คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์ (ภาพกระซิบรักบันลือโลก)

วัดภูมินทร์ (Wat Phumin) จังหวัดน่าน เดิมชื่อว่าวัด “พรหมมินทร์” สร้างใน พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่าน มีความโดดเด่นกว่าวัดอื่นๆ ตรงที่เป็นวัดทรงจตุรมุขที่เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ประธานในอาคารเดียวกัน ซึ่งกรมศิลปากรสันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถทรงจตุรมุขแห่งแรกในประเทศไทย

สำหรับอุโบสถทรงจตุรมุขนี้ จะเห็นนาค 2 ตัวเอาหลังหนุนบันไดไว้ตามความเชื่อเกี่ยวกับนาคในพระพุทธศาสนาว่า “เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระองค์ได้เสด็จผ่านบันไดแก้วที่เทวดาเนรมิตขึ้นและมีพญานาค 2 ตัวหนุนหลังเอาไว้” โครงสร้างของหลังคาถูกค้ำด้วยเสาไม้สัก 12 ต้น ลงรักปิดทองเคลือบเงาเป็นรูปดอกไม้และช้าง ใจกลางพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย 4 องค์ ประทับนั่งบนฐานชุกชี ปางมารวิชัย ซึ่งพระกรรณ(หู) และพระนาสิก (จมูก) ของพระพุทธรูปได้รับอิทธิพลจากศิลปะลาว หันพระพักตร์ออกไปสู่ประตูทั้งสี่ทิศ หันเบื้องพระปฤษฏางค์(หลัง) ของแต่ละองค์เข้าหากันที่ตรงกลางของพระอุโบสถ

อีกจุดหนึ่งที่น่าใจและควรชี้ชวนกันไปชมคือ จิตรกรรมฝาผนังหรือ “ฮูบแต้ม” ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่ พุทธชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ตลอดผนังทั้ง 4 ด้าน วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ. 2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปี ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพของ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิงแต่งกายไทลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของหนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก และได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์ มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ๆ คล้ายภาพสมัยใหม่

วัดภูมินทร์ได้รับเกียรติให้ตีพิมพ์ลงในธนบัตรที่ใช้ในประเทศ สมัยรัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2485) โดยการออกแบบของพระอุโบสถ และพระวิหาร รวมอยู่ในอาคารเดียวกันเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามและแปลกตาควรคู่กับจังหวัดน่าน

 

ข้อมูลจาก : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร    

ข้อมูลติดต่อ :  โทรศัพท์ 0 2408 7671  www.archae.su.ac.th/

 

20,392 views

0

แบ่งปัน