สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
พุทธสถานพระเจ้ากือนา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกก หมู่ที่ ๘ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของอำเภอเวียงชัย มีหลวงพ่อใหญ่พระเจ้ากือนาเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ที่สำคัญพุทธสถานแห่งนี้ปรากฏในคำขวัญของอำเภอเวียงชัยที่ว่า “พระเจ้ากือนาลือไกล” ปัจจุบันพุทธสถานพระเจ้ากือนา สมควรที่จะได้รับการบูรณะพัฒนาให้เป็นสถานที่พักผ่อนท่องเที่ยว และเป็นสถานที่ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
พุทธสถานพระเจ้ากือนา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชื่อว่า หลวงพ่อใหญ่พระเจ้ากือนา พระพุทธรูปองค์นี้ก่อด้วยอิฐถือปูน มีหน้าตักกว้าง ๖ ศอก สูง ๖ ศอกคืบ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๘ มีประวัติโดยย่อคือ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช หรือ พญากือนา พระมหากษัตริย์แห่งแคว้นล้านนาลำดับที่ ๖ แห่งราชวงศ์เม็งราย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๑๙๒๘ พระเจ้ากือนาเป็นโอรสของพระเจ้าผาชู ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าแสนภู พระเจ้าแสนภูเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าศรีชัยสงคราม พระเจ้าศรีชัยสงครามเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนเม็งราย หรือ พญามังราย วีรกษัตริย์แห่งแคว้นโยนก และล้านนา ในสมัยแรกสร้างพระเจ้ากือนา ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงใฝ่พระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ในรัชสมัยของพระองค์ได้สร้างพระธาตุดอยสุเทพ สร้างวัดบุปผารามสวนดอก ได้นิมนต์พระสุมนเถระมาจากกรุงสุโขทัยมาตั้งปรับปรุงพระพุทธศาสนาในเชียงใหม่จนรุ่งเรือง โดยที่พระองค์เป็นชาวเมืองเชียงแสน จึงไม่โปรดประทับอยู่ที่เชียงใหม่ ได้เสด็จกลับมาครองเมืองเชียงแสน ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินตามลำน้ำกก ได้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่ระลึกไว้ ณ ที่ฝั่งแม่น้ำกกนี้ พร้อมทั้งให้ข้าราชบริพารทำการสร้างบ้านแปงเมือง เรียกว่า เวียงกือนา พระพุทธรูปองค์นี้ จึงได้รับการขนานพระนามว่า พระเจ้ากือนา