คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดแสนเมืองมา

ความงามแห่งศิลปะไทลื้อ

           วัดแสนเมืองมา ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ วัดแสนเมืองมา สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๐ และได้รับบูรณะครั้งใหญ่ ๒ ครั้ง คือในช่วงต้นของปี พ.ศ.๒๔๙๐ และ พ.ศ.๒๕๓๒ รูปแบบของวิหารสร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมของไทลื้อผสมผสานกับสถาปัตยกรรมล้านนาอย่างลงตัว หลังคาเป็นแบบ ๒ ชั้นลดหลั่นกัน ๒ ระดับ หลังคามีลักษณะโค้งลาดต่ำคลุมพระวิหารมุงด้วยแป้นเกล็ด ช่อฟ้าทำด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปหงส์ตามแบบศิลปะไทลื้อ หน้าบันประดับด้วยไม้ฉลุลวดลายเป็นรูปเทพพนมรายล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา เป็นวิหารที่วิจิตรสวยงาม

          ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองมีลักษณะเด่นคือ สร้างตามพุทธศิลป์ที่เป็นจารีตนิยมของไทลื้อ ซึ่งนิยมสร้างพระพุทธรูป มีพระเมาลีเป็นรูปเปลวเพลิง (สัญลักษณ์ของการตรัสรู้) พระกรรณยาวจรดพระอังสะ (แสดงถึงพระปัญญาคุณ) พระพักตร์ทรงเหลี่ยมแย้มสรวล อิ่มเอิบ (แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณ) และพระพักตร์ดูอ่อนเยาว์ (แสดงถึงพระวิสุทธิคุณ) องค์พระประธานสร้างโดยคงลักษณะตามพุทธศิลป์แบบจารีตไทลื้อ เป็นเพียงองค์เดียวที่มีอยู่ในอำเภอเชียงคำในขณะนี้ ภายในวิหารนี้ยังมีธรรมาสน์ แบบจารีตดั้งเดิมของไทลื้อที่สร้างขึ้นมาพร้อมพระวิหารหลังนี้ สร้างด้วยไม้ตั้งอยู่บนฐานอิฐก่อสูงมีผนังไม้ทึบรอบทั้งสี่ด้าน ลักษณะผายออก รอบนอกประดับด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษามีบันไดและทางขึ้นอยู่ด้านหน้า ใช้สำหรับพระภิกษุสามเณรแสดงธรรมเทศนา

          ภายในวิหาร บนผนังรอบๆ วิหาร มีรูปวาดประวัติความเป็นมาของชาวไทลื้อ ที่เดินทางอพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของประเทศจีน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนับเป็นระยะเวลาประมาณ ๒๐๐ ปี

13,882 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา