กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

04 ตุลาคม 2564

ชื่นชอบ 640

42,413 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไปที่ดับสนิทแล้ว เป็นโบราณสถานเนื่องในอิทธิพลอารยธรรมเขมรโบราณที่มีความงดงาม และมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

 

ศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ หนึ่งในสามเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู (ตรีมูรติ) ลัทธิไศวะนิกาย เขาพนมรุ้งและปราสาทบนยอดเขาจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับของพระศิวะ และยังเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล กลุ่มอาคารบนยอดเขามีการก่อสร้างหลายยุคสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 154 – 18

 

“พนมรุ้ง” มาจากภาษาเขมรว่า “วนํรุง” แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่ โดยคำนี่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกอักษรขอมพบที่ปราสาทพนมรุ้ง และยังปรากฏชื่อผู้สร้างปราสาทคือ “นเรนทราทิตย” เชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระผู้เกี่ยวข้องเป็นพระญาติของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 แห่งเมืองพระนคร ผู้สร้างปราสาทนครวัด

 

ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ อาทิ

  • สะพานนาคราช มีความหมายเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของเทพเจ้า เพราะในความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลของฮินดู สะพานที่เชื่อมระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า คือ สายรุ้ง ในเอเชียตะวันออกและอินเดียมักจะเปรียบสายรุ้งกับงู(นาค) หลากสี ที่ชูหัวไปยังท้องฟ้าหรือกำลังดื่มน้ำจากทะเล ศูนย์กลางบนพื้นหินของสะพานจำหลักรูปดอกบัว ๘ กลีบ อยู่ในวงกลม

 

  • ทางเดินขึ้นไปยังลานบนยอดเขาทำเป็นบันไดหินทราย สูง ๑๐ เมตร มี ๕ ชั้น จำนวน ๕๒ ขั้น  มีชานพัก ๕ ชั้น บันไดและชานพักแต่ละชั้นลดหลั่นกันขึ้นไปตามลำดับความสูง ให้ความรู้สึกของยอดเขาที่สูงเสียดยอดขึ้นไปสู่สวรรค์

 

  • ลานหน้าระเบียงคด เป็นลานโล่งกว้าง ตั้งอยู่บนฐานซึ่งเกิดจากการถมปรับระดับพื้นที่ภูเขาเพื่อประโยชน์ใช้สอย ลักษณะเป็นยกพื้นเตี้ยๆ รูปกากบาทก่อด้วยศิลาแลง ผังรูปกากบาทนี้  ทำให้เกิดช่องทางเดินและช่องสี่เหลี่ยมคล้ายสระเล็กๆ จำนวน  ๔ ช่อง

 

  • สะพานนาคราชชั้นที่ ๒ ศูนย์กลางบนพื้นหินของสะพานจำหลักรูปดอกบัว ๘ กลีบ อยู่ในวงกลม เช่นเดียวกับสะพานนาคชั้นที่ ๑ ถัดมาเป็นระเบียงคดก่อเป็นห้องยาว แต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้เพราะทำเป็นผนังกั้นเป็นช่วงๆ  ซุ้มประตูกลางของระเบียงคดด้านทิศตะวันออกมีมุขทั้งด้านในและด้านนอก ด้านข้างชักปีกออกไปต่อกับห้องของระเบียงคด จึงมีลักษณะเป็นห้องรูปกากบาท รูปโค้งลดชั้นประดับสันหลังคาด้วยบราลี

 

  • ปราสาทประธาน  เป็นสถาปัตยกรรมหลักที่สำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน ส่วนทางด้านหน้า คือ ทิศตะวันออกทำเป็นอาคารมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียกว่า “วิหาร” ซึ่งในตำแหน่งเดียวกันกับสถาปัตยกรรมต้นแบบของอินเดีย  เป็นอาคารแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเรียกว่า “มณฑป” โดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมกับปราสาทประธาน ส่วนต่างๆทั้งหมดของปราสาทประธานตั้งอยู่บนฐาน ๒ ชั้น ย่อเก็จรับกันกับอาคาร

 

  • ปราสาทอิฐ ๒ หลัง มีเสาประดับกรอบประตูที่ทำด้วยหินทราย ซึ่งนักประวัติศาสตร์ศิลปะได้ศึกษาพบว่า น่าจะมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ และพบประติมากรรมหินทราย ๒ รูป นับเป็นสถาปัตยกรรมที่มีอายุเก่าที่สุดที่เหลืออยู่

