คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ศิลปะพระธาตุพนม

ศาสนสถานเก่าแก่ในภาคอีสานที่ยังมีลมหายใจ

ตามตำนานอุรังคธาตุ ได้กล่าวถึงการสร้างพระธาตุพนมว่า ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 8 เพื่อบรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า) แต่ตามหลักฐานการขุดคุ้นโดยกรมศิลปากรเมื่อครั้งบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. พบว่าเดิมทีที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ราบอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงเก่า มีเกาะดอนอยู่บริเวณหน้าวัด (ปัจจุบันตื้นเขินกลายเป็นถนน ชุมชนไปแล้ว) และมีร่องรอยของการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาเมื่ออิทธิพลทางพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ฮินดูเข้ามา ทำให้บริเวณพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำโขงในช่วงเวลานี้ถูกปรับให้กลายเป็นเนินดินสูง ด้วยวิธีการขุดดินให้เป็นคูน้ำทางด้านทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือ แล้วนำดินส่วนที่ขุดถมให้กลายเป็นเนินดินบริเวณตรงกลางของคูน้ำ ในขณะที่ทางฝั่งทิศตะวันออกใช้เส้นทางเดินของแม่น้ำโขงเก่าเป็นคูน้ำ ดังนั้นเนินดินบริเวณธาตุพนมจึงลาดลงไปทางทิศตะวันออก 

 

เมื่อถมดินจนเป็นเนินแล้วก็ทำการกระท้งดินจนอัดแน่นแล้ววางรากฐานของพระธาตุอยู่บริเวณใจกลางของเนินดินด้วยอิฐ แล้วจึงทำการก่ออิฐขึ้นมาให้เป็นรูปทรงปราสาทอิฐในศาสนาพาหมณ์ฮินดู เมื่อก่ออฐจนเป็นทรงปราสาทแล้วจึงทำการแกะสลักให้เป็นลวดลายในลำดับต่อมา ซึ่งยุคสมัยของการสร้างพระธาตุพนมนั้น คณะกรมศิลปากรได้กำหนดอายุว่า สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 ตรงกับศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร และศิลปะจามหมี่เซิน E-ดงเดื่อง 

 

แต่จากการศึกษาของผู้เขียนอย่างละเอียด ทำให้ทราบว่า พระธาตุพนมเป็นปราสาทที่ร่วมสมัยกับศิลปะขอมต้นเมืองพระนคร ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 โดยศึกษาจากโครงสร้างทางศิลปกรรม การประดับลวดลาย และเทียบเคียงจากศิลปะรอบข้างอย่างพระธาตุอิงฮัง และพระธาตุโพ่น แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเดิมทีก็เคยเป็นปราสาทขอมมาก่อนเช่นกัน ซึ่งหลังจจากการศึกษาจากหลักฐานเหล่านี้ทำให้ทราบว่า ศิลปะที่พระธาตุพนมในยุคแรกนั้น เป็นศิลปะที่มีการผสมผสานจากหลายสายด้วยกัน ทั้งศิลปะแบบขอมก่อนพระนคร (พ.12-14) ต้นพระนคร (พ.15) และจามแบบหมี่เซิน (A1 พ.15) ผสมผสานกับศิลปะดั้งเดิมคือศิลปะทวารวดี (พ.12-16) โดยศาสนาพราหมณ์ฮินดูและรูปแบบทางศิลปกรรมนั้นรับมาจากช่างทางฝั่งประเทศลาวที่อยู่อาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำเซบั้งไฟ ซึ่งอาจจะเคลื่อนย้ายมาจากพระธาตุอืงฮังหรือฝั่งตรงข้ามกับพระธาตุพนมก็เป็นได้ มีรายละเอียดประกอบการพิจารณาดังนี้

 

อิทธิพลศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร (พ.12-14)

 1) การประดับด้วยขื่อปลอม ลูกกรง และยักษ์แบก (เทพพนม) พบได้ในศิลปะขอมพุทธศตวรรษที่ 12-14 และศิลปะชวาภาคกลางตอนต้น ซึ่งยังเป็นปราสาทที่ยังมีโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมตามรูปแบบของอินเดียอยู่

2) การประดับด้วยเสากลมซ้อนอยู่ในเสาเหลี่ยม พบได้ในปราสาทขอมก่อนเมืองพระนครเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-13 ศิลปะแบบสัมโบร์ไพรกุก-ไพรกเม็ง

3) การกระดับลายก้านต่อดอก และลายดอกไม้ใบไม้ที่เสาประดับผนัง พบได้ในศิลปะขอมก่อนพระนครเช่นเดียวกัน

4) สิงค์ประดับซุ้มประตูทางทิศตะวันตก (องค์เก่า) ลักษณะของสิงห์ที่พบที่นี่ ใกล้เคียงกับสิงห์ทวารบาลที่ปราสาทสัมโบร์ไพรกุก หมู่ใต้มาก ซึ่งยังมีลักษณะทางกายภาพตามธรรมชาติอยู่ โดยสังเกตุจากขนขมวดม้วนใหญ่ และขนแข้ง

 

อิทธิพลศิลปะขอมสมัยต้นพระนคร (พ.15)

1) ลวดลายประดับเสาขอบผนังทิศตะวันออก-ทิศใต้-ทิศตะวันตก พบว่าการทำลายกนกให้มียอดม้วนแบบนี้ เป็นลายที่มีรูปแบบเดียวกันกับลายขอมสมัยพระโค ราวพุทธศตวรรษที่ 15 เช่นที่ปราสาทพระโค ปราสาทบากอง 

2) สิงห์ประดับซุ้มประตูทางทิศเหนือ (องค์เก่า) ลักษณะของสิงห์ในสมัยนี้จะมีขนขมวดเล็กลง ตัวสูง คอตั้ง

 

อิทธิพลศิลปะจามแบบหมี่เซิน A1 (พ.15) 

1) ภาพจำหลักบุคคลชั้นสูงควบม้าขี่ช้าง มีลูกกระพวน ตัวบุคลเปลือยท่อนบน มวยผมไว้ที่ท้ายทอยและประดับด้วยปิ้นปักผมแหลม คล้ายกับภาพสตรีชั้นสูงกำลังควบมม้าตีคลีที่จาเกียว ประเทศเวียดนาม

2) ลายประดับเสาของผนังทางทิศเหนือ ที่ทำเป็นลายเครือไม้ขดกันไปมา ทำเป็นรูปใบไม้ ดอกไม้ บางลายมีความคล้ายคลึงกับลายศิลปะจามเช่นเดียวกัน

3) การทำเสาประดับผนังเรียงกัน รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่มีให้เห็นกันในศิลปะจาม โดยเฉพาะศิลปะจามแบบหมี่เซิน A1

 

อิทธิพลศิลปะทวารวดี (พ.12-16)

1) การประดับปราสาทด้วยหลักหินขนาดใหญ่นอกกำแพงแก้ว ซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของผู้คนในแถบนี้ที่มีการผสมผสานกับคติทางพุทธศาสนาจนกลายเป็นใบเสมาจำหลักลวดลายสวยงาม เช่นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์

2) การประดับด้วยปฏิมากรรมหินรูปไกรสรคาวี สัตว์ผ่าหิมพานต์ตามคติทางพระพุทธศาสนา โดยมีหัว หู หนอกเป็นวัว ปากและเท้าเป็นสิงห์ และมีหางเป็นม้า ซึ่งงานปฏิมากรรมนี้ไม่เคยพบในศิลปะทวารวดีมาก่อน แต่รูปแบบทางศิลปะกลับเป็นรูปแบบเดียวดันกับสิงห์ที่ซุ้มประตูพระธาตุพนมองค์เดิม ประเด็นนี้ต้องศึกษากันต่อไป

3) ลายประดับเสาขอมผนังหนังทางทิศเหนือ บางลายมีลักษณะคล้ายคลึงกับลายปูนปั้นทวารวดีแถบภาคกลาง 

4) ซุ้มประตู เป็นซุ้มที่มีรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่าซุ้มรูปแบบนี้น่าจะพัฒนามาจากซุ้มแบบทวารวดีมากกว่าซุ้มแบบขอมหรือจาม เพราะรูปทรงของซุ้มมีความใกล้เคียงกับซุ้มประดับอาคารที่เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรีมากกว่า

5) ภาพเทพเทวดาที่หน้าบัน แต่ละทิศมีการประดับอาภรณ์ใกล้เคียงกับศิลปะทวารวดีอีสานอย่างมาก โดยเฉพาะที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวักกาฬสินธุ์

 

ดังนั้น ผูเขียนจึงมีความเห็นว่า หากจะกล่าวถึงช่วงเวลาของการก่อสร้างจะต้องกำหนดใหม่ว่า ไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 15 และหากจะศึกษาศิลปะของที่นี่ต้องกำหนดใหม่เป็น พุทธศตวรรษที่ 14-15

13,804 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครพนม