สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
ในช่วงหน้าร้อน หลายคนในหลายพื้นที่คงไม่อยากออกไปไหน คงต้องการนั่งสบายๆ ในห้องแอร์ หรือเอกเขนกอยู่หน้าพัดลม แต่ชาวบ้าน ชุมชนบูกิต ริมอ่าวมะนาว จ.นราธิวาส นั้น กลับอยากออกจากบ้าน ออกมาเพื่อ ปล่อย “ว่าววงเดือน” ให้ลอยสู่ฟ้า
ชุมชนนี้ไม่กลัวความร้อนของคิมหันตฤดู เพราะได้เปรียบทางด้านภูมิประเทศ เนื่องด้วยบริเวณนี้ มีลมเย็นจากทะเล และแม่น้ำบางนรา พัดประสานกันอย่างสม่ำเสมอ จนไอร้อนไม่อาจกล้ำกรายได้ แถมฟ้ายังโปร่ง ลมยังแรงกว่าฤดูไหนๆ เหมาะอย่างยิ่งกับการปล่อยว่าวให้ลอยลม ฉะนั้นเมื่อบ่ายจัดค่อนเย็น หากใครแวะไปเยือนย่านชุมชนบูกิตเป็นได้เห็นว่าววงเดือน, ว่าวอันเป็นเอกลักษณ์มลายู หรือพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลากสีลอยเด่นอยู่บนท้องฟ้า
ว่าววงเดือน ในภาษามลายู เรียกว่า “วาบูแล” เกี่ยวพันกับเทพธิดา การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ตามตำนานเล่าว่า เมื่อราว 500 ปีที่ผ่านมา มีเจ้าชายบุตรบุญธรรมของกษัตริย์ วงศ์อสัญแดหวา ตกหลุมรักเทพธิดาบนสรวงสวรรค์ ก็อาศัยว่าววงเดือนนี่แหละเป็นพาหนะ ขึ้นไป (ขึ้นมากับองครักษ์ 2 คน) ครั้นถูกจับได้ว่าลอบเข้าหาลูกสาวสวรรค์ เจ้าชายจึงหนี แต่ไม่ทัน ถูกยิงด้วยธนูชิ้นพระชนม์เสียก่อน โดยศพของเจ้าชายก็ได้ 2 องครักษ์ที่มาด้วยนั่นแหละ ช่วยพาขึ้นว่าวกลับสู่โลกมนุษย์ ต่อมา...ขณะทำพิธีศพเจ้าหญิงจากสรวงสวรรค์ได้แปลงกายเป็นหญิงชรานำสมุนไพรมาถวาย โดยใช้ว่าวเป็นพาหนะ ส่งผลให้เจ้าชายฟื้นคืนชีพ ทำให้ทั้งคู่กลับมาครองรักกันได้เหมือนเดิม ฉะนั้นว่าวจึงเป็นสื่อนำพามาซึ่งยารักษาโรคจากสรวงสวรรค์ เกิดเป็นประเพณีรักษาโรคต่างๆ ด้วยการใช้ว่าว อาทิ ศาสตร์แห่งการรักษาโรค ที่ใช้ว่าวมาทาบตัวผู้ป่วย โดยผ่านการแสดงที่ชื่อว่า “มะโย่ง”
มะโย่ง เป็นการแสดง คล้ายมโนราห์ นอกจากเพื่อความบันเทิงแล้ว ยังใช้เป็นพิธีกรรมรักษาโรคด้วย โดยนักแสดงจะนำว่าวไปทาบอกผู้ป่วย แล้วทำทีเป็นปล่อยว่าวขึ้นฟ้า แสดงว่า ได้นำโรคภัยไข้เจ็บเหล่านั้นทิ้งไปแล้ว
เมื่อชาวมลายูหันมานับถือศาสนาอิสลาม ปัจจุบันความนิยมของมะโย่ง จึงลดน้อยลง เนื่องจากก่อนการแสดงมีการไว้ครู การเซ่นไหว้ และมีความเชื่อทางไสยศาสตร์แฝงอยู่ ซึ่งขัดกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม (แต่ก็ยังมีกลุ่มคนอนุกรักษ์อยู่)
แม้ความนิยมมะโย่งจะน้อยลง แต่กับว่าววงเดือนนั้น ไม่เคยเสื่อมถอย เช่นตัวอย่างของชุมชนบูกิต แห่งนี้ ที่ทุกๆ เย็นในหน้าร้อน อันมีลมเย็นจากทะเลช่วยผ่อนคลาย จึงมักแว่วเสียงว่าววงเดือนร้องวี้ๆ อยู่บนฟ้า เสียงหัวเราะของผู้เล่นอยู่เบื้องล่าง ปะปนจนกลายเป็นความสุขแบบเรียบง่าย และเมื่อแว่วเสียงอาซาน ต่างก็ทยอยกันกลับบ้าน เพื่อเตรียมตัวเข้ามัสยิด ปฏิบัติตามวิถีศาสนาต่อไป
*********