คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เส้นทางลี้ภัยจอมพลป.

เส้นทางจอมพล ป. ลี้ภัยจากตราดไปเกาะกง

          จากเหตุการณ์รัฐประหารวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ทำให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ของไทยต้องเดินทางลี้ภัยออกนอกประเทศโดยใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดตราด เดินทางลี้ภัยนอกประเทศไปเกาะกงของกัมพูชาและเดินทางไปพำนักอยู่ในญี่ปุ่นจนกระทั่งเสียชีวิต เส้นทางการเดินทางลี้ภัยของจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้น เริ่มเดินทางจากกรุงเทพฯทันทีที่เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ถึงอำเภอแหลมงอบจังหวัดตราดในวันรุ่งขึ้น 17 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีคณะที่ร่วมเดินทาง 4 คน คือ พลตรี บุลศักดิ์ วรรณมาศ นายทหารคนสนิท นายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการนายกรัฐมนตรี พ.ต.อ. ชุมพล โลหะชาละ นายตำรวจติดตามนายยกรัฐมนตรี และจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อถึงอำเภอแหลมงอบ คณะผู้ติดตามเหลือเพียง 3 คน โดยพลตรีบุลศักดิ์ วรรณมาศเป็นผู้ขับรถกลับกรุงเทพ

         เมื่อคณะจอมพลป. พิบูลสงครามเดินทางมาถึงจังหวัดตราด ได้เตรียมเดินทางไปเกาะกง จุดแรกที่คิดจะลงเรือคือท่าเรือบ้านท่าเรือจ้าง บริเวณแม่น้ำตราด แต่บังเอิญนายฉาย วิโรจน์ศิริ ได้พบกับ นายออม รัตนเพียร เพื่อนเก่าได้แนะนำให้ไปใช้ท่าเรือที่อำเภอแหลมงอบ ซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่าที่บ้านท่าเรือจ้าง จึงมีผู้นำทางไปจากท่าเรือแหลมงอบ 2 คน คือ จ.ส.ต.เฉลิม ชัยเชียงเอม ตำรวจน้ำแหลมงอบเป็นผู้นำทางจากท่าเรือแหลมงอบ และนายประเสริฐ ศิริ เป็นผู้นำทางจากหาดเล็กถึงเกาะกง คณะจอมพล ป. พิบูลสงครามเดินทางจากท่าเรือโปเฮง อำเภอแหลมงอบ โดยมีจ.ส.ต.เฉลิม ชัยเชียงเอม เป็นผู้นำทาง เดินทางในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2500 ใช้เวลา 4 – 5 ชั่วโมง ถึงเกาะไม้ซี้ใหญ่ แวะเปลี่ยนเรือที่ “ท่าเรือเจ๊กจือ” ได้เรือ “ประสิทธิ์มงคล” ของนายขวัญชัย โตวีรัตน์คณะเดินทาง มีจำนวน 7 คน ประกอบด้วย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายฉาย วิโรจน์ศิริ พ.ต.อ.ชุมพล โลหะชาละ จ.ส.ต.เฉลิม ชัยเชียงเอม และลูกเรือของเรือประสิทธิ์มงคลอีก 3 คน เรือออกจากท่าเรือเจ๊กจือที่เกาะไม้ซี้ใหญ่ประมาณ 3 โมงเย็น มุ่งสู่เกาะกง เดินทางมาได้ 4 – 5 ชั่วโมง เจอคลื่นใหญ่และฝนตกหนัก จ.ส.ต.เฉลิมจึงนำคณะแวะพักที่บ้านผู้ใหญ่โพธิ์ ศิริ ที่บ้านหาดเล็ก เวลาประมาณ 22 นาฬิกา จากนั้นเวลาประมาณ 23 นาฬิกา นายประเสริฐ ศิริ (บุตรชายผู้ใหญ่โพธิ์ ศิริ) จึงพาคณะออกเดินทางสู่บ้านแหลมด่านแล่นเรือเลียบฝั่งออกจากชายแดนไทนด้านหาดเล็กไปเกาะกงของกัมพูชา ผ่านแหลมโอบยาม เกาะยอ ปากคลองสนามควายบ้านสวนมะพร้าว

         บันทึกการเดินทางของจอมพล ป. พิบูลสงครามจากจังหวัดตราด – เกาะกงนี้ช่วยทำให้ประวัติศาสตร์ชีวิตของผู้นำทางการเมืองคนสำคัญคนหนึ่งมีความชัดเจนต่อเนื่องมากขึ้น รวมทั้งความสำคัญของจังหวัดตราด ในลักษณะที่เป็นเมืองเป็นเมืองสำคัญทางชายแดนเปรียบเสมือน “ประตู่”ที่เปิดสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีเส้นทางทะเลเชื่อมต่อกันอย่างสะดวก ซึ่งบุคคลสำคัญได้ใช้เป็นเส้นทางลี้ภัยทางการเมืองออกนอกประเทศในยามคับขันมาตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน1

........................................

1 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2542)วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตราด: กรุงเทพฯ,54.

5,814 views

1

แบ่งปัน