กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์

ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์

11 พฤศจิกายน 2563

ชื่นชอบ 270

17,635 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2552 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงพระสุหร่ายพระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร(จำลอง) และทรงเปิดป้ายอาคารศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2558

 

ภายในอาคารจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองพิษณุโลก พระราชวังจันทน์ และการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แบ่งส่วนจัดแสดงเป็น

  • พิษณุโลก : เมืองประวัติศาสตร์สำคัญ ที่ตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำน่าน เป็นการแสดงภาพรวมของจังหวัดพิษณุโลก
  • การแสดงลักษณะทางกายภาพ ภูมิศาสตร์และข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดพิษณุโลก
  • บันทึกประวัติศาสตร์ 9 ศตวรรษ เมืองพิษณุโลก เป็นการแสดงเรื่องราวของเมืองพิษณุโลกในระยะ 900 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่กำเนิดเมืองสองแควจนถึงปัจจุบัน โดยเทียบเคียงระยะเวลากับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์โลก
  • พระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร (จำลอง)
  • ศิลปกรรมและงานช่างหลวงพิษณุโลก แสดงเรื่องราวทางด้านศิลปกรรมชิ้นเอกของเมืองพิษณุโลก เช่น พระพุทธชินราช โบราณสถานสำคัญของเมืองพิษณุโลก เช่น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดจุฬามณี วัดเจดีย์ยอดทอง
  • จัดแสดงแบบจำลองวัดสำคัญ 3 วัด ในเขตพระราชวังจันทน์ ได้แก่ วัดโพธิ์ทอง วัดศรีสุคต และวัดวิหารทอง
  • แบบจำลองพระราชวังจันทน์ 3 สมัย และแบบจำลองวัตถุโบราณ
  • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช : จากเจ้าฟ้าพระองค์น้อยแห่งวังจันทน์ สู่พระมหาวีรบุรุษของชาติไทย แสดงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระมหาวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อแสดงความเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ โดยมีการจำลองพระมาลาเบี่ยง  พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง  พระแสงดาบคาบค่าย พระแสงทวน และพระแสงของ้าวแสนพลพ่าย
  • ห้องนิทรรศการหมุนเวียน จัดแสดงโครงการการพัฒนาพระราชวังจันทน์ และแบบจำลองพื้นที่โบราณสถานพระราชวังจันทน์

บริหารจัดการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

 

การแสดง แสง เสียง เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

“ยอยศยิ่งฟ้า มหาราชแห่งแผ่นดิน”

ระหว่างวันที่ 17-19 มกราคม ของทุกปี

 

 

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ถนนจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 055-247 204-5
อีเมล : chanpalace58@gmail.com

วันและเวลาทำการ

เปิดวันอังคาร- วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เวลา 09.00 - 16.00 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงวังน้อยแล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางสาย 117 ตรงสู่พิษณุโลก จากตัวเมืองมุ่งหน้าทางตะวันตกไปตามถนนหมายเลข 12 เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเทพารักษ์ จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าสู่จ่านกร้อง ขับตรงไป 50 เมตร เลี้ยวซ้ายเข้าศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์จะอยู่ทางซ้ายมือ

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

สามารถจองคณะขอเข้าชมศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ได้ทางเว็บไซต์
http://chanpalaceform.ppao.go.th/site/index

หรือ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 055-247304-5

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถฟรี

8

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง