กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   หอวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

หอวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

02 สิงหาคม 2561

ชื่นชอบ 624

9,278 ผู้เข้าชม

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนใต้ เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา ประเพณีวัฒนธรรม ฯลฯ จำนวน 13 ส่วน ดังนี้

 

1.ภูมิลักษณ์ชายแดนใต้ แสดงเนื้อหาภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานของจังหวัดชายแดนใต้

 

2.ก่อนกาลโบราณคดีและชาติพันธุ์ จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำศิลป์ จังหวัดยะลา พบร่องรอยหลักฐานที่บ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและตามสภาพแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์ป่า 

 

3.ประวัติศาสตร์ยุคต้น-ปาตานีดารุสลามรัตนโกสินทร์ มีการเคลื่อนย้ายศูนย์กลางชุมชนจากบริเวณเมืองโบราณยะรังไปยังบริเวณที่ใกล้ชายฝั่งทะเลและปากน้ำมากขึ้น ช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22 เมืองท่าปัตตานีเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของพ่อค้าโปรตุเกสและฮอลันดา สมัยรัตนโกสินทร์มีการแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี  เมืองหนองจิก  เมืองยะหริ่ง  เมืองสายบุรี  เมืองระแงะ  เมืองรามัน  เมืองยะลา

 

4.จัดแสดงเรื่องราวผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม อาทิ นายขาเดร์ แวเด็ง ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2536 สาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีพื้นบ้าน), นายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ นามปากกา “พนมเทียน” ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2540 สาขาวรรณศิลป์, นายเซ็ง อาบู ศิลปินดนตรีพื้นบ้านรองเง็ง ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมแห่งสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ประจำปี 2555

 

5.ภาษาและวรรณกรรม แสดงภาษาถิ่นที่ใช้กันในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษามลายูถิ่น

 

6.แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อาทิ เมืองโบราณยะรังอายุราว 1,300 ปี, มัสยิดกรือเซะ, ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว, มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี, อุโมงค์เบตง เป็นต้น

 

ส่วนที่ 7-9 นำเสนอวิถีชีวิต รวมถึงประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญในรอบปี ของชาวไทยพุทธ, ชาวไทยเชื่อสายจีน และชาวไทยมุสลิม

 

10.หัตถศิลป์ จัดแสดงงานหัตถศิลป์ที่มีชื่อเสียงของเมืองปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ประกอบด้วย การเขียนลายเรือกอและ ผ้าลีมา เครื่องทองเหลือง กริชและศัสตราวุธ

 

11.ศิลปะการแสดงและการละเล่นพื้นบ้าน นำเสนอการแสดงและการละเล่นต่างๆที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นในแบบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ หนังตะลุง โนรา มะโย่ง รองเง็ง ดีเกฮูลู

 

12.ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนอสถาปัตยกรรมทั้งท้องถิ่น การสร้างเรือน การทำมาหากิน เช่น การทำประมงพื้นบ้าน การทำนาเกลือ อาหารการกิน เช่น บูดู ข้าวยำ การถนอนอาหาร และขนมพื้นเมือง

 

13.ชายแดนใต้วันนี้ จำลองชีวิตประจำวันในตลาดท้องถิ่น เช่น ร้านน้ำชา การจับจ่ายซื้อของ การปฏิสัมพันธ์พูดคุยกัน

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 181 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
โทรศัพท์ : 0-7333-1250
เว็บไซต์ : http://culture.pn.psu.ac.th/

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์)

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

รถยนตร์ ใช้เส้นทางถนนเพชรเกษมผ่านเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปยังจังหวัดปัตตานี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,055กิโลเมตร

 

รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัดและบริษัทเดินรถเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนีไปจังหวัดปัตตานี ทุกวัน

 

รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีขบวนรถด่วนและรถเร็วบริการถึงสถานีปัตตานี(โคกโพธิ์) ทุกวัน จากสถานีปัตตานี จะมีรถสองแถวบริการระหว่างอำเภอ

 

เครื่องบิน ไม่มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดปัตตานี แต่นักท่องเที่ยวสามารถลงที่สนามบินหาดใหญ่ และใช้บริการรถแท๊กซี่จากหาดใหญ่ไปปัตตานีได้ ระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 1.30 ชั่วโมง

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

ไม่มี

สิ่งอำนวยความสะดวก

ไม่เก็บค่าเข้าชม

5

แบ่งปัน

กิจกรรม

31 ต.ค. 2563

28 ตุลาคม 2563
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีขอเชิญชวนเที่ยวงานประเพณีลอยกระทงประจำปี ๒๕๖๓"เพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณีไทย ให้คงอยู่สืบต่อไป " วันเสาร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๗.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. ณ สะพานสหัสวรรษ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี   **สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ ๐-๗๓๓๓-๑๒๕๐ **

02 ก.ย. 2562

10 ก.ย. 2562

03 กันยายน 2562
เชิญเที่ยวงาน "มหกรรมศิลปวัฒนธรรม ครั้งที่ 27" ระหว่างวันที่ 2-10 กันยายน 2562 เวลา 16.00-22.00 น.  ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี   ชม ชิม แชะ และสืบเสาะเรืองราวอาหารพิ้นบ้านจากครูภูมิปัญญา  เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน การแสดงดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ลานสาธิตหัตถกรรมพิ้นบ้านและงานหัตถกรรมสร้างสรรค์     ** สอบถามเพิ่มเติม โทร. 073-331 250 หรือ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  

01 ก.พ. 2559

31 มี.ค. 2559

08 มิถุนายน 2559
โครงการสายใยชุมชนสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมดีๆ จาก หอวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมลงพื้นที่เรียนรู้แหล่งประวัติศาสตร์ชุมชน ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ชุมชน พร้อมสร้างสรรค์บอร์ดเกมบันไดงูที่มีชื่อว่า "เส้นทางนี้มีเรื่องราว : ปัตตานีในความทรงจำ" ส่งต่อทั้งความรู้และความสนุกให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ในจังหวัดปัตตานี      
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเล่าในจังหวัดปัตตานี