สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง สร้างขึ้นในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาโดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์ เชลยศึกพันธมิตรจำนวนมากมาสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ซึ่งมีส่วนหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ การสร้างทางรถไฟนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลาดจนขาดอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง
เส้นทางเริ่มต้นจากสถานีหนองปลาดุก อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี ผ่านสถานีต่าง ๆ ใน จ. กาญจนบุรี เพื่อลำเลียงยุทธปัจจัยและกำลังทหารไปยังพม่า เส้นทางเมื่อข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแควไปแล้วจะเลียบไปตามลำน้ำแควน้อย ผ่านโตรกผาบริเวณที่เรียกว่าถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นทางโค้งเลียบหน้าผา ด้านหนึ่งเป็นแม่น้ำที่เชี่ยวกราก บางช่วงต้องขุดเจาะระเบิดภูเขาเป็นช่องให้รถไฟผ่านไป บริเวณนี้เต็มไปด้วยไข้ป่า สัตว์ร้ายนานา ความอดอยาก ความทารุณโหดร้ายจนทำให้เชลยศึกชาวตะวันตก และกรรมกรรถไฟหลากเชื้อชาติต้องสังเวยชีวิตไปเป็นจำนวนมาก จนมีการเปรียบเทียบว่าหนึ่งไม้หมอนของทางรถไฟสายมรณะคือหนึ่งชีวิต สะพานอันเลื่องชื่อในสงครามโลกครั้งที่ 2
ทหารช่างญี่ปุ่นเลือกสร้างสะพานที่บริเวณนี้เนื่องจากมีฐานดินด้านล่างแน่นที่สุด โดยใช้แรงงานเชลยศึกและกรรมกรรับจ้างจำนวนมาก การก่อสร้างเริ่มจากการสร้างสะพานไม้เพื่อลำเลียงคนและอุปกรณ์ก่อสร้างทางรถไฟข้ามไปก่อน โดยสร้างในช่วงที่น้ำลดลงตอนปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2485 โดยใช้ไม้ซุงทั้งต้นตอกเป็นเสาเข็ม ใช้เวลาก่อสร้าง 3 เดือน และได้รื้อออกไปหลังจากสร้างสะพานเหล็กแล้ว (ปัจจุบันแนวสะพานไม้เดิมอยู่ห่างจากสะพานข้ามแม่น้ำแควลงไปทางใต้ประมาณ 100 เมตร ในพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2) สะพานข้ามแม่น้ำแควถูกทหารฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทางอากาศเป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2487 และถูกโจมตีทั้งสิ้นราว 10 ครั้งในระหว่างสงครามจนกระทั่งสะพานช่วงที่ 4-6 ชำรุด และไม่สามารถใช้การได้ ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงขึ้นใหม่จากของเดิม โดยตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็กสองช่วง ส่วนด้านหัวและท้ายเปลี่ยนเป็นสะพานเหล็กหกช่วงแทน
ข้อมูลจาก สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี
ข้อมูลติดต่อ 035-518797 http://www.m-culture.go.th/