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็ม แต่ใช้ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่เป็นไม้แก่น ไม้แดง และไม้เนื้อแข็ง รองรับฐานเสาทั้งหลัง
  • ในอดีตคุ้มเจ้าหลวงนั้นได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักอาศัยของเจ้าหลวงพิริยเทพวงษ์และครอบครัว ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ เกิดเหตุการณ์กบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ จึงกลายเป็นที่ตั้งของกองบังคับการทหารม้าที่ทางกรุงเทพฯ ได้ส่งมารักษาความสงบที่เมืองแพร่ ต่อมาก็ได้กลายเป็นจวนข้าหลวงหรือเป็นบ้านพักสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัด และได้กลายมาเป็นสถานที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับจังหวัดแพร่

  • คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ยังเคยเป็นที่ประทับพักแรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี รวมถึง         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จประพาสจังหวัดแพร่

  • ในปัจจุบันคุ้มเจ้าหลวงได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เพื่อให้ประชาชน หรือนักเรียนนักศึกษาได้เข้าเยี่ยมชมฟรี โดยภายในคุ้มเจ้าหลวงจะมีการจัดโซนแสดงของเก่าในอดีต         โซนห้องอาหาร และโซนห้องนอนของเจ้านายในอดีต เป็นต้น

             ด้านหน้าคุ้มเจ้าหลวง                                                                        เจ้าหลวงพิริยเทพวงษ์

  • นอกจากนี้ภายใต้ตัวอาคารที่มีความสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร มีห้องสำหรับคุมขัง ข้าทาส บริวารที่กระทำความผิดในอดีต จำนวน 3 ห้อง ห้องกลางเป็นห้องทึบ ไม่มีแสงสว่างลอดเข้าไปได้ ใช้เป็นที่คุมขังข้าทาสบริวารที่กระทำความผิดร้ายแรง ส่วนอีก 2 ห้อง ปีกซ้ายและปีกขวา มีช่องแสงให้แสงสว่างเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดชั้นลหุโทษ ซึ่งการคุมขังข้าทาสบริวารนี้มีมาเป็นเวลายาวนานกว่า 50 ปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเลิกทาส คุกทาสจึงกลายมาเป็นที่คุมขังนักโทษทั่ว ๆ ไปของเจ้าหลวงหรือข้าหลวง และต่อมามีการสร้างเรือนจำเมืองแพร่ขึ้นใหม่ คุกแห่งนี้จึงว่างลง หลงเหลือไว้เพียงตำนาน
  • และปัจจุบันคุกแห่งนี้ยังเปิดให้คนได้เข้าเยี่ยมชมได้อยู่ โดยการที่จะเข้าไปเยี่ยมชมได้นั้นจะต้องเดินหันหลังเข้าและตอนออกก็ให้เดินหน้าออกมาอย่าหันหลังไปมองคุก เพราะมีความเชื่อว่าอาจทำให้ต้องโทษเข้าคุกในอนาคตได้

                                                                บริเวณห้องคุมขังนักโทษในอดีต

6,319 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่