คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

All News

  1. Home
  2.    >   All News

Filter By

- Select Category -
17 March 2023
16 March, 2023: The National Discovery Museum Institute, in collaboration with the Phuket City Municipality, Museum Phuket and Peranakannitat Museum, has organized Peranakan Phuket – Penang Sharing seminar with the aims of exchanging knowledge with Penang-based cultural networks and learning centers, and fostering collaborations on the integration of Peranakan-culture knowledge among experts in both cities.  Leading panelists at the seminar are Ms. Sukumal Phadungsilp, Deputy Director of the National Discovery Museum Institute or Museum Siam, and Mr. Saroj Angkanapilas, the Mayor of the Phuket City.  The participants attended to sharing their viewpoints and knowledge at the Meeting Room of Assoc. Prof. Manat Chaisawat, 1st floor, Building 3, Faculty of International Studies, Prince of Songkhla University’s Phuket Campus.   The Guest-Speaker from the cultural networks are as follows: (1) Dr.Ang Ming Chee, General Manager, George Town World Heritage Incorporated (2) Ms. Lillian Tong, The Museum Director of Pinang Peranakan Mansion, The President of Persatuan Peranakan Baba Nyonya Pulau Pinang (3) Ms. Rudee Phumiphuthavorn, The expert on Phuket's History and Culture
22 November 2019
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 คณะผู้บริหาร มิวเซียมสยาม นำโดยคุณสุขุมาล ผดุงศิลป์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและการตลาด และนางซองทิพย์ เสริมสวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาพื้นที่และงานบริการ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้ระบบขนส่งมวลชน ระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ณ สถานีสนามไชย กรุงเทพมหานคร โดยความร่วมมือครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี ผ่าน 4 สถานีเปิดใหม่ของเส้นทางรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม และช่วยลดมลภาวะได้อีกทางหนึ่ง ในโอกาสเดียวกันนี้ มิวเซียมสยาม ได้ต้อนรับคณะผู้ร่วมงานเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ ถอดรหัสไทย อีกด้วย
22 November 2019
นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) เปิดตัวนิทรรศการหมุนเวียน ชุด “พระนคร on the Move”: “สามยอด-วังบูรพา-พาหุรัด” ก้าวย่างบนเส้นทางอย่างตะวันตก นิทรรศการหมุนเวียนชุดใหม่จากมิวเซียมสยาม นำเสนอประวัติศาสตร์ของย่าน “สามยอด-วังบูรพา-พาหุรัด” ที่ในอดีตเคยได้ชื่อว่าเป็น “ศูนย์กลาง” แห่งใหม่ของพระนคร ในช่วงที่ต้องเผชิญหน้ากับการคุกคามจากโลกตะวันตก ภายในงานยังมีการจัดเสวนาในหัวข้อ "ห้างนานาชาติในตำนาน กับสรรพสินค้านำสมัย" ตำนานของธุรกิจการค้าต่างๆ ของย่าน สามยอด-วังบูรพา-พาหุรัดที่ยังคงสืบทอดกิจการมาจนปัจจุบัน ประกอบด้วย คุณเอนก นาวิกมูล, คุณอาจฤทธิ์ ประดิษฐบาทุกา ทายาทจากร้านเซ่งชง, คุณปรียา ฟีญา โมราศิริ จาก ร้านโมฮำมัด และคุณศรัณย์ ทองปาน กองบรรณาธิการ นิตยสารสารคดี โดยนิทรรศการดังกล่าวมีกำหนดเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ถึง 1 มีนาคม 2563 ณ อาคารอเนกประสงค์ มิวเซียมสยาม ท่าเตียน กรุงเทพฯ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-225-2777 หรือ www.facebook.com/museumsiamfan
17 October 2019
เปิดตัวหนังสือ "รอบเกาะ The Rattanakosin Island Guide book" ทีจะพาทุกคนร่วมเรียนรู้เกาะรัตนโกสินทร์ในมุมมองใหม่ ผ่าน 20 เส้นทางท่องเที่ยวหลากหลายกว่า 200 แห่ง ที่จะทําให้คุณเห็นทุกมิติของหัวใจเมืองหลวงซึ่งเปี่ยมด้วยชีวิตชีวา สามารถอ่านในรูปแบบดิจิตอลได้ฟรีแล้ววันนี้ที่... เว็บไซต์ Www.museumsiam.org เว็บไซต์ www.museumthailand.com Download Rattanakosin_Island_Guidebook_Ebook Application : Knowledge Center by Museum Siam เว็บไซต์ ISSUU.com Application : Ookbee Application : The 1 Book ------------------------------- หนังสือ "รอบเกาะ The Rattanakosin Island Guide book" จุดกําเนิดกรุงเทพมหานครเริ่มต้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เป็นเวลา 200 กว่าปีมาแล้วที่พื้นที่ราบลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาใจกลางเมืองหลวงเป็นศูนย์กลางชาติสยาม ทั้งพระราชวัง วัดวาอาราม อาคารราชการ โรงเรียน และสถานที่เก่าแก่สําคัญต่างๆ ได้รับการวางผังเมืองให้เป็นรากฐานของประเทศ แม้บางกอกเติบโตขยายใหญ่นอกเกาะรัตนโกสินทร์มากมาย แต่พื้นที่เมืองเก่าแห่งนี้ยังอบอวลด้วยเสน่ห์ประวัติศาสตร์ ผสานกับความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ชุมชนในเกาะต่างปรับตัวอ้าแขนต้อนรับผู้มาเยือนในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวที่ห้ามพลาดของประเทศไทย ไม่ว่าจะคุ้นเคยกับเมืองเก่า หรือรู้จักพื้นที่เพียงผิวเผิน ขอเชิญเรียนรู้เกาะรัตนโกสินทร์ในมุมมองใหม่ ผ่าน 20 เส้นทางท่องเที่ยวหลากหลาย ตั้งแต่โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ร้านค้า ร้านอาหาร งานศิลปะ พื้นที่สาธารณะ และพื้นที่สีเขียว รวมทั้งหมด 200 แห่ง ที่จะทําให้คุณเห็นทุกมิติของหัวใจเมืองหลวงซึ่งเปี่ยมด้วยชีวิตชีวาตลอดมา   https://issuu.com/museumsiam/docs/the_rattanakosin_island_guidebook_-_preview_______ 
