คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เตา

เตา...สายใยของความผูกพัน

                     ชื่อเรื่องมันจะฟังแล้วเศร้าๆ ...แต่ว่าเรื่องที่พวกเราเจอไม่เศร้าเหมือนชื่อเรื่องนะคะวันนี้พวกเราจะไปดู...เตา ที่บ้านนาคูหากัน ฉันกับเพื่อนๆ จะต้องไปทำรายงานเรื่องเตากัน  เตาที่พูดถึงไม่ใช่เตาอั่งโล่นะคะ เป็นเตาที่มีชีวิตจริงๆ ด้วยความตื่นเต้นเพราะพวกเราแต่ละคนไม่เคยไปที่บ้านนาคูหากันเลย เคยได้ยินแต่ชื่อ  บ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ห่างจากตัวเมืองแพร่ออกมาประมาณ 20  กิโลเมตร หนทางลาดยางมะตอยอย่างดี การเดินทางถือว่าสะดวกสบายอย่างมาก   ยิ่งมีคนเล่าว่าที่นั่นอากาศดีมาก เย็นสบาย พวกเรายิ่งตื่นเต้นกันใหญ่ ที่ตื่นเต้นไม่ใช่เพราะอยากทำรายงาน แต่อยากไปเห็นเตา อยากจับเตา เพื่อนบางคนยังไม่รู้เลยว่า เตาหน้าตามันเป็นยังไง ฉันเคยเห็นยายเอามาทำกับข้าว ยายทำตำเตา ยายบอกว่าเตาบ้านนาคูหาเป็นเตาที่สด สะอาด และที่สำคัญอร่อยมาก พวกเรานัดเวลากันเรียบร้อย โดยมีลุงกับแม่เป็นสารถีขับรถให้เพราะลุงบอกว่า เป็นทางขึ้นดอย คดเคี้ยว และจะผ่านหุบเขา ลุงพูดจนพวกเราตื่นเต้นกันอีก พวกเราจึงขอนั่งหลังกระบะรถเพื่อจะได้ชมบรรยากาศอันแสนบริสุทธิ์ได้เต็มที่ ตามทางไปพวกเราไม่มีใครหยุดพูดต่างคนต่างแย่งกันคุยจนไม่มีใครฟังใคร

ออกจากตำบลเหมืองหม้อ ขับรถออกไปเรื่อยๆ เหมือนทางเข้าไปในป่า อากาศก็เย็นลงเรื่อยๆผ่านทางเขียวชอุ่มสองข้างทาง ไม่มีรถวิ่งสวนทางให้วุ่นวายเหมือนในเมือง ยิ่งเข้าไปก็ดูเหมือนยิ่งสงบ  ลุงขับรถไปใช้เวลาประมาณชั่วโมงกว่าๆก็ถึง ( เพราะขับช้ามาก )  หมู่บ้านนาคูหา เป็นหมู่บ้านที่เงียบสงบ อากาศช่างเย็นสบาย พวกเราแต่ละคนสูดอากาศให้เต็มปอด ลุงขับรถช้าๆ พาพวกเราเข้าไปเที่ยวในหมู่บ้าน  จากที่พวกเราเห็น ชาวบ้านที่ใช้ชีวิตอยู่แบบพอเพียง ไม่หรูหรา ฟุ้งเฟ้อ  แล้วลุงก็พาพวกเราไปหาป้าเจ้าของบ่อเตาที่ได้นัดกันไว้ เพื่อขอทำความรู้จักกับ เตา อย่างเป็นทางการ 

เตา หรือ สาหร่ายสีเขียว เป็นสิ่งที่มีชีวิต จะมีลักษณะเป็นเส้นยาว ไม่แตกกิ่งก้านเหมือนต้นไม้    จะมีสีเขียว พอจับจะลื่นๆ มือ ซึ่งเตาจะอาศัยอยู่ในน้ำสะอาด เตามีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระด้วยนะ คือกินแล้วจะสวย ( พวกเราคิดเอาเอง )   เตาที่บ้านนาคูหา จะเพาะเลี้ยงแบบธรรมชาติ โดยอาศัยน้ำจากยอดเขา ที่นี่มีตาน้ำซึ่งจะเป็นน้ำที่สะอาด ใส ไหลผ่านบ่อเตา และปล่อยให้ไหลออกไปสู่น้ำตกด้านล่าง การเพาะเลี้ยงเตาของที่นี่จะเลี้ยงแบบธรรมชาติ ไม่เคยใช้ปุ๋ยเคมีลงไปในบ่อเตา               เตาจะเติบโตได้ดีในแสงแดดอ่อนๆ

วิธีการเก็บเตาอันนี้เลยที่พวกเราตื่นเต้น อยากลงไปเล่นน้ำกัน เพื่อนๆ ต่างก็พากันเตรียมพร้อมเพื่อจะลงไปเก็บเตากัน แต่...ป้าเจ้าของเตาบอกว่า ปกตินะจะไม่ให้คนอื่นลงไปเก็บเตากันเอง เพราะกลัวว่าจะไปเหยียบเตา เตาอาจจะตายได้  แต่เจ้าของบ่อใจดีบอกว่า วันนี้อนุญาตให้พวกเรามาช่วยกันได้ โดยให้ลองเก็บกันคนละนิดหน่อยเอาให้เป็นความรู้ในการทำรายงาน คุณป้าเจ้าของบ่อสาธิตวิธีการจับเตาให้พวกเรา โดยการใช้ไม้ค่อยๆ หมุนๆ พันสาหร่ายให้ติดไม้ได้เยอะๆ แล้วใช้มือรูดเอาเตาออกใส่กะละมังที่เตรียมไว้ พวกเราต้องค่อยๆ เดิน เพราะกลัวน้ำจะขุ่น กลัวเตาของป้าจะตาย แรกๆพวกเราแย่งกันทำ พอได้คนละไม้สองสอง เริ่มหยุด เพราะต้องใจเย็นๆ กว่าจะหมุนเตาพันกับไม้ได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ยิ่งเดินน้ำก็ยิ่งขุ่น มองไม่เห็นเตา เลยต้องให้คุณป้าทำเอง โดยมีพวกเรานั่งให้กำลังใจและเก็บภาพอยู่ข้างๆ บ่อ

ป้าบอกอย่าทำน้ำขุ่น เดี๋ยวจะไม่เห็นเตา แต่พวกเราอยากจับเลยขอลงไปนิดนึงนะคะ

พอเสร็จ ขั้นตอนต่อไปคือ การล้างเตา การล้างเตาที่นี่ไม่ใช้นำประปา คุณป้าใช้น้ำจากลำธารเลย ซึ่งไหลมาจากตาน้ำด้านบน  ใส เย็น สะอาดมาก งานนี้ที่พวกเราถนัด ล้างหลายๆ ครั้ง ล้างจนเตาสะอาด

ก็นำมาบีบน้ำ การบีบน้ำออกจากเตาไม่ได้ใช้มือบีบเหมือนที่พวกเราคิด แต่คุณป้าจะมีเครื่อง     บีบน้ำออกจากเตา ทันสมัย และ รวดเร็วมาก ซึ่งทำมาจากไม้ เอาเตาลงใส่ในกล่อง แล้วกดไม้ลงไป กดแน่ๆ น้ำก็จะไหลออกมาจากเตาจนหมด ก็จะได้เตาเป็นเส้นสีเขียว นุ่มมือ แล้วก็นำมาเตามาห่อในใบตอง เพื่อนรักษาความชื้นในเตาไว้ เตาต้องเก็บไว้ในที่เย็นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เตาตาย เป็นอันเสร็จพิธีในการจับเตา บางคนคงสงสัยว่าเตาเอามาทำอะไรกินได้มั่ง นอกจากเอามาตำ คุณป้าบอกว่าเตายังเอามาทำเป็นข้าวเกรียบเตาได้อีก ซึ่งเป็นสินค้าของหมู่บ้านที่ทำขายสร้างรายได้ให้แต่ละครอบครัวได้อีก เตายังเอามาทำเป็น เตาชุบไข่แล้วเอามาทอด กินกับน้ำพริกได้  ก่อนจะกลับพวกเราได้อุดหนุนข้าวเกรียบเตามากันคนละหลายสิบถุงเพื่อนำมาเป็นของฝากให้เพื่อนๆในห้อง  และได้เตากลับมาทำเตาชุบไข่ทอดอีก

มาบ่อเตาในครั้งนี้ถือว่าเป็นความทรงจำดีๆของพวกเรา เพราะเหลือเวลาอีกไม่กี่เดือนแล้วที่พวกเราจะจบจากสถาบันอันเป็นที่รักแห่งนี้ ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าอีกนานแสนนานเท่าไหร่ที่พวกเราจะกลับมารวมตัวกันได้อย่างนี้อีก  จะได้พบกับรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ เสียงด่า เสียงเพื่อนๆแย่งกันพูด...เพราะอีกไม่กี่เดือนแล้วสิที่พวกเราจะจบชันมัธยมศึกษาปีที่ 6  พวกเราต้องแยกย้ายกันไปไม่รู้ว่าจะได้เรียนที่เดียวกันอีกรึเปล่า ฉันไม่รู้ว่าจะเจอเพื่อนที่ดีอย่างพวกเธอมั้ย  แล้วอีกกี่ปีที่พวกเราจะกลับมารวมตัวกันได้อย่างนี้อีก หรือว่าจะต้องรอตอนแก่แล้วนัดกันมารวมรุ่น... แต่ทีรู้ ณ ตอนนี้คือพวกเราต้องสู้เพื่อเตรียมตัวลงสู่สนามสอบอันยิ่งใหญ่ในครั้งแรกของชีวิต กับการสอบเข้า       ” มหาวิทยาลัย  ” 

5,600 views

3

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่