คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

นางนอง นองน้ำตา

บางนางนอง ในเส้นทางคลองด่าน คลองประวัติศาสตร์

 

ก็มืดค่ำอำลาทิพาวาส

เลยลีลาศล่วงทางกลางวิถี

ถึงวัดบางนางนองแม้นน้องมี

มาถึงที่ก็จะต้องนองน้ำตา

 

อาการนองน้ำตาข้างต้นไม่ใช่ของใครที่ไหน แต่มาจากท่านมหากวีสุนทรภู่ นักเดินทางที่ฝากนิราศหวานซึ้งถึงหญิงสาวที่รัก (หรือไม่รักก็ไม่ยักรู้ได้) โดยมักจะผูกโยงกับสถานที่ต่างๆ  หนึ่งในนั้นก็คือ นิราศเมืองเพชรที่แต่งขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3

อันที่จริงสุนทรภู่ไม่ใช่คนแรกที่กระทำการนองน้ำตาแถวๆ บางนางนอง หรือ วัดนางนองนี้นะครับ เพราะตามหลักฐานบริเวณนี้มีกวีแวะมานองกันหลายยุคหลายสมัย

เริ่มจากที่เก่าแก่สุดอยู่ในโคลงกำสรวลสมุทร วรรณกรรมยุคต้นอยุธยาที่กล่าวถึงการเดินทางจากอยุธยาทางเรือเพื่อจะลงใต้ วรรคหนึ่งในนั้นกล่าวถึงย่านนี้ว่า “นองชลเนตร”  

ต่อด้วย “นางนองเหมือนพี่นองชลนา ใน กลอนเพลงยาวนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อครั้งเสด็จยกกองทัพไปรบในสงครามเก้าทัพ

และหลังจากนั้นกวียุคต้นรัตนโกสินทร์คนอื่นๆ ก็กล่าวถึงการนองที่ว่านี้ ไม่ว่าจะเป็น “นองท่านางนองสนาน” ของพระยาตรัง  หรือ “นางนองชลน่านไล้” ของ นรินทร์อิน

จะเห็นได้ว่ากวีทุกยุคสมัยที่ผ่านนางนอง ต้องครวญคร่ำโวหารกวีคล้ายๆ กัน ซึ่งหมายถึงที่มาของชื่อ “นางนอง” คงมาจากสภาพภูมิประเทศที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ประกอบการคลองหลากสาขา จึงเป็นสิ่งที่ยุ่งยากในการคมนาคม

ก่อนอื่นต้องบอกว่าย่านนี้ถือว่าเป็นย่านข้าหลวงเดิมของรัชกาลที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยวัดสำคัญคือ วัดนางนอง วัดราชโอรส และวัดหนัง ซึ่งล้วนแล้วเป็นวัดเก่าแก่แต่ครั้งอยุธยา อีกทั้งในการบูรณะยังเกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ 3 ทั้งสิ้น 

ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าเพราะอะไรใครๆ ถึงต้องผ่านย่านนี้?

เหตุมาจากวัดนางนอง อยู่ในเส้นทางคลองด่าน คลองสายสำคัญที่เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาจากคลองบางกอกใหญ่ถึงแม่น้ำท่าจีนที่สมุทรสาคร และสามารถออกไปชายทะเลได้ 

เส้นทางนี้เป็นใช้หลบลมมรสุม ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมเก่าแก่มาอย่างยาวนาน จึงถูกใช้เป็นทางผ่านของทั้งพระเจ้าตากเสด็จไปศึกบางกุ้งที่ราชบุรี และรัชกาลที่ 1 เสด็จไปรับศึกไปพม่าที่กาญจนบุรี (รบพม่าท่าดินแดง) เป็นต้น

 

จะเห็นได้ว่าแม่น้ำลำคลองชื่อบ้านนามเมืองก็มีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ไม่แพ้ความงามด้านศิลปกรรม ซึ่งล้วนแล้วเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ไหลเวียนหลบซ่อนควรค่าแก่การบอกเล่าสืบไป

อ้างอิงจาก : สุจิตต์ วงษ์เทศ. แม่น้ำลำคลองสายประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มติชน, 2544.

 

4,243 views

0

share

Museum in Bangkok

08 December 2023
29,237
1,581
16 March 2023
65,195
635
21 March 2024
48,814
1,795
07 July 2022
45,184
4,427
09 January 2023
60,872
657
25 July 2022
90,635
784
17 June 2019
26,143
686