คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เกลือในอำเภอบรบือ

พ.ศ.2512-2532

ในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ช่วงเวลา พ.ศ.2512-2532 ชุมชนอำเภอบรบือได้มีความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของอำเภอจนทำให้จังหวัดมหาสารคามมีรายได้จากปัจจัยทางเศรษฐกิจดังกล่าวในช่วงเวลานั้น คือ เกลือ   โดยแหล่งวัตถุดิบนั้นคือ บริเวณหนองบ่อ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขตเทศบาลตำบลบรบือ ในช่วงเวลานั้น

การขยายตัวของชุมชนในบรบือได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากระบบการค้าในอำเภออย่างเห็นได้ชัดเจนกล่าวคือ ปัจจัยของบทบาทของเกลือทำให้กลุ่มคนจีนและผู้คนในท้องถิ่นได้มีการทำอุตสาหกรรมเกลือในอำเภอบรบือ กล่าวคือ โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณหนองบ่อ โดยเริ่มทำในปี พ.ศ. 2512 โดยคุณยายทองเหลี่ยม เล่าว่า

          “มะก่อนหนองบ่อยังไม่รู้ว่ามีเกลือ มีคนจีนชื่อ เจ๊กยี๋ตี่ แกตักน้ำขึ้นมาล้างรถมันเป็นสนิม แกเลยชิมน้ำพอรู้ว่ามันเค็ม หนองนี้มีเกลือแกเลยต้มเกลือขายก่อนคนอื่น"1

บทบาทสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยมี เกลือ วัตถุดิบ ในการเปลี่ยนแปลงการค้ารวมทั้งการประกอบอาชีพของผู้คนในชุมชนรวมทั้งผู้ประกอบการ พ่อค้านักลงทุนในบรบือ กล่าวได้ว่า กลุ่มคนที่ทำให้เกิดการค้าขายเกลือ กลุ่มแรกคือ กลุ่มตระกูล ตั้งล่งกี้ ซึ่งแต่ก่อนนี้เป็นกลุ่มคนจีนทำกิจการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร และได้ทำกิจการโรงไม้ชื่อว่า วิสิทธิ์ก่อสร้าง2โดยการมีโรงเก็บไม้อยู่รอบๆ โดยจะใช้ไม้อาศัยเศษไม้จากโรงงานนั้นนำมาต้มเกลือ จึงทำให้เกิดการขยายตัวของกลุ่มคนจีนบริเวณย่านการค้าจากแต่เดิมที่มีการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร นำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการการทำเกลือ หลังจากนั้นเริ่มมีผู้ประกอบการที่ทำกิจการต้มเกลือขายมากขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าคนจีนในตลาด3

การผลิตเกลือใช้ช่วงแรก ปี พ.ศ.2512 เป็นวิธีการผลิตเกลือเพื่อการแลกเปลี่ยนเป็นสำคัญของชุมชน โดยใช้ดินหนองบ่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ กล่าวคือ เป็นเกลือที่แทรกอยู่ในผิวใต้ดิน แต่ต้องมีการต้มพื่อให้มันละลาย โดยกระบวนการของชาวบ้านแรงงานในชุมชนจะเป็นในลักษณะการต้มเกลือ ตากเกลือ ออกไปทางโนนหนองบ่อ บวกกับไปรับจ้างซ้อนเกลือ ลานซีเมนต์และกะตากแดดไว้ และนำมาชูบขึ้นมาต้มในกระทะใหญ่4

 

ต่อมาในปี พ.ศ.2514 การต้มเกลือ โดยจะเป็นการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาต้มโดยอาศัยเครื่องสูบน้ำ บทบาทในการขยายตัวของการทำเกลือโดยการสูบน้ำจากบาดาลกลุ่มตระกูล ตั้งล่งกี้ ทำให้เกิดการขยายตัวของผู้ประกอบการขึ้นมาจับจองที่ดินบริเวณหนองบ่อ ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้า ข้าราชการ โดยได้ลงทุนซื้อที่ดินขุดเจาะน้ำบาดาล ส่วนกลุ่มชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่เริ่มมีการเป็นแรงงานรับจ้างให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น แรงงานต้มเกลือ เฝ้าฉ่าง เกลือ รับจ้างตักเกลือขนเกลือเข้าฉาก และบรรจุเกลือเพื่อรอขาย5ส่วนผู้ประกอบการจะนำเงินจากการใช้แรงงานมาสร้างโรงเรือนสำหรับการต้มเกลือทำให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกลือบริเวณริมถนนฝั่งถนนหนองบ่อฝั่งทิศตะวันออกของอำเภอโดยคุณยายอัฎดาเล่าว่า

“บรบือเริ่มมีรายรับจากการผลิตเกลือสินเธาว์ บริเวณริมหนองบ่อ จะเป็นดงเกลือคนสมัยนั้นสูบน้ำมาตาก ทำให้เศรษฐกิจเศรษฐกิจดีมาก เป็นสินค้าส่งออก”6

