คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เจ๊ะเห

ภาษาถิ่น จังหวัดนราธิวาส ภาษาที่เกิดจากการผสมผสาน

วัฒนธรรมทางด้านภาษา ของจังหวัดนราธิวาส ถือว่า มีความโดดเด่นไม่แพ้ด้านอื่นๆ นอกจากภาษามลายู หรือยาวี ที่พี่น้องไทยมุสลิมใช้โดยทั่วไปแล้ว ยังมี ‘ภาษาเจ๊ะเห’ ซึ่งเป็นภาษาของพี่น้องไทยพุทธอีกด้วย

 

          เมื่อ พ.ศ. 2556 กระทรวงวัฒนธรรม ได้ขึ้นทะเบียนภาษาเจ๊ะเห ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ จึงถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวนราธิวาส ที่ภาษาเจ๊ะเหได้รับการดูแลและมั่นใจว่าจะไม่สูญหาย

 

            ภาษาเจ๊ะเห เชื่อกันว่า เกิดจากการผสมผสานภาษาสุโขทัยโบราณ กับภาษาใต้ และภาษามลายู เข้าด้วยกัน เพราะเมื่อครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี นั้น ได้ส่งขุนนาง และข้าราชบริพารมาปกครอง มาอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส จึงเกิดการผสมผสานทางภาษาขึ้น

 

            และที่เรียกว่า “ภาษาเจ๊ะเห” นั้น เพราะใช้เด่นชัดและมาก ใน ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ นั่นเอง

 

 

 

 

 

          ภาษาเจ๊ะเหมีเสน่ห์ ในสำเนียงที่เนิบ ยาน ไม่ห้วนเหมือนภาษาใต้ พี่น้องชาวใต้ต่างจังหวัดมักแซวภาษาท้องถิ่นด้วยกลุ่มคำนี้ โดยลากเสียงยานๆ ว่า “ก้าย โย้ ใน กอ ม้าย ผ้าย” หมายถึง ไก่อยู่ในกอไม้ไผ่

 

          ด้วยสำเนียงที่เนิบ ยาน คำด่าของภาษาเจ๊ะเห จึงฟังลื่นไปไปโดยปริยาย

 

          เพราะเป็นภาษาที่ผสมผสานจากสุโขทัยโบราณ ภาษาเจ๊ะเห จึงยังคงมีคำราชาศัพท์ปนอยู่ อาทิ

           

          กางร่ม เรียกว่า ‘ทรงกลด’

          กางเกง เรียกว่า ‘สนับเพลา’

 

          เป็นต้น

 

 

 

 

 

          คำอื่นๆ หากพอยกให้เห็นภาพ ก็เช่น... เร แปลว่า เที่ยว /  หวีด แปลว่า ร้องไห้ คึง แปลว่า โกรธ /  ข่ม หรือ เห่ง แปลว่า ทับ /  กิ๋น คาว แล่ว หมี แปลว่า กินข้าวหรือยัง /  ป่าหรือ แปลว่า เมื่อไหร่   เป็นต้น

 

 

 

 

          ท้ายนี้ ขอเตือนว่า หากใครไปเยือนนราธิวาส แล้วคุยกับชาวไทยพุทธที่พูดภาษาเจ๊ะเหแล้ว อย่าชวนไป ดอย เป็นอันขาด เพราะ...

          ...เพราะ ดอย ในภาษาเจ๊ะเห แปลว่า ตาย!

 

          แต่คำว่า ดอย ในภาษากลาง หมายถึง ภูเขา

          ถึงกระนั้น ยังมี ดอย อีกภาษาหนึ่ง ที่แปลออกมาได้ความหมายคล้าย ดอย ในภาษาเจ๊ะเห คือ ภาษาอีสาน

 

          จากอ่านหนังสือ 'ประวัติศาสตร์สนทนา ตำนานแห่ง นครวัด' พิมพ์ครั้งที่ 7 สนพ. แม่คำผาง โดย จิตร ภูมิศักดิ์ มีตอนหนึ่งกล่าวว่า

 

          "เวลาคนตาย เขามักจับศพให้หันศีรษะไปทางทิศตะวันตก ทางอีสานเรียกว่า ดอย เวลาใครเผลอไปนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตกเข้า เขาจะทักทีเดียวว่า 'ทำไมนอนดอย' พวกโบสถ์วิหารของเราก็ดูเหมือนจะต้องหันหน้าไปทางตะวันออกหรือไม่ก็ทิศเหนือทั้งนั้น"

 

*********

21,092 views

2

แบ่งปัน