คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ศาลากลางหลังเก่า

ศิลปะสถานงานศิลป์แห่งยุคโคโลเนียล

“ไปเที่ยวสิงห์บุรีกันไหม?”

“สิงห์บุรีอยู่ส่วนไหนของประเทศไทย?”

            สิงห์บุรีเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทย แต่เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ โดดเด่น และมีอดีตยาวนานหลายยุคสมัย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ไว้ในสาสน์สมเด็จ ว่า

          "...เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย...เมืองสิงห์เรียกชื่อต่าง ๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำ เจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้..." (ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี, 2551, ย่อหน้า 1)

           ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น โปรดให้นำเมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี เข้ามาอยู่ในมณฑลกรุงเก่า ต่อมาปี พ.ศ.2439 โปรดให้ยุบสามเมืองนี้เข้ารวมกันแล้วจัดตั้งเป็นเมืองใหม่ขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศตะวันตก ที่ตำบล บางพุทรา พร้อมพระราชทานนามใหม่ว่า “เมืองสิงห์บุรี”  หลังจากนั้น จึงเริ่มมีการก่อสร้างอาคารสถานที่ราชการสำคัญ ๆ ขึ้นหลายแห่ง หนึ่งในนั้นก็คือ “ศาลากลางหลังเก่า และศาลจังหวัด”

            ศาลจังหวัด ตั้งอยู่บนถนนวิไลจิตต์ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นเมื่อ ร.ศ. 129 หรือ พ.ศ. 2453 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อศาลจังหวัดสร้างแล้วเสร็จ ปีถัดมา ร.ศ. 130 หรือพ.ศ. 2454 จึงเริ่มก่อสร้างตึกศาลากลางหลังเก่าขึ้น ซึ่งตึกทั้งสองหลังนี้เป็นสถาปัตยกรรมศิลปะแบบโคโลเนียลหรือยุคล่าอาณานิคมของประเทศแถบตะวันตก มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว ทรงยุโรป

           จุดเด่นของตึกทั้งสองหลังคือบริเวณกึ่งกลางของอาคาร ซึ่งทำเป็นมุขยื่นนออกมา ด้านบนของมุขเป็นหน้าบัน ขนาดใหญ่สะดุดตาผู้พบเห็น โดยทั่วไปมักจะประดับ ด้วยปูนปั้นลายลูกไม้อย่างตะวันตก แต่หน้าบันของตึกเก่าหลังนี้ประดับตราอาร์ม ซึ่งเป็นตราประจำ แผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณด้านหน้านอกตัวอาคาร มีอนุสาวรีย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  ขนาดเท่าพระองค์จริง  ทรงยืนฉลองพระองค์ครุยเนติบัณฑิตไทย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือตำรา กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2533

            ปัจจุบันศาลากลางหลังเก่า และศาลจังหวัด เป็นสถานที่จัดงาน “ถนนคนเดิน ร.ศ.130 สิงห์บุรี” ซึ่งจัดเป็นถนนคนเดินแห่งแรกของจังหวัดสิงห์บุรี จัดขึ้นเป็นประจำในวันศุกร์แรกของ   ทุกเดือน บรรยากาศเป็นงานย้อนยุคแบบไทย ๆ ของคนสิงห์บุรี เพื่ออนุรักษ์ประเพณีไทย โดยการเชิญชวนให้พ่อค้าแม่ค้า และผู้มาเยี่ยมชมให้แต่งชุดไทย เน้นอาหาร ภาชนะที่ใช้แบบย้อนยุค    ซึ่งกิจกรรมมีการรับประทานอาหารพื้นบ้านตำหรับแม่ครัวหัวป่าก์ อาหารขึ้นชื่อของ จ.สิงห์บุรี พร้อมชมการแสดงรำกลองยาว การแสดงการสู้รบของวีรชนชาวบ้านบางระจันที่ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาพื้นแผ่นดินให้ลูกหลานได้อยู่อาศัยจนถึงทุกวันนี้

            ...ลองมาชมบรรยากาศเหล่านี้ด้วยตาของคุณสักครั้ง แล้วคุณจะ... “หลงรักสิงห์บุรี”        

 

เอกสารอ้างอิง

จังหวัดสิงห์บุรี. (2551). สืบค้น สิงหาคม 20, 2560, จาก http://www.singburi.go.th

สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี. (2554). เมืองสิงห์. สิงห์บุรี: หลอแอนด์เล้งพับลิชชิ่ง

Info. (2557). เมืองสิงห์บุรี. สืบค้น สิงหาคม 20, 2560, จาก http://travelchoicetv.ran4u.com/f_22957_45790_35216_%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5.htm

5,262 views

0

แบ่งปัน