คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ค่ายบางระจัน

อนุเสาวรีย์ค่ายบางระจัน

อนุสาวรีย์สร้างขึ้นเมื่อ ปี 2519 เพื่อน้อมรำลึกถึง เมื่อเดือน 3 ปีระกา พุทธศักราช 2308 มีผู้กล้า คือนายอิน นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว นายทองเหม็น นายแท่น นายเมือง พันเรือง ขุนสรรค์ ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านตั้งต่อสู้กับทัพพม่าที่บ้านบางระจัน มีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคม บำรุงขวัญ เพื่อประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจันให้ยิ่งขึ้น ชั่วกาลนาน บนอนุสาวรีย์จะมีรูปปั้นของวีระชนผู้กล้าทั้งหมด ศิลปะการปั้นงดงามยิ่งนัก

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ กองทัพพม่าได้ออกราดตระเวนปล้นสะดมข่มเหงชาวไทยฉุดคร่าอนาจาร เผาบ้านเรือน ทำให้ชาวสิงห์บุรีโกรธแค้นยิ่งนัก ได้รวบรวมสมัครพักพวกต่อสู้กับทหารพม่าจนเกินเป็นค่ายบางระจันขึ้นโดย นายอิน นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว นายทองเหม็น นายแท่น นายเมือง พันเรือง ขุนสรรค์ เป็นผู้นำในการรบ พวกชาวบ้านบางระจันได้สู้รบกับทหารพม่าถึงแปดครั้ง จนครั้งสุดท้ายทหารพม่าต้องใช้ปืนใหญ่ยิงถล่ม ชาวบ้านบางระจันได้ขอปืนใหญ่ไปทางกรุงศรีอยุธยาไม่เป็นผล ชาวบ้านจึงรวมใจกันหล่อปืนใหญ่ใช้เอง แต่ด้วยความที่ไม่ชำนาญการทำ ปืนใหญ่จึงร้าวและแตก ไม่สามารถใช้งานได้ต่อไป จึงเป็นที่มาของนักรบปืนแตกแห่งแผ่นดินศรีอยุธยา

แต่กระนั้นชาวบ้านบางระจันก็ต่อสู้กับทหารพม่าอย่างไม่คิดชีวิต จนในที่สุด น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟที่กำลังแรงกล้า ค่ายบางระจันก็ถุกทำลายลงด้วยน้ำมือทหารพม่า ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ.2309 รวมเวลาที่ชาวบ้านบางระจันรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือนเศษ นี่แหละคือตำนานและประวัติศาสตร์ที่ยากจะลืมเลือนของพวกเราชาวไทย และจะยังคงอยู่อย่างนี้ตลอดไปตราบนานเท่านาน

 

ข้อมูลจาก   http://www.singburi.go.th

75,865 views

0

แบ่งปัน