สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
"สิม" มีความหมายที่แปลงมาจากคำว่า สีมา สิมมา หรือพัทธสีมา โดยจากข้อมูลการศึกษาจะพบเห็นและปรากฏในคำจารึกบนแผ่นหินต่าง ๆ ที่ประกาศจิตเจตนาที่จะอุทิศของผู้สร้างปักไว้โดยรอบบริเวณสิม หรือด้านหลัง สิมซึ่งนัยยะและการตีความของคำว่า สิม จึงอาจหมายถึง การกำหนดเขตแดนในการประชุมทำสังฆกรรมในกิจของสงฆ์ ซึ่งมีแผ่นสีมาหินอันเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์บ่งชี้ถึงการแสดงขอบเขตรอบบริเวณตัวสิม เป็นต้น
นิยามของ สิม ในภาษาอีสาน หรือในภาษาโดยทั่วไป หมายถึงโบสถ์นั้นเอง ลักษณะโดยทั่วไปของสิมได้มีการจำแนกออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ สิมน้ำ และ สิมบก
โดยสิมน้ำ(อุทกกเขสีมา) ลักษณะการก่อสร้างตัวสิมจะตั้งอยู่ที่กลางน้ำ เช่น สระ บึง หนอง เป็นต้น ส่วนสิมบก ซึ่งนิยมสร้างกันเป็นส่วนใหญ่ จะอยู่บนพื้นดินจึงนิยามเรียกว่าสิมบก
ซึ่งสิมบก ยังสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ คามสีมา คือสิมที่สร้างในหมู่บ้านหรือชุมชน และอัพภันตรสีมา เป็นสิมที่สร้างในพื้นที่ป่า เป็นต้น
แต่บางที่ก็อาจมีสิมน้ำในป่าด้วยเช่นกัน แต่ส่วนมากมีน้อยและไม่นิยมสร้างกัน ปัจจุบันพบเห็นได้น้อยมากเนื่องจากการชำรุดพุพังไปตามกาลเวลา
อันเนื่องมาจากวัสดุที่ใช้ก่อสร้างสิมทำมาจากไม้
สิมวัดบ้านหนองขาม ตั้งอยู่ที่วัดบ้านหนองขาม ตำบลดอนงัว อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ตามประวัติวัดก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2442 ซึ่งลักษณะของสิมวัดบ้านหนองขาม เป็นลักษณะการก่อสร้างแบบสิมบก เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอาคารก่อด้วยอิฐถือปูน มีความกว้าง 15 เมตร ยาว 21 เมตร ตัวอาคารก่อด้วยอิฐถือปูน เป็นแบบสิมทึบ และมีการตกแต่งแบบศิลปะญวน หันหน้าไปทางด้านทิศวันออก มีประตูทางขึ้น 1 บาน เพียงด้านเดียว และมีหน้าต่างหลอกตกแต่งเป็นซุ้มโค้ง ประดับรูปปูนปั้นทหารถือปืนประดับใรกรอบบานหน้าต่าง ตัวผนังอาคารเป็นแบบทึบ มีหน้าต่าง ด้านละจำนวน 4 บาน แต่หน้าต่างหลอก 2 บาน และเป็นหน้าต่างจริง 2 บาน ลักษณะการตกแต่งหน้าต่างเป็นแบบซุ้มโค้งมีปฏิมากรรมพระพุทธณุปปูนปั้นนูนต่ำประดับอยู่บานหน้าต่างหลอกและบันไดทางขึ้นเพียงด้านเดียวเช่นกัน มีรูปสัตว์ปูนปั้น เป็นรูปสิงโตคู่่หมอบอยู่ตรงหน้าประตูทางเข้า ตัวโครงสร้างหลังคาเป็นหลังคาแบบทรงจั่ว และมีหลังคาปีกนกและมีเสารองรับโดยรอบ โดยตัวคารสิมหลังนี้ได้มีการทำการบูรณะและแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2559 โดยกรมศิลปากร ที่ 9 จังหวัดขอนแก่น