คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดศรีอุโมงค์คำ

พระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่สมบูรณ์มาก

วัดศรีอุโมงค์คำ หรือที่ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า “วัดสูง”  เนื่องจากวัดตั้งอยู่ในเนินสูงทั้งเจดีย์และพระอุโบสถ ทำให้วัดสูงเด่นสง่าและมองเห็นได้เด่นชัด วัดศรีอุโมงค์คำ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๙ โดยชื่อวัดศรีอุโมงค์คำ นั้น มีความหมายตามสถานที่ตั้งดังนี้ คำว่า “ศรี” หรือที่ล้านนาอ่านว่า “สะ-หรี” หมายถึง ต้นโพธิ์ หรือ ความเป็นมงคล ส่วนคำว่า“อุโมงค์” หมายถึงอุโมงค์ หรือถ้ำ ซึ่ง            ชาวบ้านเชื่อกันว่าใต้ฐานโบสถ์ของวัดแห่งนี้ มีถ้ำหรืออุโมงค์อยู่ และคำว่า “คำ” หมายถึง ทองคำ วัดศรีอุโมงค์คำ เป็นวัดที่มีพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก พระธาตุเจดีย์สีทองอร่ามบนฐานสี่เหลี่ยมยกสูงตั้งเด่นเป็นสง่า เป็นเจดีย์ศิลปะล้านนาหน้าไม้สิบสอง ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๓ ชั้น เรือนธาตุรูปแปดเหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ มีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่ในซุ้ม

          วัดศรีอุโมงค์คำ มีวิหารหลังเก่าที่สร้างขึ้นในปีจุลศักราช ๑๒๓๗ สัปตศก เจ้าหลวงอริยะซึ่งลงไปรับสัญญาบัตรกลับมาครองเมืองพะเยาได้ก่อสร้างวิหารของวัดนี้ขึ้น แต่ภายหลังถูกรื้อออกไป สันนิษฐานว่าอาจเป็นวิหารหลังที่เหลือร่องรอยเพียงฐานของวิหาร สิ่งสำคัญของวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร คือฐานวิหารเก่า ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างที่แน่ชัด และภายในพระอุโบสถของวัดยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยาอีกองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงมากในล้านนา เรียกกันว่า “พระเจ้าล้านตื้อ” ชื่อทางการของพระพุทธรูปองค์นี้คือ “หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์” มีพุทธลักษณะที่งดงามมาก พระเจ้าล้านตื้อมีพระวรกายอวบอิ่ม สีทองงามอร่าม พระพักตร์ดูอมยิ้มอยู่ตลอดเวลา และมีเอกลักษณ์ทางศิลปะของภูกามยาวโดยเฉพาะ

7,429 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา