กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ชุมชนตลาดล่าง

ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ชุมชนตลาดล่าง

30 กรกฎาคม 2561

ชื่นชอบ 595

3,366 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นฯ แห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 173-175 ถนนวานิชบำรุง ต.นาโพธิ์ อ.สวี จ.ชุมพร พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นย่านที่อยู่อาศัยและศูนย์กลางเศรษฐกิจดั้งเดิมของ อ.สวี ที่เรียกรวมกันว่าย่านตลาดล่าง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสวีที่อยู่ทางด้านตะวันตกอันเป็นเส้นทางสัญจรเพื่อการนำผลผลิตทางการเกษตรจากชาวสวนในเขต อ.สวีมาขึ้นยังท่าเรือที่ที่สุดปลายของถนนวานิชบำรุงเพื่อส่งขายผ่านยังตลาดล่าง ไปสู่สถานีรถไฟสวี ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกที่ปลายอีกด้านของ ถนนวานิชบำรุง

 

ย่านตลาดล่างเริ่มมีการพัฒนาปรับปรุงโรงสีข้าว บ้านพักอาศัย และโรงเลื่อยขึ้นที่บริเวณริมฝ่งแม่น้ำสวี มาตั้งแต่ พ.ศ.2462 จนเริ่มเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้าและเส้นทางคมนาคมของ อ.สวี มาตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 2460 แม้กระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นก็ได้เข้าใช้พื้นที่บริเวณตลาดล่างเป็นเส้นทางในอยู่อาศัย และการส่งกำลังบำรุง ด้วยความที่มีทั้งโรงเลื่อย โรงสีข้าว และสถานีรถไฟในบริเวณเดียวกัน ทำให้บริเวณดังกล่าวกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ถูกโจมตีโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร ช่วงหลังสงคราม (ปริญญา ชูแก้ว, 2556)

 

ย่านตลาดเก่าก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของย่านเศรษฐกิจสำคัญของ อ.สวี เรื่อยมา กระทั่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดจากหลายปัจจัย อาทิ รัฐบาลได้ก่อสร้างเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อ อ.สวีกับเส้นทางหลวง ทำให้การสัญจรทางน้ำที่ชาวสวนขนถ่ายสินค้ามาขึ้นท่าเรือบริเวณตลาดล่างลดน้อยลง และไม่จำเป็นต้องพึ่งเพียงเส้นทางรถไฟอีกต่อไป (ท่าเรือเลิกใช้ไปเมื่อประมาณทศวรรษที่ 2510) กิจการการค้าต่างๆ จึงค่อยๆ ซบเซาลง จนเมื่อ พ.ศ.2535 โรงภาพยนตร์เสาวภาราซึ่งเคยเปิดบริการในชุมชนแห่งนี้ได้ปิดตัวลง ก็เป็นสัญญานให้เห็นถึงความถดถอยของย่านตลาดล่างที่ค่อยๆ กลายสภาพเป็นเช่นในปัจจุบันคือส่วนใหญ่อาคารถูกปล่อยให้เช่า มีสภาพทรุดโทรม (ปริญญา ชูแก้ว, 2556)

 

เมื่อประมาณ พ.ศ.2553 ในชุมชนตลาดล่างเริ่มมีกลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อต้องการรื้อฟื้นชุมชนให้กลับมามีชีวิตชีวา แต่ยังไม่ได้จัดตั้งกลุ่มเป็นทางการ มีเพียงการพูดคุยกันภายใน กระทั่งเมื่อ อ.ปริญญา ชูแก้ว ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและเป็นเลขาธิการอีโคโมสไทย (ICOMOS Thailand) ได้เข้ามาทำโครงการฟื้นฟูเมือง การอยู่อาศัยในภูมิภาค อ.หลังสวน จ.ชุมพร ซึ่งอยู่ติดกับ อ.สวี และสามารถพัฒนาขึ้นจนจัดตั้งศูนย์ข้อมูลชุมชนตลาดล่างเป็นผลสำเร็จ แต่สิ่งที่ศูนย์ฯแห่งนี้ยังขาดอยู่คือเนื้อหาการจัดแสดงที่บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ของชุมชนที่เชื่อมโยงในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค และการจัดการเกี่ยวกับวัตถุจัดแสดง อาทิ การทำทะเบียน การอนุรักษ์เบื้องต้น และคำบรรยายวัตถุ

 

ในการนี้ได้เล็งเห็นว่าทางพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ฯ มีศักยภาพในการช่วยพัฒนาการจัดการภายในศูนย์ชุมชนท้องถิ่นดังกล่าวได้ จึงได้จัดทำโครงการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชน ชุมชนตลาดล่าง อ.สวี จ.ชุมพร ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และและเรียนรู้ถึงกระบวนการทำงานด้านการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมระหว่างชุมชนและเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ และยังสามารถเป็นพื้นที่หนึ่งให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่สนใจประเด็นด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษาและทรัพยากรมรดกทางวัฒนธรรมได้ลงมือปฏิบัติจริง

บริหารจัดการ

เอกชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

169-171 ถ.วานิชบำรุง หมู่ที่5 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร 86130
โทรศัพท์ : 077-531149
อีเมล : umawalee.b@gmail.com

วันและเวลาทำการ

ทุกวันเวลาราชการ

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

จากถนนสายเอเชียเลี้ยวเข้าอำเภอสวี วิ่งมาด้านหลังสถานีรถไฟจะเห็นศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ชุมชนตลาดล่าง

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

-

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

3

แบ่งปัน

เรื่องเล่าในจังหวัดชุมพร