สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
เมื่อกล่าวถึง “พิพิธภัณฑ์” หลาย ๆ ท่านคงนึกถึงสถานที่ที่มีแต่คุณลุง คุณป้า พานำชมตามจุดต่าง ๆ แต่คุณจะไม่ได้เห็นภาพนั้นที่ “เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์” เนื่องจากที่นี่ คือ พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในโรงเรียน นำชมโดยนักเรียนภายในโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์ พัฒนาจากมุมสื่อการสอนวิชาสัมคมศึกษามาเป็นพิพิธภัณฑ์เมื่อปลายปี พ.ศ. 2522 ซึ่งภายในเบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นห้องนิทรรศการถาวร และห้องนิทรรศการชั่วคราว โดยห้องนิทรรศการถาวรเป็นการรวบรวมวัตถุที่มีประวัติเกี่ยวเนื่องกับโรงเรียน เป็นต้นว่า พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ธงเสือป่า ตู้หนังสือเสือป่า นาฬิกาพระราชทาน วัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ รวมกับวัตถุหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเดิมอยู่ในมุมสื่อการสอนวิชาสังคมศึกษา ทั้งหมดจัดแสดงรวมอยู่ในห้องนิทรรศการถาวร ส่วนห้องนิทรรศการชั่วคราว จะเป็นการนำเอาวัตถุจากห้องนิทรรศการถาวร หรือยืมมาจากสถานที่อื่นที่น่าสนใจเป็นพิเศษหรือสอดคล้องกับหลักสูตรบทเรียนวิชาสังคมศึกษา หรือเรื่องราวที่กำลังเป็นที่น่าสนใจในช่วงเวลานั้น ๆ นำมาจัดแสดงในห้องนิทรรศการชั่วคราว ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปตามความเหมาะสม
เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์ ประกอบไปด้วย ห้องประวัติโรงเรียน ในห้องนี้จะเป็นการเล่าเรื่องราวของโรงเรียนตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ในห้องนี้จะเป็นการนำเอาของเก่าต่าง ๆ ในโรงเรียนเบญจมราชูทิศราชบุรีมาจัดแสดง
ห้องลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ในห้องนี้จะเป็นการเล่าเรื่องราวของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลองที่ถือว่าเป็นแม่น้ำสายสำคัญของราชบุรี โดยเล่าเรื่องผ่านข้าวของเครื่องใช้ของชาวบ้าน เป็นต้นว่า เครื่องใช้ในครัวเรือน อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า เครื่องไม้ สมุดข่อย สมุดไทยเป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ได้เป็นอย่างดี
ห้องทวารวดี ในห้องนี้จะเป็นการเล่าเรื่องราวของสิ่งของต่าง ๆ ในยุคทวารวดี เนื่องจากในอดีต ราชบุรีคือส่วนหนึ่งในอาณาจักรทวารวดี ทำให้ได้มีการค้นพบสิ่งของต่าง ๆ ในยุคนั้น อาทิ ลูกปัด ลูกเต๋าที่ทำจากกระดูกสัตว์ เป็นต้น โดยสิ่งของต่าง ๆ ได้จากการขุดค้น และได้รับบริจาคจากนักเรียน ผู้ปกครอง ของโรงเรียน
ห้องก่อนประวัติศาสตร์ธรรมชาติและมนุษย์ ในห้องนี้จะเป็นการเล่าเรื่องราวถึงพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่ครั้งยังเป็นลิง วิวัฒน์จนมาถึงยุคปัจจุบัน อีกทั้งมีการพูดถึงดิน หิน แร่ธาตุ ฟอสซิล โครงกระดูกสัตว์ต่าง ๆ อีกด้วย
นอกจากนิทรรศการหลักแล้ว ยังมีนิทรรศการชั่วคราวอีกด้วย เช่น ห้องนิทรรศการจิปาถะวัตถุ และบ้านนิทรรศการ ที่จัดแสดงวัตถุร่วมสมัยนานาชาติ
เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์มีการดูแลโดยเจ้าหน้าที่ภัณฑารักษ์ คือนักเรียนชมรมโบราณคดี ของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ซึ่งนั่นถือเป็นเรื่องที่ดีเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้มีการให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในจัดการ ดูแล รักษา สิ่งของต่าง ๆ ที่เปรียบเสมือนรากเหง้าของตนเอง ส่งผลให้พวกเกิดความรักและหวงแหนในบ้านเกิดของตน