คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Museum Thailand Awards 2021

  1. หน้าแรก
  2.    >   Museum Thailand Awards 2021
หลักเกณฑ์การคัดเลือก

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

ที่มาของรางวัล Museum Thailand Awards


ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(สพร.) หน่วยงานภายในของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการคัดเลือกพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในประเทศไทย เพื่อเข้ารับรางวัลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่นประจำปี หรือ รางวัล “Museum Thailand Awards” ภายใต้ โครงการบริหารจัดการฐานข้อมูลกลางด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ของประเทศ เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2560 (ค.ศ.2017) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในประเทศไทยเกิดความตื่นตัวในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีทั้ง “คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้” และ “มาตรฐานพิพิธภัณฑ์ตามแบบสากล” นอกจากนี้ ยังมีรางวัลพิพิธภัณฑ์ขวัญใจมหาชน หรือ Museum Thailand Popular Vote ซึ่งเป็นรางวัลจากกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้งานในเว็บไซต์มิวเซียมไทยแลนด์อีกด้วย


ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ สพร. ได้คัดเลือกและมอบรางวัล Museum Thailand Awards ให้กับพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้กว่า 60 แห่ง
ทั่วประเทศ ส่งผลให้เห็นภาพการพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพของพิพิธภัณฑ์ไทยอย่างต่อเนื่อง


แนวคิดการคัดเลือกรางวัล Museum Thailand Awards 2021

การกำหนดมาตรฐานปัจจัยการคัดเลือกรางวัลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประจำปี 2564 หรือ Museum Thailand Awards 2021 อาศัยหลักการเชิงจริยศาสตร์ทางวิชาชีพในสายงานพิพิธภัณฑ์ อ้างอิงจากสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (International Council of Museums หรือ ICOM) ซึ่ง ICOM มีกติกาและบทบัญญัติวางไว้เป็นแนวทางการปฏิบัติมากมายหลายมาตรา มีสาระสำคัญเพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศด้วยวิธีต่างๆ โดย Museum Thailand Awards 2021 ได้จํากัดความหมายและคำจำกัดความของพิพิธภัณฑ์ ดังนี้


พิพิธภัณฑ์ สามารถจัดตั้งเป็นการถาวรหรือเคลื่อนที่หรือจัดเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ให้หมายรวมถึงศูนย์การเรียนรู้, ศูนย์วิทยาศาสตร์, หอศิลป์ (Gallery), อุทยาน, สวนสัตว์, สวนพฤกษศาสตร์ ซึ่งจัดโดยรัฐ ภาคเอกชน หรือ ชุมชน ก็ได้ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือกับสังคม ปรับตัวตามหรือเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างเป็นพลวัตร พิพิธภัณฑ์ต้องไม่นิ่งเฉยสามารถเข้าถึง สร้างประสบการณ์และแรงบันดาลใจรับฟังและเปิดพื้นที่ให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม อย่างมีชีวิตชีวา


บทบาทของพิพิธภัณฑ์

  1. บทบาทในฐานะเป็นฐานแห่งการเสริมสร้างความรู้ให้แก่สาธารณะชน
  2. บทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การให้บริการ การสร้างเสริมความรู้และประสบการณ์ให้แก่ชุมชน
  3. ความสามารถในการบริหารจัดการทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในระบบการจัดการพิพิธภัณฑ์
  4. ความสามารถชำนาญการในการจัดการ ดูแลเก็บรักษาข้อมูลและทรัพยากรองค์กร เพื่อการเผยแพร่ฐานข้อมูลและทรัพยากรดังกล่าว
  5. การบริหารจัดการ คัดสรร และฝึกอบรมด้านบุคลากรและทีมงานฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
  6. บทบาทในการเป็นพื้นที่ทางสังคมที่สร้างประสบการณ์ที่ปลอดภัย เปิดรับความคิด ความเห็น และการปรับตัวรองรับผู้ใช้งานที่มีความหลากหลายอย่างมีคุณค่ามากขึ้น

บทบาทของพิพิธภัณฑ์

  1. หน้าที่ในการคุ้มครอง ปกป้องรักษา วัตถุ วัสดุ เอกสาร รูปธรรมที่เป็นมรดกของชาติ ทั้งทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และมนุษยชาติ
  2. หน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์อันเกิดจากรูปธรรมต่าง ๆ ที่หลากหลายเหล่านั้น ให้มีแก่สังคมและการพัฒนาองค์กร
  3. หน้าที่เป็นเสาหลักในการรวบรวมจัดตั้งสนับสนุนการวิจัยศึกษาและให้ความรู้ในระดับลึกแก่สาธารณะได้
  4. หน้าที่ในการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ การจัดการของมรดกทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของชาติ
  5. หน้าที่ในการนำเสนอ ความคิดสร้างสรรค์ การให้บริการและการจัดการอันเป็นประโยชน์แก่สาธารณชน
  6. หน้าที่ในการเป็นศูนย์ประสานงานทำงานให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับชุมชนทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ
  7. หน้าที่เคารพกฎระเบียบ และนิตินัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามลำดับทั้งกฎภายในและกฎสากล
  8. หน้าที่ในการปฏิบัติงานอย่างชำนาญอย่างยิ่งยวดในสายอาชีพของพิพิธภัณฑ์ศาสตร์
1 อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
2 อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
3 อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
4 อ่านข้อมูลเพิ่มเติม