คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สวนหินมหาราช

สวนหินมหาราช จากท้องทะเลสู่ผืนป่า 250 ล้านปี (Maharaj Stone Forest)

“เสียงเพรียกแห่งป่าร่ำไร แดนไกลในหุบเขา แลเฝ้าคอยผู้ผ่านมา เพียงแวะหาก็สุขใจ”

คงเป็นคำเรียกร้องจากแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ หรือที่รู้จักกันในนามเวียงโกศัย หนึ่งในดินแดนแห่งทิศอุดร ที่เต็มไปด้วยป่าเขาและลมหายใจแห่งชีวิต จะเนิ่นนานเพียงใด ดินแดนแห่งนี้ก็ยังคงวิถีแห่งความดั่งเดิม เติมเต็มด้วยบริบทที่มาจากดิน จากป่า จากน้ำ และจากสรรพสิ่งโดยรอบ  

สวนหินมหาราช หรือในชื่อภาษาอังกฤษ Maharaj Stone Forest  คืออีกหนึ่งสิ่งที่ธรรมชาติรังสรรค์ ตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยผากลอง อ.ลอง จ.แพร่ รอบล้อมไปด้วยพงไพรสีเขียวบริสุทธิ์ มีกลิ่นดินและกลิ่นป่าโชยผ่านจมูกตลอดเวลา การเดินทางไปสัมผัสนั้น ไม่ได้ยุ่งยาก แสนเรียบร้อยประหนึ่งปลอกกล้วยเข้าปาก จะเดินทางด้วยรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์หรือแม้แต่ปั่นจักรยานมานก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักท่องเที่ยว

ถนนอันเคี้ยวคด คงไม่เท่ากับใจคนที่คดเคี้ยว จากจังหวัดแพร่มุ่งหน้าออกมาจากตัวเมืองผ่านสะพานข้ามแม่น้ำยม อันเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัด แล่นหัวใจและยานพาหนะ ตามเส้นทางแพร่-อำเภอลอง บนถนนหลวงหมายเลข 1023 ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร  โดยจุดเป้าหมายสวนหินมหาราชจะอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 20  

สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนทางซ้ายมือ จะพบป้ายขนาดใหญ่ที่เขียนว่า สวนหินมหาราช ประกอบกับเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยผากลองอีกด้วย โดยการเที่ยวในพื้นที่แห่งธรรมชาติรังสรรค์นั้น จะมีเจ้าหน้าที่คอยสอดส่องและดูแลความปลอดภัยตลอดเวลา

ทั้งนี้สำหรับอุทยานแห่งชาติดอยผากลองนั้น มีพื้นที่ทั้งสิ้น 112,500 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขา และหน้าผาสูงเป็นแหล่งกำเนิดของลำธาร ลำห้วยสำคัญ ซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นแหล่งน้ำล้อเลี้ยงสรรพชีวิต ทั้งต้นไม้ สัตว์และผู้คน ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำยม ทอดยาวสู่การรวมตัวแห่งมวลน้ำเพื่อล้อเลี้ยงชีวิตอีกมากมายต่อไป

 สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณมีพันธุ์ไม้ที่สวยงาม เช่น จันทน์ผา กล้วยผา กล้วยไม้ดิน และสมุนไพร สัตว์ป่าที่พบ เช่น เลียงผา หมี เก้ง ไก่ป่า หมูป่า ชะมด และนกชนิดต่างๆ ถือเป็นเขตพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย

และสำหรับสวนมหาราชนั้น ชั้นหินที่พบในบริเวณดังกล่าวเป็นลักษณะ หินปูน อยู่ในยุคไทรแอสซิก อายุ 250 ล้านปี มีลักษณะเป็นสีเทา ชนิด Biomicrite (Folk 1959) มีลักษณะเนื้อแน่นและแข็ง โดยในชั้นหินตรวจพบ พบทราย แป้ง และหินดินดานแทรกสลับกันไปมาในชั้นหิน โดยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสวนหินมหาราชนั้น เกิดจากหินปูนที่ถูกทำลายโดยธรรมชาติ ผ่านกาลเวลายาวนานกว่า 250 ล้านปีหรือมากกว่านั้น โดยการทำลายตัวเองตามระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1.การสลายตัวเป็นทรายและชั้นดิน และ2.การทำลายตัวเองในลักษณะการผุกร่อนเป็นรอยแตกเป็นชั้นๆ

สวนหินมหาราชจะเป็นสวนหินส่วนที่เหลือจากการถูกทำลายจนมีรูปทรงแปลก คือ  และมีการพบซากบรรพชีวิน พวกหอยเจดีย์ (Gastrpod) ไครนอยด์ (crinoid) แอมโมไนต์ (Ammonite) และหอยกาบคู่ (Bivalves) ซึ่งสัตว์พวกนี้ ตามปกติอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบทะเลระดับตื้น มีการไหลเวียนของน้ำดี มีความรุนแรงของกระแสน้ำน้อย  ในสภาพแวดล้องของการตกทับถมของตะกอนบริเวณไหลทวีป ซึ่งมีอายุราว 250 ล้านปี และพื้นที่ของสวนหินมหาราชในส่วนของซากฟอสซิลหอยที่พบนั้น ใกล้เคียงกันกับ แหล่งซากดึกดำบรรพ์วัดศีรีนาครัตนาราม อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ที่พบซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด ได้แก่ ฟิวซูลินิด  ปะการัง  แอมโมไนต์  แบรคิโอพอด  ไครนอยด์  และสาหร่าย  การค้นพบซากสัตว์ทะเลโบราณหลายชนิดบริเวณนี้แสดงว่าในยุคเพอร์เมียน ตอนกลางราว 270 ล้านปี นั้นเท่ากับว่า ในอดีตกาล ประเทศไทยเคยเป็นทะเลน้ำตื้นมาก่อนนั่นเอง  

ขณะที่รูปแบบหินที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่สนใจของผู้พบเห็นนั้น คือ หินลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ที่เกิดจากหินปูนและหินดินดานอยู่ปนรวมกันสลับเป็นชั้นๆ เป็นระยะเวลานานๆ เมื่อหินปูนมีความบุสลายลง หินปูนและหินที่เหลือจากการถูกทำลายจนมีรูปร่างแปลกตา  

โดยบางก้อนมีคล้ายจระเข้ หรือบางก้อนดูคล้ายช้างมอบ ซึ่งอยู่ที่ว่าใครจะจินตนาการออกไปมากน้อยแค่ไหน และในเรื่องของบรรยากาศโดยรอบ บอกได้ด้วยความรู้สึกว่า ร่มรื่นตลอดทั้งปี อากาศเย็น ยิ่งช่วงหน้าหนาว ยิ่งต้องแวะสัมผัสกับความงดงามของวิศวกรรมสร้างสรรค์แห่งธรรมชาติ

 

3,524 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่