สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
“เฮาคนไทย้ายกันไปทุกถิ่นทุกฐาน จงฮักกันเน้อไทดำเฮานั้น” จากบทเพลงที่ร้อยเรียงเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธ์หนึ่งที่เรียกตนเองว่า ไทยทรงดำ มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในเรื่องของภาษา อาหาร ประเพณีวัฒนธรรม เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์สีดำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ลูกหลานเชื้อสายไทยทรงดำมีความภาคภูมิใจในการดำรงความเป็นชาติพันธ์ของตนเอง
“มาชมสาวร่ายรำสุดงามล้ำเหลือยิ่ง ดอนคลังเขามีแม่หญิงที่เพริศพริ้งไทยทรงดำ” เมื่อกล่าวถึงบทเพลงเชิญชวนเที่ยวดอนคลัง แน่นอนว่าเป็นการกล่าวถึงตำบลดอนคลัง ซึ่งตำบลเล็กๆแห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็ยังพบว่า ตำบลดอนคลังมีความเข้มแข็งของการดำรงอยู่ในความเป็นชาติพันธ์ของไทยทรงดำที่มีการสืบทอดอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามมาจนถึงปัจจุบันให้ลูกหลานได้เรียนรู้และสืบทอดต่อไปในอนาคต นอกจากนี้สิ่งที่บ่งบอกว่าหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านของไทยทรงดำ นั่นคือ ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำ ดอนคลัง หรือชาวบ้านจะเรียนว่า “เฮือนลาว” ที่เป็นสัญลักษณ์เตือนใจและเป็นการระลึกถึงอดีตในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยทรงดำในหมู่บ้านดอนคลังแห่งนี้
เรื่องราวของศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำ ดอนคลัง ในที่นี้ผู้เขียนจะขอเรียกศูนย์แห่งนี้ว่า เฮือนลาว ซึ่งถ้าหากจะกล่าวถึงเฮือนลาวแล้วนั้น เป็นสถานที่ที่อยู่คู่กับตำบลดอนคลังมาอย่างช้านาน เป็นสถานที่ที่แสดงถึงความภาคภูมิใจของชาวไทยทรงดำดอนคลัง ทั้งนี้ในการก่อสร้างสร้างเฮือนลาวเป็นความต้องการของชาวบ้านโดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความระลึกถึงในอดีตของการเป็นเด็กที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในลักษณะของบ้านเรือนดังกล่าว เนื่องจากในปัจจุบันเฮือนลาวดังกล่าวได้สูญหายไปหมด เนื่องจากในตำบลไม่ได้มีพื้นที่ติดอยู่กับป่าและภูเขาทำให้ไม่มีทรัพยากรในการนำมาสร้าง จึงได้สร้างบ้านเรือนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ต่อมาได้มีการจัดตั้งเฮือนลาวเป็นศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำ ดอนคลัง ที่เป็นการรวบรวมอุปกรณ์เครื่องใช้ในการจำลองวิถีชีวิตให้ลูกหลานได้ศึกษาและอนุรักษ์สืบทอดต่อไปในอนาคต
เฮือนลาวในปัจจุบันได้กลายเป็นศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำดอนคลัง และเป็นสิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ของตนไทยทรงดำทั่วประเทศไทยที่จะมีการมารวมตัวทำกิจกรรมร่วมกันนั่นคือ การอิ้นกอนฟ้อนแคน ในทุกวันที่ 25 เมษายนของทุกปี โดยจะพบว่ารอบบริเวณตัวของเฮือนลาว ทั้งบนบ้านและ ใต้ถุนจะเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์และมีการร่วมรำแคนกันอย่างสนุกสนานของชาวไทยทรงดำที่ได้กระจายไปอยู่ตามถิ่นฐานต่างๆในประเทศไทย อาทิ จังหวัดเพชรบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ฯลฯ