คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วิถีแพร่ วิถีช่อแฮ

ไหว้สาสักการะพระธาตุช่อแฮ แอ่วเมืองแพร่แห่ตุงหลวง

“วิถีแพร่ วิถีช่อแฮ”

 

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้นมีมากมาย มีทั้งสวย เด่น มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของแต่ละที่ไป แต่มีสถานที่หนึ่งที่อยากแนะนำในส่วนของทางภาคเหนือ คือ วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้าน คู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล เป็นวัดที่ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ 28 เมตร องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ ศิลปะเชียงแสน แบบแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก องค์พระธาตุสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร ลักษณะองค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉน ส่วนยอดฉัตรประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนแบบล้านนามี รั้วเหล็ก รอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มแบบปราสาทล้านนาไว้อย่างสวยงาม ในทุกปีจะมีประเพณีการไหว้พระธาตุช่อแฮเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน วันแรกของงาน จะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 6เหนือ เดือน 4 ใต้ของทุกปี ซึ่งถือว่าการจัดงานไหว้พระธาตุช่อแฮ ยึดถือตามจันทรคติ เป็นหลัก “ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง” ในการจัดงานมีขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ประกอบ ไปด้วยริ้วขบวนของทุกอำเภอ การฟ้อนรำ ขบวนช้างเจ้าหลวง ขบวนแห่เครื่องสักการะเพื่อบูชาองค์พระธาตุอย่างยิ่งใหญ่และเครื่องบรรณาการ ขบวนแห่กังสดาลขบวนแห่หมากเป็ง ขบวนต้นผึ้ง ขบวนแห่ผ้าห่ม องค์พระธาตุ 12 ราศี ซึ่งประกอบด้วยขบวนตุง 12 ราศรี ขบวนข้าวตอกดอกไม้ ต้นหมาก ต้นผึ้ง ต้นดอก ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศรี ขบวนกังสดาล ขบวนตุงขบวนฟ้อนรำมีการเทศน์และมีการเทศน์และฟังเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก ทั้งกลางวันและ กลางคืน สำหรับกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดงาน ในระหว่างงาน จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การทำบุญ การปฏิบัติธรรมบวชศีลจาริณี การแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ การจำหน่ายสินค้าโอทอป ฯลฯ และสนับสนุนให้มีการจัดกาดหมั้วครัวแลง “วิถีแพร่-วิถีช่อแฮ” เพื่อให้นักท่องเที่ยวสัมผัสวิถีคนแพร่ด้วยการนุ่งซิ่นกิ๋นข้าวแลง และส่งเสริมให้เป็นตลาดย้อนยุคที่อนุรักษ์ทั้งวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลาสติกและโฟมด้วยการถือถุงผ้าหิ้วตะกร้าสานอีกด้วย


 

พระธาตุช่อแฮ หมายถึง เจดีย์บรรจุพระบรม สารีริกธาตุพระศอกซ้ายและพระเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและประดับบูชาด้วยผ้าแพรอย่างดี พระธาตุช่อแฮ (ธงสามเหลี่ยมทำด้วยผ้าแพร) มีตำนานเล่าว่า ครั้งพระพุทธองค์เสด็จมาที่เมืองแพร่ และประทับ ณ ดอยโกสิยธชัคคะบรรพต ขณะนั้นมีเจ้าลาวชื่อว่า ขุนลวะอ้ายค้อม (อ่านว่า ก๊อม) มากราบไหว้พระพุทธองค์บนดอยดังกล่าว พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้ขุนลวะอ้ายค้อมได้ประจักษ์ เนื่องจากสถานที่นั้นเป็นที่ร่มรื่น เหมาะสมจะเป็นที่ที่พระพุทธองค์ประทานพระธาตุเป็นอนุสรณ์ โดยนำเอาเส้นพระเกศาไปไว้ในถ้ำที่อยู่บริเวณนั้น พระพุทธองค์ทรงรับสั่งอีกว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วให้นำพระธาตุและพระศอกซ้ายมาบรรจุไว้ด้วย และต่อไปภายหน้าจะได้ชื่อว่า “เมืองแพร่” โดยเป็นเมืองใหญ่ซึ่งพระองค์เคยมาประทับนั่ง ณ ใต้ต้นหมากนั้น เมื่อทรงทำนายแล้วก็เสด็จไปยังเมืองต่างๆ จากนั้นจึงเสด็จกลับจากพระเชตวันอาราม พระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย ได้บันทึกเกี่ยวกับพระธาตุช่อแฮไว้ว่า พระธาตุดังกล่าวนี้สร้างขึ้นสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) เมื่อครั้งพระมหาธรรมราชายังเป็นพระมหาอุปราช พระราชบิดาโปรดฯ พระราชทานให้ครองเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา โปรดฯ ให้สร้างสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยเลือกบริเวณดอยโกสิยธชัคคะเพื่อสร้างเจดีย์ 1 องค์ และตั้งชื่อตามความหมายของยอดดอยดังกล่าวว่า “พระธาตุช่อแฮ” การที่เราได้รับรู้ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ตำนานของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของเรา ทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เกิดในมาตุภูมิแห่งนี้ ทำให้เราสำนึก หวงแหน อนุรักษ์ไปสู่รุ่นต่อไป

6,041 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่