          ด้านการตลาดโดยอุตสาหกรรมเกลือในบรบือจะมีตลาดจะมีตลาดอยู่ภาคกลาง ภาคเหนือและในภาคอีสาน รูปแบบการขายเกลือนี้จะเป็นการบรรจุเกลือลงถุงโดยถุงหนึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และส่งออกนำขายตามร้านค้าในตัวเมืองและตามหมู่บ้าน สมัยนั้นราคาเกลือขายส่งกิโลกรัมละ 50 สตางค์ แต่ต่อมาจากการผลิตของเกลือนำไปสู่โรงงานอุตสาหกรรม ในช่วงปี 2520-25227 กล่าวคือ การทำเกลือเน้นการผลิตเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรมนำไปใช้ในกิจการเกลือ สบู่ ผงซักฟอก สิ่งทอ

 

ระบบสาธารณูปโภคที่เข้ามาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2505 การมีไฟฟ้าเข้ามาในอำเภอบรบือ เครื่องสูบน้ำจึงเป็นนวัตกรรมที่สนองความต้องการทางการขยายตัวทางของอุตสาหกรรมเกลือในชุมชนโดยมีกลุ่มผู้ประกอบการและทำให้เห็นวิถีชีวิตของการประกอบอาชีพของคนในชุมชน จากแต่เดิมมีการทำนา เก็บพืชผลทางการเกษตร ทำให้เกิดแรงงานอุตสาหกรรมเกลือจากผู้ประกอบการ ชุมชนจึงมีตัวเลือกในการทำมาหาหินโดยยึดเป็นแรงงานของโรงงานเป็นอาชีพรอง ทำให้ชุมชนและผู้ประกอบการต่างสร้างรายได้ในแก่ครัวเรือนมากขึ้นเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบรบือที่คนบรบือมีฐานะที่ร่ำรวย และพอมีเงินที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของชุมชน อาทิการตั้งถิ่นฐานย้ายที่อยู่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นชุมชนบ้านซำแฮด บ้านค้อ บ้านหนองสิม และชุมชนต่างถิ่นที่เข้ามาโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการที่จะเข้ามาทำอุตสาหกรรมเกลือ

การขยายตัวของอุตสาหกรรมเกลือ เกิดการหยุดทำในปี พ.ศ.2532 ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างของชุมชนอำเภอบรบือ สาเหตุแรก มีผลทำให้ตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่เขตชุมชน สาเหตุที่สอง การแข่งขันกันของผู้ประกอบการในชุมชนทำให้มีการสภาวะราคาเกลือขึ้นลงไม่แน่นอน สาเหตุที่สาม ปัญหาการสูบน้ำหนองบ่อทำให้น้ำใต้ดินลดลง สาเหตุที่สี่ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนกลุ่มเกษตรกรในวงกว้าง กล่าวคือ ไม่สามารถทำนาได้เพราะน้ำที่ไหลลงมาตามทุ่งนาในชุมชนลำน้ำเสียวในบรบือทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำนา ปลูกข้าวของเกษตรกร เพราะน้ำบริเวณหนองบ่อมีดินที่เค็มจากการสูบน้ำเพื่อนำมาต้มเกลือ8การขยายตัวของอุตสาหกรรมเกลือบริเวณหนองบ่อจึงมีการหยุดตัวลงจากการออกคำสั่งของรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ ทำให้โรงเรือนเกลือของผู้ประกอบการปล่อยทิ้งร้างผู้ประกอบการจึงหยุดชะงักการทำอุตสาหกรรมเกลือ ชาวบ้านแรงงานกลับไปทำอาชีพเกษตรกรรมเช่นเดิม

 

 

 

เชิงอรรถ


[1] นางทองเหลี่ยม เวียงแก้ว ผู้ให้สัมภาษณ์ นายบรรณษรณ์ คุณะ  เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 488 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอ เมือง จังหวัดมหาสารคาม

[2] นางสาวยุวดี ตปนียากร ผู้ให้สัมภาษณ์ นายบรรณษรณ์  คุณะ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

[3] วัฒนสาร ปานเพชร.การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในช่วงที่มีการทำนาเกลือ ปี 2514-ปัจจุบัน : ศึกษากรณีหมู่บ้านเกลือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หน้า 55

[4] นางถนอม นาชัยสิทธุ์ อายุ 94 ปี ผู้ให้สัมภาษณ์ นายบรรณษรณ์  คุณะ เป็นผู้สัมภาษณ์.บ้านเลขที่ 668 หมู่ที่ 1 ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

[5] วัฒนสาร ปานเพชร.การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในช่วงที่มีการทำนาเกลือ ปี 2514-ปัจจุบัน : ศึกษากรณีหมู่บ้านเกลือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม  ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หน้า 57

[6] อัษฎา วนาทรัพย์ดำรง ผู้ให้สัมภาษณ์ นายบรรณษรณ์  คุณะ  ผู้สัมภาษณ์ ณ 647 หมู่1 ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม วันที่ 7 เมษายน 2560

[7] วัฒนสาร ปานเพชร.การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในช่วงที่มีการทำนาเกลือ ปี 2514-ปัจจุบัน : ศึกษากรณีหมู่บ้านเกลืออำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม  ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หน้า 63

[8] อ้างแล้ว

 

8,288 views

6

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดมหาสารคาม