สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ตำหนักทะเลชุบศร หรือ พระที่นั่งเย็น หรือ พระที่นั่งไกรสรสีหราช ขึ้น ณ กลางทะเลชุบศร เพื่อใช้เป็นที่ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ เป็นอาคารชั้นเดียวก่ออิฐถือปูนทรงสูง มีผังเป็นรูปจัตุรมุข มีมุขเด็จยื่นออกมา และมีสีหบัญชรกลางมุขเด็จ ปัจจุบันยังคงเหลือกำแพง ผนัง และช่องหน้าต่าง ที่มีอยู่รายรอบ ซึ่งน่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระตำหนักแห่งนี้มีความเย็น ให้ได้ชมและจินตนาการถึงความงดงามของพระที่นั่ง บริเวณภายนอกโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทำนบกั้นน้ำขนาดใหญ่ เพื่อชักน้ำจากทะเลชุบศรผ่านท่อน้ำดินเผาไปยังเมืองลพบุรี ในปัจจุบันยังเห็นเป็นสันดินปรากฏอยู่
ตามบันทึกของชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงใช้เป็นที่สังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2228 และทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคาแบบบางส่วน เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2231 โดยบันทึกระบุว่าบริเวณพระที่นั่งเย็นสามารถเห็นท้องฟ้าโดยรอบชัดเจนทุกด้าน และมีพื้นที่กว้างมากพอสำหรับที่จะติดตั้งเครื่องมือ จึงเป็นสถานที่สำคัญของการศึกษาดาราศาสตร์ในสมัยแรกของสยาม โดยมีภาพจำลองจากภาพแกะสลักไม้ ฝีมือจิตรกรชาวฝรั่งเศส ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชกำลังทรงกล้องโทรทรรศน์เพื่อทอดพระเนตรจันทรุปราคา ที่พระที่นั่งเย็น ริมทะเลชุบศร จังหวัดลพบุรี ปรากฎอยู่
เอกลักษณ์ประจำพระที่นั่งเย็น ที่ใครไปก็ต้องถ่ายภาพกับ "ต้นไม้ใหญ่" ลำต้นขนาดกว่า 2 คนโอบ ที่แผ่กิ่งก้านสาขาสวยงามเหมือนกับวาดโดยจิตรกร และหลักหมุดสำคัญทางดาราศาสตร์ของประเทศไทยรูป “นาฬิกาแดด” บอกพิกัดละติจูด ลองจิจูด ของพระที่นั่งเย็นบนแผนที่โลก
ท่านที่สนใจอยากไปย้อนจินตนาการยังสถานที่เริ่มต้นการศึกษาด้านดาราศาสตร์ไทย ก็สามารถไปชมพระที่นั่งเย็น ซึ่งอยู่ภายในซอยพระที่นั่งเย็น ห่างจากพระปรางค์สามยอด ประมาณ 5 กิโลเมตร เปิดทุกวัน 8.30-16.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 036 – 413 779
(ที่มาข้อมูล: แผ่นพับนำชมพระที่นั่งไกรสรสีหราช และภาพถ่ายจาก https://th.wikipedia.org)