คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ปัจจันตคีรีเขตร

เมืองสุดแดนสยาม (ปัจจันตคีรีเขตร)

         ในปี พ.ศ. 2398 (จ.ศ. 1217) ซึ่งเป็นปีที่ 5 แห่งการขึ้นครองราชย์สมบัติของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 4 แห่งรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระบรมราชโองการให้ตั้งเกาะกง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองตราดมาก่อน ขึ้นเป็นเมืองใหม่ ปรากฏในหมายรับสั่งวันอังคาร เดือน 8 ขึ้น 13 ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก ดังนี้

“คุณสารประเสริฐ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า เมืองบางรมย์นั้น โปรดเกล้าฯ ให้เรียกเมืองประจวบคีรีขันธ์ กับที่เกาะกงนั้น โปรดเกล้าฯ ให้เรียกเมืองปัจจันตคีรีเขตร ให้กรมวัง หมายไปยังพระกลาโหม กรมท่า กรมพระศุภรัต สัสดีซ้ายขวา ให้เรียกชื่อทั้งสองเมือง ให้ถูกต้องามรับสั่ง”

         เมืองปัจจันตคีรีเขตร ซึ่งในเอกสารไทยต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็นเมืองประจันตคีรีเขตร์ หรือประจันภคิรียเขตรบ้างแล้วแต่กรณี เป็นเมืองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเมืองคู่กับเมืองประจวบคีรีขันธ์อยู่ในแนวเส้นรุ้ง (Latitude) เดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาวิทยาการด้านดาราศาสตร์ จนถึงทรงสามารถคำนวณสุริยคราสเต็มดวงได้แม่นยำ ในการนี้ทรงตระหนักถึงความสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งการป้องกันอ่าวสยามเป็นอย่างดี เมืองปัจจันตคีรีเขตรจึงได้ปรับปรุงจากทางการไทย ให้เป็น “สเตชั่นทหารเรือ” ต่อมา

         จากนั้นได้เกิดกรณีขัดแย้งกับฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ. 112 ฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองจันทบุรี ตั้งแต่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2436 เพื่อบีบคั้นเอาผลประโยชน์จากไทยให้มากที่สุด การเจรจาเพื่อขอคืนเมืองจันทบุรียืดเยื้อมาถึงกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2445 ฝรั่งเศสยื่นเงื่อนไข ขอดินแดนชายทะเลของไทย ตั้งแต่ ตราด เกาะช้าง เกาะกง พระตะบอง และเสียมราฐ ฝ่ายไทยปฏิเสธ ฝรั่งเศสจึงยื่นเงื่อนไขใหม่ โดยขอตราดกับเกาะกง แทนจันทบุรีในที่สุดไทยต้องยอมยกเมืองตราดและปัจจันตคิรีเขตรให้แก่ฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสจึงถอนออกจากเมืองจันทบุรี ฝรั่งเศสรู้ว่าไทยเดือดร้อนใจเรื่องเมืองตราด ในขณะที่ฝรั่งเศสก็ไม่ค่อยพอใจที่จะรับตราดไว้ เพราะไม่คุ้มกับรายจ่ายและการลงทุนของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงดำริที่จะขอแลกเมืองตราดกับมณฑลบูรพาของไทย จึงได้มีการทำสนธิสัญญาต่อกัน โดยรัฐบาลสยามยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่กรุงฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย เมืองตราดกับเกาะทั้งหลาย ภายใต้แหลมลิงไปถึงเกาะกูดให้แก่กรุงสยาม จะเห็นได้ว่าการคืน เมืองตราดครั้งนี้ ฝรั่งเศสไม่ได้ยกเมืองประจันตคีรีเขตรที่ได้ไป พร้อมเมืองตราดคืนให้ด้วย เมือง ประจันตคีรีเขตรหรือเกาะกง จึงไม่ได้กลับคืนสู่ประเทศไทยนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

8,520 views

0

แบ่งปัน