กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

พิพิธภัณฑ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

27 กรกฎาคม 2561

ชื่นชอบ 527

4,475 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ความเป็นมา

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2509  เพื่อสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในการพัฒนาผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารและด้านเศรษฐกิจเพื่อช่วยพัฒนาประเทศ นับจากเริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน สถาบันยังดำรงความเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงด้านการบริหารการพัฒนา  ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันได้ปฏิบัติงานในระดับบริหารกระจายตามหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ได้สร้างชื่อเสียงและเกียรติคุณเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมไทย

ต่อมาศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีเห็นควรให้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้น เพื่อให้บุคลากรของสถาบันและอนุชนรุ่นหลัง ได้ภาคภูมิใจในสถาบันที่เป็นแหล่งความรู้และเป็นแหล่งเชื่อมโยงสถาบันกับสังคม และเป็นการสะท้อนเกียรติภูมิและพัฒนาการของสถาบันที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2555 แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2556 มีพื้นที่จัดแสดงทั้งสิ้น 216 ตร.ม.

วัตถุประสงค์การก่อตั้ง
๑.เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในด้านการศึกษา

๒.เพื่อให้สังคมเห็นถึงความมีบทบาทสำคัญของสถาบัน กับการพัฒนาประเทศตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

๓.เพื่อเป็นพื้นที่จัดแสดงเอกสาร หลักฐานที่สะท้อนถึงเกียรติภูมิของสถาบันในการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ

เนื้อหาของพิพิธภัณฑ์

การนำเสนอเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๓ โซน ดังนี้

โซนที่ ๑ จากพระราชปณิธาน สู่สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศ

นำเสนอแนวพระราชดำริอันเป็นที่มาของการก่อตั้งสถาบัน  ความสนพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและบุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมในการบุกเบิกก่อตั้งสถาบัน รวมทั้งความร่วมมือและความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อาทิ นายเดวิด รอกกิเฟลเลอร์  ดร.สเตซีย์ เมย์ และมูลนิธิฟอร์ด ซึ่งนำเสนอด้วยเทคนิค Transparent Display คือการผสมผสานเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอผ่านวัตถุที่จัดแสดง ควบคู่ไปกับอินเทอแรคทีฟ (Interactive)

โซน  ๒ ประวัติศาสตร์สังคมไทย ประวัติศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

นำเสนอประวัติศาสตร์ของสถาบันควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์สังคมไทย โดยแบ่งเป็น ๕ ทศวรรษ เสนอผ่านวิดีทัศน์  ๒๐ เรื่อง

โซน ๓  สร้างปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลง

นำเสนอแนวคิดในการบริหารสถาบันของอธิการบดีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และแนวทางการพัฒนาสถาบันในอนาคต

 

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

โซนที่ 1 จากพระราชปณิธานสู่สถาบันเพื่อการพัฒนา

นำเสนอวิดีทัศน์แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และจัดแสดงสิ่งของสำคัญในยุคก่อตั้งสถาบัน อาทิสมุดและปากกาลงพระนาม พระราชบัญญัติก่อตั้งสถาบัน ศิลาฤกษ์อาคารหลังแรกของสถาบัน ฯลฯ โดยผู้เข้าชมสามารถเลือกอ่านข้อมูลที่น่าสนใจได้ด้วยการสัมผัสผิวกระจกด้านหน้าของตู้ transparent ที่ใช้จัดแสดง

โซนที่ 2 ประวัติศาสตร์สังคมไทยและประวัติศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

พลิกหน้าประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์ของสถาบัน นับตั้งแต่ก่อตั้ง ด้วยวีดีทัศน์ 20 เรื่อง ที่นำเสนอเรื่องราวของสถาบัน และประวัติศาสตร์ของประเทศควบคู่กันไปในรูปแบบ timeline

โซนที่ 3 สร้างปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ศึกษาแนวคิดของอธิการบดีทุกท่านผ่านสื่อมัลติมีเดีย เพื่อความเข้าใจในการพัฒนามากกว่า 5 ทศวรรษของสถาบัน และรับรู้ถึงแนวทางต่อไปในอนาคต ในโซนนี้ยังมี Touch Table ขนาดใหญ่เพื่อสืบค้นข้อมูลทุกด้านของสถาบัน วีดีทัศน์ WISDOM FOR CHANGE อันเป็นปณิธานของสถาบัน มาตั้งแต่ยุคก่อตั้งและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจของสถาบัน ที่มุมถ่ายรูป เสาแห่งปัญญา

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ ชั้น 2 เลขที่ 118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
โทรศัพท์ : 0-2727-3696 , 0-2727-3695
โทรสาร : 0-2375-9026
เว็บไซต์ : http://library.nida.ac.th/museum, https://www.facebook.com/museumnida

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนบุคคล : มาทางถนนรามคำแหง ผ่านสี่แยกลำสาลี ถึงสามแยกบ้านม้า เลี้ยวซ้ายเข้าถนนศรีบูรพา จากนั้นเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกนิด้า สถาบันอยู่ทางซ้ายมือ

มาทางถนนลาดพร้าว ผ่านตลาดบางกะปิ เข้าถนนเสรีไทย ถึงสี่แยกนิด้า สถาบันอยู่ทางขวามือ

มาทางถนนรามอินทรา เลี้ยวเข้าถนนนวมินทร์ หรือเสรีไทย มาทางบางกะปิ ผ่านสี่แยกนิด้า สถาบันอยู่ทางซ้ายมือ

รถประจำทาง : รถประจำทาง ขสมก. หมายเลข 36ก, 44, 60, 71, 134 ก, 151, ปอ. 60, ปอ. 501, ปอ. 519, ปอพ. 3, 27

เรือโดยสารคลองแสนแสบ : ท่าเรือวัดศรีบุญเรือง

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานสำหรับจอดรถ

0

แบ่งปัน

กิจกรรม

14 มิ.ย. 2560

30 มิ.ย. 2560

14 มิถุนายน 2560
กิจกรรมดีๆ มาอีกแล้ว สำหรับน้องๆระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  กิจกรรมตอบปัญหาทางวิชาการ ในหัวข้อ "พลิกฟื้นคืนประวัติศาสตร์ ขบวนการเสรีไทย" ชิงทุนการศึกษากว่า 20,000 บาท พร้อมรับประกาศนียบัตร จากองคมนตรี - รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2560 - สอบรอบคัดเลือก วันที่ 12 กรกฎาคม 2560 - สอบรอบชิงชนะเลิศ วันที่ 1 กันยายน 2560 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัคร Online ได้ที่    http://library.nida.ac.th/2015/index.php/th/service/inlibrary/inlibrary/announcement/148-serithai1
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง