กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้จังหวัดบุรีรัมย์

ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้จังหวัดบุรีรัมย์

10 เมษายน 2566

ชื่นชอบ 528

15,827 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้  ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นแหล่งรวบรวมและแสดงตัวอย่างของหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในแถบอีสานใต้  โดยมีที่มาจากการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีสานใต้” ปี พ.ศ. 2525  จากนั้นจึงมีการเสนอโครงการและแผนต่อจังหวัดเพื่อผลักดันโครงการสร้างหอวัฒนธรรมในแผนหลักของจังหวัด จนนำไปสู่การก่อตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ ภายในม.ราชภัฏบุรีรัมย์  ประกอบด้วยอาคารหลังแรกเป็นอาคารหอวัฒนธรรมสองชั้น ที่มีสถาปัตยกรรมแบบปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ หลังที่สองเป็นหอประชุม 

 

พื้นที่อีสานใต้  ในที่นี้ได้แก่บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล  หรือแอ่งโคราช  หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  แถบทุ่งกุลาร้องไห้  อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดต่างๆคือ  นครราชสีมา  บุรีรัมย์  สุรินทร์  ศรีสะเกษ  อุบลราชธานี และบางอำเภอของจังหวัดยโสธร  ร้อยเอ็ด  มหาสารคาม  ขอนแก่น  และชัยภูมิ   พื้นที่เหล่านี้มีชุมชนโบราณที่หนาแน่นที่สุด  และเป็นพื้นที่ที่มีอิทธิพลของวัฒนธรรมขอมแทรกกระจายอยู่อย่างหนาแน่น  มีหลักฐานสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่าปราสาทกระจายอยู่ทั่วไป  ที่สำคัญเช่น  ปราสาทหินพิมาย  ปราสาทหินพนมรุ้ง  ปราสาทเขาพระวิหาร  เป็นต้น นอกจากที่ตั้งชุมชนโบราณแล้วยังพบแหล่งเตาเครื่องเคลือบ หรือเครื่องปั้นดินเผาแบบเคลือบซึ่งมีอายุประมาณ  800-1,200 ปี  หรืออยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-19 กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์  โดยเฉพาะที่อำเภอบ้านกรวดพบมากกว่า  200  เตา  


การจัดแสดงชั้นล่างประกอบด้วย  

1. นิทรรศการภาพแสดงเครื่องเคลือบพันปีอำเภอบ้านกรวด ภาพปราสาทเขาพนมรุ้ง ภาพผ้าไหมบุรีรัมย์

2. นิทรรศการแหล่งที่ตั้งชุมชนโบราณของจังหวัดบุรีรัมย์และนิทรรศการโบราณวัตถุสมัยต่างๆ เช่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดีและสมัยลพบุรี เป็นต้น

3. นิทรรศการภูมิศาสตร์ แสดงสภาพภูมิศาสตร์บริเวณอีสานใต้และจังหวัดบุรีรัมย์ แสดงการเกิดและที่ตั้งของภูเขาไฟ รวมทั้งแร่ธาตุที่พบในจังหวัดบุรีรัมย์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

4. นิทรรศการโครงกระดูกช้าง ของชาวส่วย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

5. ห้องสมุดทางวัฒนธรรมและศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ประกอบด้วยสิ่งตีพิมพ์ และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วรรณกรรม โบราณวัตถุและวัตถุทางวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และข้อมูลแก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อหาข้อมูลพื้นฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนได้รวบรวมข้อมูลท้องถิ่นต่างๆ เอาไว้ด้วย

6. ห้องจำหน่ายของที่ระลึก จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้านประเภทต่างๆ หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณและวัฒนธรรม เป็นต้น

7. ห้องคลังโบราณวัตถุและวัตถุทางวัฒนธรรมที่รอตั้งแสดงในโอกาสต่อไป

 

การจัดแสดงชั้นบนประกอบด้วย  

1. ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายใต้ยอดปรางค์ เป็นภาพกิจกรรมเกี่ยวกับประเพณีสิบสองเดือนหรือ ฮีตสิบสองของชาวอีสานใต้โดยเน้นประเพณีอีสานใต้

2. นิทรรศการช้างกับส่วย แสดงอุปกรณ์และเครื่องมือจับช้างป่า เครื่องประกอบพิธีกรรมของหมอช้าง เช่น ศาลปะกำ หนังปะกำ เครื่องรางของขลัง เป็นต้น รวมทั้งภาพเกี่ยวกับการคล้องช้างและชีวิตของช้าง

3. นิทรรศการศาสนาและความเชื่อ ประกอบด้วยพระพุทธรูปหิน พระพุทธรูปและเทวรูปสำริด

4. นิทรรศการผ้ากับวิถีชีวิต จัดแสดงผ้าซึ่งเป็นผลงานและฝีมือของชาวอีสานใต้ โดยเฉพาะผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์ คือ ผ้าซิ่นตีนแดง นอกจากนั้นยังแสดงลายผ้า เช่น ลายมัดหมี่ชนิดต่างๆ และผ้าประเภทต่างๆ ที่ใช้ในพิธีกรรม

5. ห้องเตาเผาและเครื่องเคลือบดินเผาบุรีรัมย์ แสดงเตาเผาจำลองจากรูปแบบของเตาเผาบ้านกรวด จัดแสดงผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ จากเตาเผาบ้านกรวดและบริเวณใกล้เคียง

6. นิทรรศการแสดงวิถีกลุ่มชาติพันธ์ 4 เผ่าพื้นเมือง ซึ่งประกอบด้วย ไทยลาว ไทยเขมร ไทยส่วย และไทยโคราช

7. นิทรรศการห้องประวัติศาสตร์บุรีรัมย์ แสดงถึงบุรีรัมย์ก่อนประวัติศาสตร์ และการก่อตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช) เสด็จเดินทัพผ่านมาและได้เริ่มก่อตั้งเมืองแปะ จนมาเป็นจังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งนิทรรศการบุคคลสำคัญในจังหวัดบุรีรัมย์

8. ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผานูนต่ำ แสดงการประชุมไพร่ฟ้าประชาชนของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในคราวยกทัพมาปราบอริราชศัตรู และทรงบัญชาการจัดตั้งเมืองแปะ ขึ้นมาเป็นหัวเมืองอีกแห่งหนึ่ง

9. นิทรรศการเครื่องมือล่าดักจับสัตว์

 

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

อยู่ที่รูปทรงของอาคาร ที่ผสมผสานวัฒนธรรมของอีสานใต้และสมัยใหม่เข้าไว้ด้วยกัน และมีการปรับปรุงมุมจัดแสดงนิทรรศการต่าง ๆ ให้ดูใหม่แปลกตาอยู่เสมอ

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ถ.จิระ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
โทรศัพท์ : 044-611 221 ต่อ 7601 หรือ 088 - 595 2464
อีเมล : culture@bru.ac.th

วันและเวลาทำการ

เปิดทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เวลา 09.00-16.30 น.

 

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

จากท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 219 และ 288 มุ่งหน้าเข้าสู่ตัวเมืองบุรีรัมย์ จากนั้นเลี้ยวไปทางหมายเลข 218 หรือถนนจิระ ตรงไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

จากจังหวัดนครราชสีมาใช้เส้นทางหมายเลข 226 และเลี้ยวไปเส้นทางหมายเลข 218 เพื่อเข้าเมืองบุรีรัมย์ ผ่านถนนบุรีรัมย์-นางรอง ไปจนถึงถนนจิระ และมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

5

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง