คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พระธาตุเนิ้ง

พระธาตุเอียง

วัดพระหลวง เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ แต่ไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 22 พร้อมกับชุมชนที่อยู่รอบๆ วัด หลังจากหมู่บ้านถูกปล่อยทิ้งให้ร้างเป็นเวลานาน จนกระทั่งปี พ.ศ.2330 มีกลุ่มชนไทลื้อพร้อมทั้งระภิกษุ สามเณรได้อพยพมาจากเชียงแสน มาถางป่าสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้ และช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดที่มีสภาพเสื่อมโทรมขึ้นใหม่และตั้งชื่อให้ว่า "วัดพระหลวง

          ภายในวัดมีองค์เจดีย์ที่มีความเอียงอย่างเห็นได้ชัดชื่อว่า “พระธาตุเนิ้ง” ชาวพื้นเมืองมักเรียกกันว่า “เนิ้ง” ซึ่งหมายถึงเอียงนั่นเอง พระธาตุเนิ้งไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับวัดพระหลวง เจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา องค์เจดีย์ก่อสร้างด้วยอิฐทรงปราสาท  มีความสูง 12 วา ฐานกว้าง 6 วา 3 ศอก ลักษณะเจดีย์เป็นฐานสี่เหลี่ยมและองค์ระฆังเหลี่ยม อยู่บนฐานเขียง 4 เหลี่ยม 3 ชั้น ตั้งซ้อนขึ้นไป รองรับมาตรฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จขนาดใหญ่ เหนือขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้น รองรับเรือนธาตุ 4 เหลี่ยมย่อเก็จ ซุ้มเรือนธาตุประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนแสดงปางต่างๆ อยู่ภายใน เหนือซุ้มจระเข้ขึ้นไปเป็นชุดของ หลังคาเรือนธาตุอันประกอบด้วยมาลัยเถา 4 ชั้น รองรับองค์ระฆังปลียอดและปล้องไฉน ส่วนยอดตั้งแต่องค์ระฆังขึ้นไป มีการบุด้วยแผ่นทองจังโก

          พ.ศ. 2509 กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะส่วนฐานรากขึ้นไป จนถึงคอระฆังเสริมความมั่นคงโดยการเจาะอัดฉีดน้ำ ปูน ทราย และก่ออิฐเสริมซ่อมแซม สถาปัตยกรรมส่วนที่ชำรุดไปบางส่วน ในส่วนเจดีย์ที่เอนนั้น ก็ปล่อยตามสภาพเดิม

          พ.ศ. 2539 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดโครงการบูรณะสถานแห่งชาตินี้ขึ้นอีก โดยดำเนินการขุดค้นเพื่อศึกษาฐานรากและบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์

4,544 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่