คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แข่งเรือเมืองน่าน

ประเพณีแข่งเรือ เมืองน่าน เป็นประเพณีเก่าแก่สืบเนื่องมาแต่โบราณ แต่ก่อนได้กำหนดว่าให้มีการจัดการแข่งขันขึ้นทุกครั้งที่มีงาน "ตานก๋วยสลาก" (ถวายทานสลากภัต) หมู่บ้านใด วัดใด จัดให้มีงานตานก๋วยสลาก ก็ให้มีการเชื้อเชิญหมู่บ้านและวัดใกล้เคียงให้นำเรือมาแข่งขันกัน เพื่อความสนุกสนานสมานสามัคคี งานตานก๋วยสลากกับการแข่งเรือ จึงเป็นประเพณีคู่กันมาแต่โบราณ ต่อมาทางราชการจึงถือเอางานตานก๋วยสลาก ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดหลวงกลางเวียงของน่าน เป็นการเปิดสนามการแข่งเรือของจังหวัดน่านราว ซึ่งงานจะจัดช่วงปลายเดือนกันยายนองแต่ละปี และงานตานก๋วยสลากจะไปสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือประมาณปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน จะเป็นการแข่งขันนัดปิดสนาม

 

เอกลักษณ์ของประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน  คือ เรือแข่ง จะเป็นเรือที่ขุดจากไม้ตะเคียนหรือตะเคียนทองทั้งต้น ด้วยเชื่อกันว่ามีความทนทานและผีนางไม้แรง โดยเฉพาะเอกลักษณ์ตรง หัวเรือ หรือ โขนเรือแกะสลักเป็นหัวพญานาคแบบล้านนา กำลังแสยะเขี้ยวแสดงอำนาจ ส่วนท้ายเรือสลักเป็นหางของพญานาค มีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง เป็นความเชื่อกันว่า "พญานาค" มีความศักดิ์สิทธิ์ จะดลบันดาลให้ฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์ สามารถทำไร่ ทำนาได้ตามฤดูกาล

 

ประเพณีการแข่งเรือ ได้สอดแทรกกุศโลบายในการสร้างความสามัคคีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของคนเมืองน่านหลายอย่าง เช่น การบูชาเทพอารักษ์ที่สิงสถิตอยู่ในไม้ตะเคียนที่นำมาทำเรือ เรียกว่า "ผีเรือ” หรือที่ภาคกลางเรียกว่า "แม่ย่านางเรือ” ซึ่งเป็นความเชื่อและถือปฏิบัติกันมานาน โดยการนำเรือลงสู่แม่น้ำในเวลาแข่งเรือต้องหาฤกษ์ หาวันและเวลา หรือแม้แต่หลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลแข่งเรือแล้วจะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญและเลี้ยงผีเรือ เพื่อเป็นสิริมงคลอีกด้วย

 

ข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม http://www.m-culture.go.th/

 

19,272 views

0

แบ่งปัน