คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Museum Thailand Awards 2021

  1. หน้าแรก
  2.    >   Museum Thailand Awards 2021
หลักเกณฑ์การคัดเลือก

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

หลักเกณฑ์การพิจารณา

การพิจารณาคัดเลือกพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประจำปี 2564 หรือ Museum Thailand Awards 2021 ได้ใช้หลักการของสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ(International Council of Museums : ICOM) มาเป็นแนวทางในความคิดพื้นฐานและกำหนดหลักเกณฑ์ตามบริบทของการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย พร้อมทั้งจัดตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาและเป็นคณะกรรมการคัดเลือกรางวัลฯ จำนวน 5 ท่าน เพื่อให้ครอบคลุมการพิจารณาภายใต้แนวความคิด “Reimage Relearn Reinvent : เปลี่ยนร่าง เปลี่ยนรู้ เปลี่ยนชีวิต ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19”

โดยจะพิจารณาจุดเน้นความดีเด่นใน 5 ด้าน ได้แก่

  • ด้านกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้
  • ด้านการสื่อความหมายและสร้างประสบการณ์
  • ด้านสัมพันธ์กับชุมชน
  • ด้านการอนุรักษ์และสืบสาน
  • ด้านการดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัย (สามารถสร้างประสบการณ์และขยายขอบเขตเข้าถึงผู้ชมได้ ภายใต้สภาวะ Covid-19)


แบ่งพิพิธภัณฑ์ออกเป็น 4 ประเภท

  1. พิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม
    พิพิธภัณฑ์ที่สังกัดทั้งภาครัฐ เอกชน และส่วนบุคคลหรือเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง ซึ่งจัดแสดงเรื่องราวต่างๆ ที่สัมพันธ์กับผู้คนในสังคมผ่านวัตถุทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นในการดำรงชีวิตในสังคม อันแสดงเป็นหลักฐานทางด้านวิถีชีวิต ศิลปะ รวมถึงโบราณวัตถุหรือวัตถุที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมา ชีวิตความเป็นอยู่และศิลปวัฒนธรรมของผู้คนที่หลากหลายกลุ่มในสังคมไทยที่ได้แสดงถึงความมีอยู่ทางเอกลักษณ์ ภูมิปัญญา หรือการปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย
  2. พิพิธภัณฑ์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์
    พิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ โดยการใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมอย่างสร้างสรรค์และต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ ด้วยรูปแบบต่างๆ อาทิ เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง วิสาหกิจชุมชน หรือนวัตกรรมวัฒนธรรม ซึ่งเอื้อต่อการขับเคลื่อนการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมและเพิ่มคุณค่าเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  3. พิพิธภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
    พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าและการพัฒนาของเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development)
  4. พิพิธภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น
    พิพิธภัณฑ์ที่เกิดจากความต้องการหรือการริเริ่มของคนในชุมชน โดยอาจมีการสนับสนุนจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น จากนั้นเมื่อดำเนินการจัดตั้งแล้วเสร็จก็ให้ชุมชนบริหารจัดการและดูแลกันเอง ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ โดยมีลักษณะเด่น คือ
    1. ท้องถิ่นเป็นผู้ริเริ่มจัดทำและดำเนินการ พิพิธภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นที่แท้จริงจะต้องเกิดจากความต้องการหรือเกิดจากการริเริ่มของคนในชุมชน บางแห่งอาจมีหน่วยงานภายนอกมาร่วมช่วยเหลือบ้างแต่คนในชุมชนจะทำหน้าที่ในการจัดการดูแลและดำเนินการเอง
    2. เนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องราวของชุมชนในด้านต่างๆ ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของชุมชน การทำมาหากิน ศาสนา ความเชื่อ ตลอดจนความสัมพันธ์ภายในชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นสำคัญ อาจมีการกล่าวถึงสังคมอื่นก็เฉพาะส่วนที่ท้องถิ่นมีการติดต่อสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมกับสังคมภายนอกเท่านั้น
    3. มีความหลากหลาย พิพิธภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นแต่ละที่จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน ทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจถึงความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจซึ่งกันและกันในสังคม
    4. เน้นความเรียบง่ายแต่มีความหมายต่อชุมชน สิ่งของที่จัดแสดงมีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นของมีค่า อาจเป็นศิลปวัตถุทางศาสนาที่ทางวัดเก็บรักษาไว้และยังนำมาประกอบพิธีในงานบุญประเพณีในรอบปี หรือศิลปหัตถกรรมประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านอันแสดงถึงคุณค่าและความหมายต่อการดำเนินชีวิตทั้งในอดีตและปัจจุบัน

เกณฑ์การให้คะแนน

การให้คะแนนรอบที่ 1 คณะกรรมการฯ พิจารณาเอกสารและ clip Video แนะนำพิพิธภัณฑ์และนำเสนอกิจกรรม ความยาวรวมทุก Clip Video แล้วไม่เกิน 15 นาที โดยมีเกณฑ์ให้คะแนนจากการนำเสนอข้อมูลภายใต้แนวความคิดและจุดเน้น 5 ข้อ

การให้คะแนนรอบที่ 2 คณะกรรมการฯ จะทำการคัดเลือกพิพิธภัณฑ์จากการนำเสนอข้อมูลและการสัมภาษณ์เพิ่มเติม ผ่านโปรแกรมนำเสนอแบบ Online โดยมีเวลา 30 นาที ในวันและเวลาที่ สพร. กำหนด เพื่อคัดเลือกพิพิธภัณฑ์ดีเด่นในแต่ละประเภท


การคัดเลือกรางวัล

จะจัดให้มีขึ้นหลังจากการนำเสนอข้อมูลโดยละเอียดของพิพิธภัณฑ์ทั้ง 2 รอบ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีพิพิธภัณฑ์ใดสมควรได้รับรางวัลใดรางวัลหนึ่งข้างต้น คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประจำปี 2564 (Museum Thailand Awards 2021) ของดการมอบรางวัลดังกล่าว โดยการให้คะแนนเป็นเอกสิทธิ์และดุลยพินิจของกรรมการแต่ละท่าน และจะพิจารณาตัดสินด้วยฉันทามติของคณะกรรมการ

1 อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
2 อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
3 อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
4 อ่านข้อมูลเพิ่มเติม