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

• งานเทศกาลที่สำคัญประจำปีของปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

• ลวดลายแกะสลัก หินสลักรูปดอกบัวแปดกลีบ และทัพหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่มีชื่อเสียง

• ลายหินแกะสลักบริเวณเสาประตู รูปเทวดาประจำทิศ ฤาษี และเทพดาทางศาสนาฮินดู

• แท่นศิวลึงค์ และโคนันทิพาหนะของพระศิวะ ภายในตัวปราสาทหินพนมรุ้ง

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 31110
โทรศัพท์ : 044-666 251
โทรสาร : 044-666 252
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/phanomrunghistoricalpark
อีเมล : phnomrungoffice@yahoo.co.th

วันและเวลาทำการ

เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น.

ค่าเข้าชม

  1. ค่าเข้าชมโบราณสถาน

ชื่อโบราณสถาน

อัตราค่าเข้าชมต่อคน (บาท)

สัญชาติไทย

สัญชาติอื่น

บัตรปลีก

บัตรรวม

บัตรปลีก

บัตรรวม

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

20

30

100

150

โบราณสถานปราสาทเมืองต่ำ

20

100

         

2. ค่านำยานพาหนะเข้าไปในเขตโบราณสถาน (กรณีเข้าประตู 3 ด้านหลังปราสาทพนมรุ้ง)

                   (1) รถจักรยาน 2 ล้อ คันละ 10 บาท

                   (2) รถจักรยานยนต์หรือรถจักรยาน 3 ล้อ คันละ 20 บาท

                   (3) รถจักรยานยนต์ 3 ล้อ คันละ 30 บาท

                   (4) รถยนต์ คันละ 50 บาท

 

3. บุคคลที่ไม่ต้องเสียค่าเข้าชม

                   (1) ภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา หรือนักพรตและนักบวชในศาสนาอื่น

                   (2) นักเรียน นิสิต นักศึกษาในเครื่องแบบ หรือไม่ได้แต่งเครื่องแบบแต่แสดงบัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่สถาบันการศึกษาออกให้

                   (3) นักเรียน นิสิต และนักศึกษา รวมทั้งครูและอาจารย์ผู้ควบคุม ในกรณีที่สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาขอเข้าชมเป็นหมู่คณะ

                   (4) คนพิการและผู้ด้อยโอกาส

                   (5) ผู้ซึ่งอธิบดีเชิญหรือต้อนรับ

                   (6) พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

                   (7) ทหารผ่านศึกที่แสดงบัตรที่ทางราชการออกให้

                   (8) ผู้สูงอายุที่มีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย เมื่อแสดงบัตรประจำตัวประชาชน

                   (9) สมาชิกของสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศและสมาชิกของสภาการพิพะภัณฑ์ระหว่างประเทศ ที่แสดงบัตรประจำตัวสมาชิก

                   (10) สมาชิกของสภาการโบราณสถาน(ประเทศไทย) ที่แสดงบัตรประจำตัวสมาชิก

                   (11) สมาชิกอาสาสมัครในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม ที่แสดงบัตรประจำตัวสมาชิก

การเดินทาง

  • รถยนต์ จากกรุงเทพมหานคร เดินทางโดยเครื่องบินลงที่สนามบิน อ.สะตึก จ.บุรีรัมย์ และต่อรถยนต์มายังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ระยะทางประมาณ 105 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง

 

  • รถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี) ลงที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์ และต่อรถยนต์มายังอุทยานประวัติสาสตร์พนมรุ้ง ระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง

 

  • รถโดยสารประจำทาง บขส. เส้นทางกรุงเทพฯ-พนมรุ้ง ระยะทางประมาณ 360 กิโลเมตร ลงที่สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเฉลิมพระเกียรติ แล้วต่อรถรับจ้างขึ้นสู่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

         

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะและขอวิทยากร กรุณาทำหนังสือก่อนเข้าเยี่ยมชมล่วงหน้า 

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีทางลาดสามารถนำผู้พิการและคนชราเข้าชมได้ โดยติดต่อที่ประตูทางเข้าที่ 3 ด้านหลังปราสาท

