คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

การละแล่นดนตรีมังคละ

การละแล่นดนตรีมังคละ

ดนตรีมังคละเป็นดนตรีดั้งเดิมของชาวพิษณุโลก โดยเฉพาะชาวบ้านวัดสกัดน้ำมันเล่นดนตรีมังคละเป็นอาชีพ   การเล่นดนตรี มังคละ นับเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเป็นดนตรีพื้นบ้านที่มีมานานแล้ว ดังปรากฏหลักฐานในพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เรื่อง จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับดนตรีมังคละ เมื่อเสด็จมาเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2444 ว่า

 

“...ได้ยินเสียงไกลๆ เป็นกลองตีเป็นเพลง แต่จะสังเกตว่าเป็นอะไรไม่ได้ รุ่งขึ้นกำลังเดินทางมาตามทางเรือได้ยินอีกหนหนึ่ง ทีนี้ใกล้ เขาแห่นาคกันอยู่ริมตลิ่ง แต่แลไม่เห็น นึกเอาว่าเป็นเถิดเทิงเพราะได้ยินเสียงฆ้องและกลอง ครั้นมาจอดที่วัดสกัดน้ำมัน ได้ยินอีกไกลไกล จึงได้ถามท่านสมภารว่าอะไร ท่านสมภารอธิบายว่า ปี่พาทย์ชนิดหนึ่งเรียกว่า มังคละ พระยาเทพา อธิบายว่า เป็นกลองคล้ายสองหน้า มีฆ้อง มีปี่ เล่นไม่ว่างานมงคลแลการอัปมงคลหากัน วันกับคืนหนึ่ง เป็นเงิน 7 ตำลึง จึงได้ขอให้พระยาเทพาเรียกมาตีให้ฟัง เครื่องมัลคละนี้เป็นเครื่องเบญจดุริยางค์แท้ มีกลองเล็กรูปเหมือนเถิดเทิง แต่สั้นขึงหนังหน้าเดียว มีไม้ตียาวๆ ตรงกับ “วาตต” ใบหนึ่งมีกลองขึงสองหน้าเหมือนกลองมลายู เป็นตัวผู้ใบหนึ่ง ตรงกับ “วิตต์” เป็นตัวเมียใบหนึ่ง ตรงกับ “อาตตวิตตํ” มีไม้ตีตรง... แลมีปี่คันหนึ่ง เป็นตัวทำนองปี่จีน ลิ้นเป็นปี่ชวา มีฆ้องแขวนราว 3 ใบ เสียงเพลงนั้นเหมือนกลองมลายู เพลงปี่ก็ไม่อ่อนหวาน  ฆ้องก็ตีพร้อมกันโครมๆ  ลองให้ตีดู 2 เพลง หนวกหูเต็มที เลยให้อัฐไล่มันไปบ้าน...”

 

(นริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา. จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก. พระจันทร์, 2506) จากข้อความที่ได้กล่าวมาแล้ว ทำให้ทราบว่า ดนตรีมังคละเป็นดนตรีดั้งเดิมของชาวพิษณุโลก โดยเฉพาะชาวบ้านวัดสกัดน้ำมันเล่นดนตรีมังคละเป็นอาชีพและเครื่องดนตรีมังคละมี 5 ประเภท ประกอบด้วย

1. กลองมังคละ (กลองขึงหน้าหน้าเดียว) ลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่ากลองยาวมาก ความยาวประมาณ 1 ฟุต หน้ากลองหุ้มด้วยหนัง ตัวกลองทำจากไม้ขนุน หน้าตัด อีกด้านหนึ่งเจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ไว้ตรงกลาง การตีกลองจะใช้หวาย 2 อัน ซึ่งปลายพันด้วยเชือกตี

2. กลองสองหน้า (กลองขึงหนังสองหน้า) เป็นกลองขนาดใหญ่ มีสายสะพายคล้องคอ หน้ากลองมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 นิ้ว ด้านหลังมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 นิ้ว ด้านหน้ากลองจะตีด้วยไม้ ด้านหลังกลองจะตีด้วยมือ มังคละวงหนึ่ง จะมีกลองสองหน้าประมาณ 3-4 ใบ

3. ปี่ มีลักษณะคล้ายปี่จีน เลาปี่เป็นข้อๆ ส่วนลิ้นคล้ายปี่ชวา

4. ฉิ่ง ฉาบ เป็นเครื่องกำกับจังหวะ ฉาบใช้สองคู่ เรียกว่า ฉาบล่อ เป็นฉาบขนาดกลางใช้ตีเพื่อเสริมลีลาของผู้เล่น และฉาบยืนเป็นฉาบขนาดใหญ่ ใช้ตียืนจังหวะให้เกิดความสนุกสนาน ครึกครื้น

5. ฆ้อง มีจำนวน สามใบ ขนาดเล็กใหญ่ลดหลั่นกันไป ฆ้องใบเล็กสุดจะแขวนอยู่ส่วนหน้า เรียกว่า เหม่งหน้า ใช้ตีนำวงก่อนเล่นมังคละ และใช้รัวจังหวะเพื่อเปลี่ยนเพลงตลอดจนใช้ตียืนจังหวะในการเล่น ส่วนฆ้อง สองใบหลังมีขนาดใหญ่เท่ากัน แขวนคู่กันคนละข้างใช้ตีเพื่อให้จังหวะข้างละหนึ่งทีสลับกัน การเล่นมังคละนี้ ก่อนเล่นจะต้องทำพิธีไหว้ครู โดยมีดอกไม้ธูปเทียน พร้อมเครื่องเซ่น ได้แก่หมากพลู สุรา เพลงที่ใช้เล่นมีหลายเพลง เช่น เพลงนมยานนกทกแป้ง เพลงหมูกินโคนบอน และเพลงกบเข่นเขี้ยว เป็นต้น ปัจจุบันการเล่นมังคละเล่นกันอยู่มาก ในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก มีวงมังคละชนิดต่างๆ เช่น คณะพรเมืองพรหม คณะเทพชุมนุม คณะสมเกียรติปี่กลอง คณะศรีภิรมย์ คณะประพรต รุ่งเรือง และคณะเทพสัมฤทธิ์ เป็นต้น โดยจะเล่นกันทุกโอกาสทั้งในงานรื่นเริง และงานศพ ตลอดจนเทศกาลต่างๆ เดิมการเล่นมังคละไม่มีท่ารำประกอบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 อาจารย์อนงค์ นาคสวัสดิ์ แห่งวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม พิษณุโลก เป็นผู้ริเริ่มคิดท่ารำประกอบเพลงของชายหญิง ทำนองเกี้ยวพาราศีประกอบกับท่วงทำนองลีลาจังหวะของดนตรีมังคละ ทำให้สนุกสนานครึกครื้นยิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก  : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ข้อมูลติดต่อ : 055-267224-5  http://library.psru.ac.th

6,152 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพิษณุโลก