คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดหลวง

วัดที่สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองแพร่

วัดหลวง วัดเก่าแก่ที่สำคัญอยู่คู่บ้านอยู่เมืองแพร่มานับพันปีที่ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการสร้างเมืองแพร่ หลังสถาปนาเมืองได้ 1 ปี พญาพล กษัตริย์ผู้ก่อตั้งเมืองแพร่ จึงได้สร้างวัดหลวงขึ้น

เพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ถึงแม้จะผ่านกาลเวลามาเป็นพันปีแต่วัดหลวงอยู่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก ปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้วัดหลวงเป็นโบราณสถานของชาติที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี

          ภายในวัดมีวิหารหลวงพลนคร ซึ่งตั้งตามชื่อของกษัตริย์ผู้สร้างวัดและสร้างเมืองแพร่ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนหลวง พระประธานของเมืองแพร่ พระเจ้าแสนหลวงเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประทับนั่งปางสมาธิสร้างโดยศิลปะ ล้านนาผสมกับสุโขทัย ในสมัยที่ขอมยกทัพเข้ารุกรานเมือง ใน ได้เผาทำลายทั้งเมืองและวัดรวมทั้งเผาลอกเอาทองหุ้มพระเจ้าแสนหลวงไปด้วย พร้อมกับได้ทำการเปลี่ยนชื่อเมืองพลเป็น "เมืองโกศัย"

          ในปี พ.ศ.1719 พม่าได้ขยายอิทธิพลมาสู่ดินแดนล้านนาและขับไล่ขอมออกไป พม่าได้เรียกเมืองพลว่า "เมืองแพล" ต่อมา พญาพีระไชยวงศ์ เจ้าเมืองแพลได้ทำไมตรีกับพม่าและร่วมกับส่างมังการะเจ้าเมืองพม่า ทำการบูรณะวัดหลวง เจ้าเมืองแพลและชาวเมืองแพลได้ร่วมกันสร้างพระธาตุหลวงไชยช้างค้ำซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุที่นำมาจากเมืองหงสาวดี  พร้อมกับได้หุ้มทองพระเจ้าแสนหลวงและตั้งชื่อวัดใหม่ว่า "วัดหลวงไชยวงศ์"

          ภายในวัดหลวงแห่งนี้ยังมีประตูวัดที่เก่าแก่ เรียกว่า "ประตูโขง" ซึ่งแต่เดิมใช้เป็นประตูของเจ้าเมืองผ่านเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของเจ้าเมืองแพร่ และวัดหลวงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย จึงทำให้วัดหลวงที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองแพร่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อย่างเช่นทุกวันนี้ และปัจจุบันได้มีการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นไว้ให้ได้ชมอีกด้วย

5,260 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่