คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดลี

วัดเก่าแก่เมืองพะเยา

วัดลี

วัดเก่าแก่เมืองพะเยา

วัดลี เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของเมืองพะเยามาช้านาน  มีการสันนิษฐานว่า เป็นเมืองยุคแรกๆของพะเยา ตั้งแต่สมัยขุนจอมธรรมมาสร้างเมืองพะเยา ปัจจุบันวัดลียังคงใช้ชื่อดั้งเดิมตั้งแต่แรกเริ่มสร้างวัด โดยคำว่า “ลี” เป็นคำโบราณของภาคเหนือ หมายถึงกาดหรือตลาด “วัดลี” จึงหมายถึงวัดที่อยู่ในย่านชุมชนตลาด ตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในจารึก วัดลีสร้างเมื่อปีจุลศักราช ๘๕๗ หรือปีพ.ศ.๒๐๓๘ ตรงกับสมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

          เจ้าสี่หมื่นพะเยา คือผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น ได้รับพระราชโองการให้สร้างวัดลีเพื่อเป็นการถวายส่วนบุญส่วนกุศลแด่พระเจ้ายอดเชียงรายกษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๐๓๘ เจ้าสี่หมื่นพะเยาได้ทำพิธีฝังหินกำหนดเขตวัดและผูกพัทธสีมาเป็นอุโบสถไว้กับวัดลี พระมหาเถรปัญญาวังสะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดลี และมีลูกวัดร่วมเป็นจำพรรษาอยู่ ๓ รูป

          ในสมัยของพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์หรือท้าวแม่กุ กษัตริย์อาณาจักรล้านนา ได้เกิดสงครามระหว่างล้านนากับพม่า ทำให้ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่า รวมระยะเวลานานถึง ๒๑๖ ปี ตามหัวเมืองต่างๆ ของล้านนารวมถึงเมืองพะเยาต้องกลายเป็นเมืองร้างไปเป็นเวลายาวนาน ส่วนทางด้านศาสนาก็ขาดผู้คนมาทะนุบำรุงจึงทำให้วัดวาอารามส่วนใหญ่ถูกปล่อยให้รกร้างชำรุดทรุดโทรมต้องกลายเป็นวัดล้างไปในที่สุด

 

          วัดลี ซึ่งได้ผ่านการเป็นวัดร้างมาหลายร้อยปีเพิ่งมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๖๓ -๒๔๗๘ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ โดยครูบาศรีวิชัยมาเป็นผู้นำในการบูรณปฏิสังขรณ์และยกฐานะขึ้นเป็นมาเป็นวัดอีกครั้ง ภายในวัดมีสิ่งที่สำคัญคือ องค์พระธาตุธาตุวัดลี ซึ่งเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวพะเยา เป็นเจดีย์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มีพระพุทธบาทจำลองหินทราย เป็นโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดมีมาตั้งแต่ดั้งเดิม และศิลาจารึกวัดลี เป็นจารึกที่กล่าวถึงประวัติการสร้างวัดลีในปี  พ.ศ. ๒๐๓๘ และเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นเดียวที่ทำให้ได้ความเป็นมาของวัดลี

            พระพุทธรูปหินทราย ที่ประดิษฐานอยู่บริเวณองค์พระธาตุเจดีย์ เป็นพระพุทธรูปหินทรายองค์ใหญ่ที่สุดในวัดลี และมีความเก่าแก่อยู่คู่กับวัดลีมาช้านาน เป็นพระพุทธรูปหินทรายศิลปะสกุลช่างพะเยาที่มีความสวยงาม โดดเด่นที่พระพักตร์ที่อิ่มเอิบ มีลายผ้าจีวรผาดบริเวณหน้าตักซ้าย พระเศียรเป็นลายตาราง พระเมาลีเป็นเปลวรัศมีที่กว้างใหญ่ นั่งบนฐานราบ ปางมารวิชัย ซึ่งเป็นศิลปะสกุลช่างพะเยาที่หาชมได้ยาก

          เมื่อมาถึงวัดลี ไม่ควรพลาดที่จะเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เวียงพยาวที่อยู่ในวัดลี เพราะเป็นที่เก็บศิลปะโบราณวัตถุ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวพะเยา และงานศิลปะสกุลช่างพะเยาให้ได้ชมมากมาย

6,166 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา