สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
แช่มเช้าของวันที่ 7 กรกฏาคม 2560 ขณะนั่งทานโรตี กาแฟ กับเพื่อนๆ อยู่ที่ร้านข้างทาง ในตัว อ.ตากใบ จ.นราธิวาส จู่ๆ โทรศัพท์ของหนึ่งในสมาชิก ก็ดังขึ้น เมื่อคุยจบ เขาหันมาบอกเราว่า “เร็ว เขากำลังจะย้ายบ้านกัน” เท่านั้นแหละครับ ทั้งโต๊ะลุกพรึบ! เตรียมกล้อง พร้อม
ย้ายบ้าน หากหลุดมาจากปากคนอื่น หรือสถานที่อื่น เราคงไม่ตื่นเต้นนัก แต่นี่ออกมาจากปากช่างภาพ และย่านชุมชนเก่า ย่อมไม่ใช่การย้ายบ้านธรรมดา ที่ขนของใส่รถ แล้วเข้าไปอยู่ในบ้านหลังใหม่ ทันทีที่เราได้ยินคำว่า ‘ย้ายบ้าน’ สาบานได้ว่า ภาพคนหมู่มากช่วยกันยกบ้านไม้เก่าๆ ทั้งหลัง ไปตั้งยังตำแหน่งใหม่ ผุดขึ้นมาทันที
ใช่ครับ การย้ายบ้านครั้งนี้ คือ การย้ายบ้านแบบดั้งเดิม โดยการช่วยกันยกบ้านทั้งหลัง ไปตั้งยังที่ใหม่ ซึ่งระยะทางไม่ไกลนัก ราว 300 เมตร
สาเหตุที่เราตื่นเต้นกัน นั่นเพราะการบ้ายบ้านแบบนี้ ไม่มีให้เห็นบ่อย บ้านไม้ที่ย้ายครั้งนี้ เจ้าของบอกว่า สร้างมานานแล้ว น่าจะราวๆ 40 ปี ซึ่งตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ทั้งอำเภอ ไม่มีการย้ายบ้าน ยกบ้านลักษณะนี้ให้ชมเลย ที่ไม่มีให้ชม ก็เพราะพอบ้านผุพัง เขาก็รื้อสร้างใหม่ซะเป็นส่วนใหญ่ (จะมีบ้างก็ยกกระท่อมเล็กๆ ซึ่งก็ไม่น่าตื่นเต้นอะไร)
นับว่าหมู่เราโชคดีนัก ที่ได้มีโอกาสบันทึกภาพแห่งความทรงจำ ซึ่งจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ต่อไป เพราะเมื่อโลกพัฒนายิ่งขึ้น ก็คงไม่มีการย้ายบ้านลักษณะนี้ให้ดูอีกแล้ว (รูปแบบการสร้างบ้านย่อมเปลี่ยนไป เพื่อเข้ากับยุคสมัย)
วิธีการย้ายบ้านแบบยกทั้งหลัง ของเช้าวันนี้ เจ้าของบ้านได้ไหว้วานเพื่อนบ้านในลักษณะลงแขก เพื่อยกบ้านมายังตำแหน่งใหม่ เมื่อย้ายเสร็จแล้ว ก็จัดแจงยกอาหารมาเลี้ยง ซึ่งเป็นเมนูพื้นบ้านง่ายๆ แต่อร่อยเหาะ นั่นคือ ‘นาซิดาแฆ’
นาซิดาแฆ เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิม นาซิดาแฆ มีหลายความหมาย 1. คือ ข้าวสำหรับคนอนาถา ที่ได้ชื่อนี้เพราะประกอบด้วยส่วนผสมของข้าวเจ้ากับข้าวเหนียว คนมีรายได้น้อยส่วนมากมีข้าวอย่างละนิดละหน่อยก็นำมาผสมๆ กันนั่นเอง 2. "ดาแฆ" มาจาก "ดาฆัง" ในภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า หาบ แต่ในความหมายของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ของไทย แปลว่า ต่างถิ่น ฉะนั้น นาซิดาแฆ จึงแปลว่า ข้าวจากคนต่างถิ่น ซึ่งก็ตรงดี เพราะเมนูนี้ชาวอินโดนีเซีย เป็นผู้นำมาเผยแพร่
หากอธิบายให้คนต่างถิ่นเข้าใจง่ายๆ และเห็นภาพ ต้องบอกว่า นาซิดาแฆ นอกจากข้าวที่หุงผสมกันระหว่างข้าวเจ้ากับข้าวเหนียวแล้ว ยังประกอบด้วยแกงกะทิรสเผ็ด ซึ่งนิยมใช้ปลาโอ หรือไก่ เป็นวัตถุดับหลัก
ในภาพที่นำมาให้ชม เป็นแกงปลาโอ รสจัดจ้าน ทานคู่กับปลาเค็มทอด แต่ที่เด็ดกว่านั้นคือ ข้าวได้ใส่น้ำพริกกะปิหนักเผ็ด คลุกเคล้าลงไปด้วย ความร่อยนั้นบอกได้ประโยคเดียวว่า แม้ขณะนั่งพิมพ์นี้เมื่อย้อนกลับไปคิดถึงวันนั้นยังน้ำลายสอเสมอ...
*********