คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดบ้านกอก

     วัดบ้านกอก สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2435 โดยประชาชนชาวบ้านกอกร่วมใจกันสร้างขึ้นและตั้งชื่อวัดตามชื่อบ้าน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2501 พระพุทธรูป ปูนปั้น ประทับนั่งสมาธิราบ ปางมารวิชัย ฝีมือช่างพื้นบ้านศิลปะล้านช้าง ประดิษฐานบนฐานชุกชี ผนังพระอุโบสถด้านหลังข้างพระพุทธรูปมีจารึก ระบุปีที่สร้าง คือในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว ผนังทั้งสามด้านแบ่งเป็นสองชั้น คั่นด้วยลายดอกไม้ก้ามปูเรียงต่อเป็นเส้นโดยรอบ ด้านบนเหนือขอบหน้าต่าง ขอบประตูขึ้นไปเป็นลายมงคลของจีน อาทิเช่น ผลท้อ ดอกโบตั๋น ดอกเบญจมาศ ผลทับทิม ค้างคาว จั๊กจั่น เป็นต้น ส่วนภาพระหว่างช่องหน้าต่าง เป็นภาพเล่าเรื่องชาดกโดยประติมากรรมปูนปั้นฝีมือช่างพื้นบ้านที่มีลักษณะเฉพาะ ผสมผสานระหว่างงานช่างศิลป์ล้านช้าง เหนือหัวเสาขึ้นไปเป็นงานปูนปั้นรูปนกยูง หนือประตูเป็นรูปเทวดา 2 ตน บนก้อนเมฆในมือถือดอกบัว ด้านขวาเป็นรูปนางมณีเมฆขลาล่อแก้ว ใต้ทั้งสองภาพเป็นรูปนกกระยางกำลังบินในปากคาบปลาอยู่ ที่ด้านล่างข้างประตูเป็นงานปูนปั้นรูปทวารบาล (เสี้ยวกาง) ถืออาวุธยืนบนสิงโตจีน

     โบสถ์หัวเรือเขวอายุ 175 ปี (โบสถ์มหาอุตม์) วัดบ้านกอก

     ตามประวัติ วัดนี้สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ 2385 ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวบ้านทั่วไปเรียก “วัดหัวเรือเขว” เหตุเพราะอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก เรือใดผ่านไปมา ต้องหันหลังกลับมามอง เพราะความวิจิตรอลังการของอุโบสถหลังนี้ ประกอบกับด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันตก “โบสถ์มหาอุตม์” เป็นโบสถ์ที่มีประตูเข้าออกแค่หน้าโบสถ์เพียงประตูเดียว ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่บรรพบุรุษในสมัยนั้น มีความศรัทธาสร้างขึ้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อใช้กระทำการทางด้านเวทมนต์คาถา ปลุกเสกพระ ตะกรุด หรือ ของขลัง ต่าง ๆ ส่วนสาเหตุที่โบสถ์มีทางเข้าออกเพียงทางเดียวนั้นก็เพราะไม่ต้องการให้คาถาระหว่างปลุกเสกรั่วออกไปนั่นเอง และด้วยเหตุผลที่เป็นโบสถ์ที่มีประตูเข้าออกเพียงประตูเดียวจึงทำให้กลายเป็นโบสถ์ที่หาดูค่อนข้างยากและมีไม่กี่แห่งในประเทศไทย

     “ปฏิมากรรมรอบโบสถ์เก่า” ภาพปูนปั้นด้านหน้าพระอุโบสถเก่าวัดบ้านกอก ภาพปูนปั้นด้านหน้าพระอุโบสถเก่าวัดบ้านกอก ผนังด้านหน้าพระอุโบสถเก่าวัดบ้านกอกมีประติมากรรมปูนปั้นฝีมือช่างพื้นบ้านที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นการผสมผสานระหว่างงานช่างศิลป์ล้านช้าง กับงานศิลป์ภาคกลางได้อย่างลงตัว อยู่ใต้หน้าบันลงมา ที่มุมทั้งสองด้านใต้หน้าบันลงมา ที่มุมทั้งสองด้านทำเป็นเสาประดับผนังยอดบนของเสามีปูนปั้นเป็นรูปบัวแวงประดับเหนือหัวเสาขึ้นไปเป็นงานปูนปั้นรูปนกยูงลงรักประดับกระจกสีทั้งสองต้นผนังด้านหน้าพระอุโบสถเก่าวัดบ้านกอกมีประติมากรรมปูนปั้นฝีมือช่างพื้นบ้านที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นการผสมผสานระหว่างงานช่างศิลป์ล้านช้าง กับงานศิลป์ภาคกลางได้อย่างลงตัวเข้ามาทางขวาเป็นงานปูนปั้นรูปทรงกลมภายในเป็นรูปนกยุง ซึ่งหมายถึงพระอาทิตย์ท่าม กลางกลุ่มลายก้อนเมฆ เหนือประตูเป็นรูปเทวดา ๒ ตน บนก้อนเมฆในมือถือดอกบัว มืออีกข้างหนึ่งยกขึ้นอยู่ในระดับคิ้วด้านขวาเป็นรูปนางมณีเมฆขลาล่อแก้วทางด้านซ้ายเป็นรูปรามสูรขว้างขวานที่ด้านล่างข้างประตูเป็นงานปูนปั้นรูปทวารบาล(เสี้ยวกาง)ถืออาวุธยืนบนสิงโตจีนซุ้มประตูที่ออกแบบให้รับเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรม ช่างบรรจงให้เป็นทั้งซุ้มประตูที่งดงามอลังการ ขณะเดียวกันแสดงถึงพระเจดีย์จุฬามณี ที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยมีเหล่าทวยเทพมาชุมนุมนมัสการ งานปูนปั้นที่เก็บรายละเอียดอ่อนหวานวิจิตร...

     “บานประตูโบสถ์เก่า เป็นศิลปะช่างเวียงจันทร์

     ขอบคุณข้อมูลจาก วัดบ้านกอก และองค์การบริการส่วนตำบลบ้านแก้ง

 

1,995 views

0

แบ่งปัน