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

10

แบ่งปัน

กิจกรรม

01 ก.ย. 2566

10 ก.ย. 2566

22 สิงหาคม 2566
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ขอเชิญชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง วันที่ 8 - 10 กันยายน 2566 เวลา 05.30 น. เป็นต้นไป  พระอาทิตย์จะขึ้นประมาณ 05.57 น. บริเวณลานด้านหลังปราสาททิศตะวันตก   มาร่วมรับแสงแรกของวัน ณ ปราสาทพนมรุ้ง  เทวสถานศาสนาพราหมณ์ฮินดูลัทธิไศวนิกายที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย   ติดต่อสอบถามโทร 044-666 251  หรือ Inbox facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park   *เหตุการณ์พระอาทิตย์ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง จะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน หากมีฝนตก เมฆเยอะ หรือเมฆลงต่ำ จะไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้

05 มี.ค. 2566

07 มี.ค. 2566

23 กุมภาพันธ์ 2566
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง  ขอเชิญชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตกตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 5 - 7 มีนาคม พ.ศ.2566 เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป  บริเวณลานหน้าปราสาททิศตะวันออก  **พระอาทิตย์ตกเวลาประมาณ 18.15 น.**   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 044 666 251

30 ธ.ค. 2565

02 ม.ค. 2566

29 ธันวาคม 2565
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มอบของขวัญปีใหม่ 2566  เปิดให้เข้าชม อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และ ปราสาทเมืองต่ำ ฟรี   วันที่ 30 ธันวาคม 2565 ถึง 2 มกราคม 2566 อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เปิดบริการทุกวันตั้งแต่ 07.00 - 18.00 น. หากนำรถยนต์เข้าชมทางประตู 3 (หลังปราสาท) เก็บค่าบัตรจอดรถ 50 บาท  วันที่ 30-31 ธันวาคม 2565 ถึง 1 มกราคม 2566 ขอเชิญร่วมงาน “ปีใหม่พนมรุ้ง รับอรุณเบิกฟ้า” ประจำปี 2566 วันที่ 1 มกราคม 66  เวลา 04.30 น. ร่วมพิธีบวงสรวงหน้าปราสาทพนมรุ้ง ทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ ณ บริเวณทางดำเนินเสานางเรียง ทางขึ้นเขาพนมรุ้ง รับพลังแสงอาทิตย์แรกของปีใหม่ 2566 บนยอดเขาพนมรุ้ง   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 044 666 251

03 ต.ค. 2565

07 ต.ค. 2565

03 ตุลาคม 2565
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา กรมศิลปากร ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่าน มาร่วมชมแสงสุดท้ายของวัน ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตก 15 ช่องประตู ปราสาทพนมรุ้ง ท่ามกลางบรรยากาศปลายฝนต้นหนาวที่ปราสาทพนมรุ้ง เทวลัยบนภูเขา ในศาสนาพราหมณ์ฮินดูลัทธิไศวนิกายที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย   ระหว่างวันที่ 5 - 7 ตุลาคม 2565  พระอาทิตย์ตกตรง 15 ช่องประตู เวลาประมาณ 17.55 น. อุทยานฯ เปิดให้เข้าชมปราสาทพนมรุ้งถึงเวลา 18.30 น. เป็นกรณีพิเศษใน 3 วันดังกล่าว สอบถามข้อมูล โทร. 044-666 251   หมายเหตุ** เหตุการณ์พระอาทิตย์ตรง 15 ช่องประตู ปราสาทพนมรุ้ง จะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน  หากมีฝนตก เมฆเยอะ หรือเมฆลงต่ำ จะไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้

17 ส.ค. 2565

30 ก.ย. 2565

17 สิงหาคม 2565
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง กรมศิลปากร ขอเชิญชม "ทับหลังปราสาทหนองหงส์" และนิทรรศการพิเศษทับหลังปราสาทหนองหงส์กลับคืนถิ่นบุรีรัมย์ จัดแสดง ณ อาคารนิทรรศการ (ทางเข้าประตู 1) อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป  เข้าชมฟรี อาคารนิทรรศการ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ เวลา 8.30 น. - 16.00 น. อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เปิดทุกวัน เวลา 7.00 น. - 18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: โทร. 044 666 251
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง