สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
เมื่อพูดถึงการแข่งเรือยาว อันดับต้นๆ คงคิดถึงลุ่มแม่น้ำตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไป โดยเฉพาะจังหวัดพิจิตร ซึ่งเอาไปใส่ไว้ในคำขวัญประจำจังหวัดเลยทีเดียว จริงๆ แล้วทาง ภาคใต้ อย่าง จังหวัดนราธิวาส ก็มีประเพณีแข่งเรือยาว เช่นกัน จัดแข่งขันชิงถ้วยประราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ร.๙) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 แน่ะครับ
สิ่งที่น่าสนใจของประเพณีแข่งเรือยาว จังหวัดนราธิวาส คือ การนำเรือ ‘กอและ’ เรือประมงพื้นบ้าน มาดัดแปลงเป็นเรือยาวแข่ง
กอและ เป็นภาษามาลายู แปลว่า โคลงเคลง ล่องลอย คือภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่คิด ที่สร้าง ออกแบบให้เรือหาปลา หัวตัดได้โล้ และทานคลื่นชายฝั่งได้ดี ลำเรือแต้มแต่งด้วยสีสันสวยงาม พร้อมลวดลายที่ผสมผสานวัฒนธรรมไทย จีน มลายู กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่ล้ำค่า
เริ่มก่อนการแข่งเรือ จนกลายเป็นประเพณีแข่งเรือกอและ มาจากกลุ่มชาวประมงพี่น้องมุสลิม ที่งดออกหาปลาในวันเทศกาลฮารีรายอ เป็นประจำทุกปี เทศกาลนี้ก็เหมือนการฉลองวันขึ้นปีใหม่ทั่วไป มีการละเล่น มีมหรสพ และเมื่อเรือกอและถูกจอดทิ้งไว้เฉยๆ พวกเขาจึงนึกสนุก นำมาแข่งกัน วิธีนี้เรียกความสนใจ สนุกครื้นเครงให้ทั้งผู้ชม และผู้แข่งเป็นอย่างมาก จึงจัดทุกปีไม่มีขาด
กาลเปลี่ยน เวลาแปร การแข่งเรือก็หายไประยะหนึ่ง กระทั่ง พ.ศ. 2516 พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ สร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับเป็นประจำทุกปี ข้าราชการ และพ่อค้า ประชาชน จึงจัดให้มีการแข่งขันเรือกอและถวาย ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลแก่ทีมที่ชนะเป็นประจำทุกปีด้วย การแข่งเรือกอและจึงกลับมา
การแข่งขันเรือ จัดขึ้นริมเขื่อนท่าพระยาสาย ซึ่งมีสันเขื่อนยาว ราว 600 เมตร รองรับกองเชียร์ได้มากมาย เขื่อนแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางนรา ตรงข้ามโรงเรียนเทศบาล 1 (ถนนภูผาภักดี) นอกจากมีบรรยากาศสวยงามแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของพลับพลาที่ประทับ อีกด้วย
ระหว่าง พ.ศ. 2516 – 2521 มีเฉพาะการแข่งแบบนำเรือกอและหาปลามาชิงชัยกัน กระทั่ง พ.ศ. 2522 นายชัด รัตนราช ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นได้สนับสนุนให้เพิ่ม เรือยาว เข้ามา ปัญหาในช่วงแรก เนื่องจากเรือยาวในนราธิวาสไม่ค่อยมี จึงเกิดการนำเข้าจากจังหวัดอื่น เช่น ชุมพร สุราษฏร์ธานี และนครศรีธรรมราช นานวันเข้า ในที่สุดเรือกอจึงวิวัฒนาการเป็นแบบนักกีฬา คือ เป็นเรือยาว 23 ฝีพาย เพื่อใช้ในประเพณีแข่งเรือโดยเฉพาะ
ความงามของเรือกอและทั้งแบบนักกีฬา หรือนักหาปลา ก็เหมือนความงามของชาว 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่แม้แตกต่าง ขัดแย้ง แต่ก็ผสมกลมกลืน อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ใช่ว่าจะมีแต่เรือที่สวยงาม บ้านเรือ สถานที่ อากาศ ก็งามไม่แพ้กัน
*********