คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พิพิธภัณฑ์ไม้สัก

แหล่งรวบรวมประวัติศาสตร์ไม้แพร่

 “ไม้สัก” พบมากที่สุดในเขตจังหวัดภาคเหนือของไทย คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงมากในเรื่องของไม้สัก และนอกจากไม้สักแล้วยังมีไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้มะค่า ไม้ตะแบก และไม้ชนิดต่างๆอีกมากมาย ในปี พ.ศ. 2426 รัฐบาลไทยเริ่มอนุญาตให้ชาวยุโรปเข้ารับสัมปทานทำไม้สักในประเทศไทยและในปี พ.ศ. 2428 เป็นต้นมา พม่าปิดป่าไม้สัก เนื่องจากสภาพป่าสักเสื่อมโทรมลงมากจากการทำไม้ของบริษัทต่างชาติ ความต้องการไม้สักในหมู่ประเทศยุโรปมีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องหาแหล่งไม้สักแห่งใหม่ บริษัทต่างชาติมีความชำนาญในการทำไม้ในพม่า รู้วิธีการที่จะทำให้ได้ผลกำไรมากที่สุดจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัททำไม้ของยุโรปเข้ามาตั้งบริษัททำธุรกิจในประเทศไทย

          บริษัทอีสต์เอเชียติค จากประเทศเดนมาร์ก ได้เข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ในประเทศไทยในสมัยรัชการที่ 5  โดยได้รับสัมปทานทำไม้สักบริเวณริมแม่น้ำยม กัปตันรอบินส์ กูลเบิก ผู้จัดการบริษัท ได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับรัฐบาลไทย เพื่อก่อตั้งเป็นที่ทำการบริษัทเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2449 เป็นระยะเวลา 20 ปี  เมื่อหมดสัมปทานจึงได้มอบอาคารทั้ง 3 หลัง ให้กับรัฐบาลไทย และกรมป่าไม้ ได้มีการจัดตั้งสถานที่แห่งนี้เป็นกองโรงเรียนป่าไม้ขึ้นในปีพ.ศ.2478 และหลังจากโรงเรียนป่าไม้ได้ปิดตัวลง จึงได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์การป่าไม้ในปี พ.ศ. 2541

        พิพิธภัณฑ์การป่าไม้ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติการทำไม้ในจังหวัดแพร่

เป็นแหล่งรวบรวมความรู้และประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการทำไม้ ซึ่งได้รวบรวมจัดแสดงภาพ ประวัติการทำไม้ และอุปกรณ์ทำไม้ในอดีต รวบรวมตัวอย่างไม้ชนิดต่างๆ เล่าถึงวิถีชีวิตการทำไม้ของคนเมืองแพร่ โดยอาคารที่ใช้จัดแสดงแต่เดิมนั้นเป็นอาคารเรียนเก่าของโรงเรียนการป่าไม้แพร่ ซึ่งมี 3 อาคารด้วยกัน เมื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์การป่าไม้ อาคารแต่ละหลังจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน

        พิพิธภัณฑ์ 1 เป็นอาคาร 2 ชั้น เป็นที่เก็บรวบรวมป้ายโรงเรียนป่าไม้และป้ายอาคารสถานที่เก่าซึ่งทำด้วยไม้และปีกไม้ไว้ ส่วนชั้นบนจัดแสดงเรื่องราวของโรงเรียนป่าไม้ ภายในอาคารมีห้องเพดานใต้หลังคาเป็นห้องโถงกว้าง เดิมใช้เป็นที่ทำงานและที่พักของเจ้าหน้าที่ บริษัทอิสท์เอเชียติก ในสมัยที่เป็นโรงเรียนป่าไม้ใช้เป็นสโมสรนักศึกษา และชั้นล่างมีเซฟทำด้วยปูนสำหรับเก็บทรัพย์สินของบริษัทอีสท์เอเชียติก

        พิพิธภัณฑ์ 2 พิพิธภัณฑ์ไม้สัก เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเดิมใช้เป็นที่ทำการของบริษัทอีสท์เอเชียติก ในสมัยเป็นโรงเรียนป่าไม้ใช้เป็นห้องเรียน และห้องพักครู ต่อมาใช้เป็นที่ทำการและห้องประชุมของโรงเรียน และเมื่อปี 2541 ได้ใช้ชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์ไม้สัก จัดแสดงประวัติการทำไม้สักของเมืองแพร่ อุปกรณ์ในการทำไม้ ภาพถ่ายการทำไม้ในอดีต และตัวอย่างไม้ชนิดต่างๆที่มีในแพร่

        พิพิธภัณฑ์ 3 เป็นอาคาร 2 ชั้น ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองแพร่เก่า ใช้เป็นที่พักของเจ้าหน้าที่บริษัทอีสท์เอเชียติก ในสมัยเป็นโรงเรียนป่าไม้ ใช้เป็นบ้านพักผู้อำนวยการ ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ ชั้นล่างเป็นห้องโถง ใช้จัดแสดงภาพในอดีตของบริษัทอีสท์เอเชียติก

 ปัจจุบันนี้อาคารพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมเพียงหลังเดียว คือ พิพิธภัณฑ์ 2 พิพิธภัณฑ์ไม้สัก เนื่องจากอาคารอีก 2 หลังนั้นชำรุดทรุดโทรมไปมาก ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้สักได้รวบรวมประวัติการทำไม้ในแพร่ ศิลปหัตถกรรม ภาพถ่ายในสมัยอดีต เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ในการทำไม้ในอดีต รวมถึงตัวอย่างไม้ชนิดต่างๆ ที่มีในจังหวัดแพร่ ไม้สักเป็นไม้ขนาดใหญ่มีมูลค่าราวกับทองคำ ในไม้สักทองนั้นมีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm. ซึ่งถ้าทองคำหนัก 1 บาท ต้องใช้ไม้สักทองถึง 26 ต้น ไม้สักทองเป็นไม้มงคลที่คนไทยในสมัยอดีตมีความเชื่อว่าการปลูกต้นสักทองไว้บริเวณบ้านจะทำให้ “มีเกียรติศักดิ์หรือมียศถาบรรดาศักดิ์” นั่นเอง ต้นสักเป็นไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบตามอายุและขนาดของไม้ มีการแบ่งคุณลักษณะของไม้โดยมีเกณฑ์การพิจารณาจากสีของเนื้อไม้ ความแข็ง ความเหนียว และการตกแต่งของเนื้อไม้ สามารถแยกออกเป็น 5 ชนิด

           1. ไม้สักทอง : เนื้อไม้สักทองจะให้คุณภาพของเนื้อไม้ดีที่สุด ความแข็งแรงอยู่ระหว่างสักหินและสักหยวก เนื้อไม้ไม่เปราะเหมือนสักไข่และสักขี้ควาย เนื้อไม้มีสีเหลืองทอง เห็นวงปีชัดเจน ลวดลายสวยงามเป็นระเบียบ บางทีมีเส้นสีน้ำตาลแทรก เรียกว่า สักทองลายคำ มีเสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง

           2. ไม้สักหิน : เนื้อไม้สีน้ำตาล หรือสีจาง ตกแต่งได้ง่าย

           3. ไม้สักหยวก : เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนหรือสีจาง ตกแต่งได้ง่าย

           4. ไม้สักไข่ : เนื้อไม้สีน้ำตาลเข้มปนเหมือนมีไขปน ยากแก่การนำมาตกแต่งและทาสี

           5. ไม้สักขี้ควาย : เนื้อไม้มีสีเขียวปนน้ำตาล หรือน้ำตาลดำเป็นสีเลอะๆ

5,809 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่