คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดหลวงราชสัณฐาน

ภาพจิตรกรรมบนแผ่นไม้

            วัดหลวงราชสัณฐาน เป็นวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองพะเยามาช้านาน เดิมเคยเป็นวัดร้าง ต่อมาเจ้าหลวงวงศ์ผู้ครองเมืองพะเยาได้บูรณปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดหลวง ต่อมาได้ชื่อว่า “วัดหลวงราชสัณฐาน” ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘

            วัดหลวงราชสัณฐานเป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองล้านนาที่สวยงามมีอายุกว่าร้อยปี  วิหารเดิมของวัดสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๑๗๑๗  ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เกิดพายุฝนทำให้วิหารพังทลายลงมาทั้งหมดรวมทั้งภาพจิตรกรรมบนแผ่นไม้ด้วย ต่อมามีการสร้างวิหารหลังใหม่ โดยสร้างวิหารบนฐานเดิมและคงรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเดิมไว้ แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบ้างในบางส่วน และได้นำภาพจิตรกรรมของเดิมที่ยังเหลืออยู่มาไว้ในวิหารหลังใหม่ ภาพจิตรกรรมแผ่นไม้เป็นภาพเขียนสมัยโบราณอายุกว่าร้อยปี เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวยางไม้ เขียนลงบนกระดาษสา และแปะอยู่บนแผ่นไม้ แต่เดิมเป็นฝาผนังและหน้าต่างของวิหาร เรื่องราวที่เขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติและมหาชาติชาดก ภาพเขียนสีค่อนข้างเลือนลาง ดูไม่ชัดเจนเท่าไร ทางวัดได้เก็บเป็นมรดกและเผยแพร่ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และศึกษา

             มีโบราณสถานที่สำคัญภายในวัดคือ องค์พระเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงพื้นเมืองล้านนา ประกอบด้วยฐานเขียงสี่เหลี่ยมสามชั้น ต่อด้วยบัวหงาย มีเรือนธาตุถัดขึ้นไป เป็นบัวคว่ำบัวหงาย ต่อด้วยฐานเขียงรูปทรงกลมสามชั้น ต่อด้วยมาลัยเถา รูปทรงกลม ถัดขึ้นเป็นคอระฆังกลม องค์ระฆังรูป ๘ เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ๘ เหลี่ยม ปล้องไฉนเป็นปูนปั้นรูปกลีบบัว ๒ ชั้นและปลียอด และมีการค้นพบสถูปเจดีย์หินทราย 1 องค์ มีลักษณะรูปทรงคล้ายเจดีย์แบบสุโขทัย อยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร มีเพียงหนึ่งเดียวในพะเยา

5,345 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา