สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
นกเงือก สัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ สัญลักษณ์แห่งความรัก
ตัวแทนของ อ.แว้ง จ.นราธิวาส
ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส...
หากมองข้ามควันระเบิด คุณจะเห็นความงามของละอองหมอกยามเช้า
หากฟังข้ามเสียงปืนไฟ คุณจะได้ยินนกเงือกร้องอย่างน่าตื่นใจ
นั่นเพราะ จังหวัดนราธิวาส เป็นที่ตั้งของผืนป่าดงดิบชื้น หรือป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) ชื่อว่า ‘ฮาลา-บาลา’
จริงแล้ว ‘ฮาลา-บาลา’ เป็นผืนป่าที่ไม่ต่อเนื่องกัน คือ “ฮาลา” และ “บาลา” แต่ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเดียวกัน
พื้นที่ของ ป่าฮาลา นั้น อยู่ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ส่วน ป่าบาลา นั้น มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จึงนิยมเรียกป่าผืนนี้ว่า ‘บาลา-ฮาลา’ ส่วนคนในพื้นที่จังหวัดยะลา มักเรียกว่า ‘ฮาลา-บาลา’
คำว่าบาลา-ฮาลา เป็นภาษา มาลายู แปลว่า กลุ่มคนทหาร หรือหน่วยอื่นๆ ‘ฮาลา’ แปลว่า ทิศทางมุ่งไปสู่ เช่น ทิศทางน้ำ ทิศทางดิน ทิศทางลม เมื่อรวมคำทั้งสองเป็น ‘บาลา-ฮาลา’ แปลว่า ทิศทางของการอพยพของกลุ่มคน นั่นเอง
ความโดดเด่นของ ‘ฮาลา-บาลา’ ทั้งฝั่งยะลา และนราธิวาส นั้น คือความอุดมสมบูรณ์ แต่ด้วยข้าพเจ้าเป็นชาว อ.แว้ง จ.นราธิวาส จึงขอยกมากล่าวเฉพาะ ส่วน บาลา
นอกจากความสมบูรณ์ของผืนป่าแล้ว ‘บาลา-ฮาลา’ ถือว่าเป็นจุดชมนกเงือกที่ยอดเยี่ยม เพราะนกเงือก จำนวน ๑๓ ชนิดที่พบในไทย (ทั่วโลกมีนกเงือก ๕๕ ชนิด) สามารถพบเห็นที่ ‘บาลา-ฮาลา’ ถึง ๑๐ ชนิด แถมการชมนกเงือกในผืนป่าแห่งนี้ ไม่ต้องบุกป่าฝ่าดงแต่อย่างใด เพียงขับรถจอดแอบๆ ข้างทางลาดยาง แล้วนั่งเงียบๆ ก็สามารถบันทึกภาพนกเงือกได้แล้ว
นอกจากนี้ยังมีที่พักรับรองสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างจังหวัดอีกด้วย การพักที่เรือนรับรอง ตื่นเช้ามา เป็นได้ทักทายเพื่อนบ้านเรือเคียง อย่างค่างแว่น เสมอ
ด้วยความที่มีนกเงือกอาศัยอยู่มาก มันจึงถูกยกให้เป็นสัตว์สัญลักษณ์ของ อ.แว้ง จ.นราธิวาส
นกเงือก ในภาษาถิ่น (เจ๊ะเห) ของนราธิวาส เรียกว่า "นกทูนหิน" เพราะ “ทูน” หมายถึง การวางไว้บนหัว ฉะนั้นนกชนิดนี้ จึงสื่อว่า "ไอ้นกที่มันเอาหินไว้บนหัวน่ะ"
ส่วนภาษามลายู เรียกว่า "บูรง ออรัง"
‘บูรง’ แปลว่า ‘นก’
‘ออรัง’ แปลว่า ‘คน’
ที่เรียกว่านกคน เพราะเสียงร้องตอนใกล้จบท่อนของมัน คล้ายเสียงหัวเราะของคนนั่นเอง
ทุกวันนี้ ด้วยนกเงือกตามธรรมชาติหาดูได้ยากขึ้น และคนไทยมีการนำเข้านกต่างชาติ อย่าง "ทูแคน (Toucan)" มาเลี้ยงมากขึ้น เจ้านกทูแคน เป็นนกใหญ่เหมือนนกเงือก ซ้ำสีสันก็คล้ายกัน มองเผินๆ อาจเข้าใจผิดได้ (ซึ่งบางหน่วยงานในพื้นที่ก็เข้าใจผิด หยิบนกทูแคนมาใช้แทนนกเงือกอยู่บ่อย) หากผู้อ่านเกิดข้อสงสัยประมาณนี้ ขอให้นึกเสมอว่า นกเงือก มันจะทูนหิน ไว้บนหัว คือ หากไม่มีโหนกบนหัว ก็ไม่ใช่นกเงือกนั่นเอง
และหากท่านใด อยากเห็นนกเงือกในธรรมชาติอย่างใกล้ชิด อยากนั่งดูมันกินลูกไทร อยากได้ฟังเสียงร้องที่คล้ายคนของมัน เชิญได้ ที่ อ.แว้ง จ.นราธิวาส...ที่นี่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
*********