11 October 2019
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารได้เข้าร่วมประชุมพัฒนาความร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์กู้กง (National Palace Museum) ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือทางด้านศิลปและวัฒนธรรมระหว่างสองพิพิธภัณฑ์ ในการสร้างสรรค์งานนิทรรศการ งานวิจัย กิจกรรมการศึกษาและฝึกอบรม ที่จะมีขึ้นในอนาคต
30 August 2019
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(มิวเซียมสยาม) จัดงาน “มิวเซียมไทยแลนด์ อะวอร์ด 2019 (Museum Thailand Awards 2019)” โดยได้จัดงานมอบรางวัลและประกาศผลอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 ณ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ (Siam Society) ซึ่งได้มีการเปิดรับสมัครคัดเลือกพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในประเทศไทยเข้ารับรางวัล “Museum Thailand Awards 2019” เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา โดยปีนี้ ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “Perspective” ที่ต้องการสื่อถึงการเชื่อมโยงพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเข้ากับพิพิธภัณฑ์เมือง ด้วยการบูรณาการร่วมกันอย่างยั่งยืนทั้งในเชิงวิสัยทัศน์และกระบวนการทำงาน เพื่อยกระดับมาตรฐานพิพิธภัณฑ์ไทยสู่สากล นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) เปิดเผยว่า มิวเซียมสยาม ได้ดำเนินการจัดโครงการ “มิวเซียมไทยแลนด์ อะวอร์ด 2019 (Museum Thailand Awards 2019)” เพื่อมุ่งยกระดับพิพิธภัณฑ์ ภายในประเทศไทยให้ก้าวสู่พิพิธภัณฑ์ระดับสากล พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ภายในประเทศไทย ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากรด้านพิพิธภัณฑ์ ให้มีความรู้ความสามารถ ในเชิงวิสัยทัศน์และกระบวนการการปฏิบัติ รวมทั้งสร้างกระแสการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ หรือแหล่งเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา มีพันธมิตรพิพิธภัณฑ์สนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ภาพรวมของการพัฒนาและดำเนินงานด้านพิพิธภัณฑ์มีความเคลื่อนไหวและการขยายตัวมากขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และส่งผลให้เครือข่ายของพิพิธภัณฑ์ไทยเข้มแข็งจนก่อให้เกิดแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาวงการพิพิธภัณฑ์ในอนาคต ตลอดจนการเข้ามามีส่วนร่วมของพิพิธภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น เนื่องจากคณะทำงานได้เข้าไปพัฒนาและได้ทราบถึงความเข้มแข็งของชุมชน แต่ยังขาดการสนับสนุน  จึงได้เพิ่มประเภท พิพิธภัณฑ์ด้านชุมชนและท้องถิ่น เพื่อเป็นกำลังใจและเป็นรางวัลที่สร้างคุณค่าของการร่วมมือกันให้แก่ชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย” โดยปีนี้ โครงการ Museum Thailand Awards 2019 ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ในการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ กว่า 70 แห่ง โดยมีการนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในสายงานพิพิธภัณฑ์ทั้ง 6 ท่านได้แก่ ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ประธานคณะกรรมการ กรรมการบริหาร OKMD อดีตรองเลขาธิการสภาการศึกษา อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, อ.วิษณุ เอมประณีตร์ ประธานที่ปรึกษาหอศิลป์พุทธะ, อ.พัชรินทร์ กรูเนิร์ต อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ดร.วีรานันท์ ดำรงสกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, คุณบุณฑริก เขมาชีวะ ที่ปรึกษาด้านพิพิธภัณฑ์ มิวเซียมมายส์ และคุณพัฒนพงศ์ มณเฑียร ศิลปิน/ที่ปรึกษาด้านพิพิธภัณฑ์ มิวเซียมมายส์ และมีการจัดกิจกรรมร่วมโหวตพิพิธภัณฑ์ขวัญใจมหาชน หรือ Popular Vote อีกด้วย ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ประธานคณะกรรมการการตัดสินรางวัลพิพิธภัณฑ์ดีเด่น Museum Thailand Awards 2019  ได้กล่าวว่า  “การจัดประกวด Museum Thailand awards ในครั้งนี้เป็นการให้กำลังใจ กับบรรดาพิพิธภัณฑ์ หรือคนที่อยู่ในวงการพิพิธภัณฑ์ รวมถึงชุมชนท้องถิ่น ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นมิติใหม่ของการเรียนรู้ของประชาชนโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากรูปแบบการนำเสนอความรู้ทั่วไปของงานพิพิธภัณฑ์ว่าไม่ใช่เป็นการเก็บรวบรวมของเก่าเท่านั้นนั้น แต่ยังสามารถนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่ผ่านเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เช่น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเพิ่มสมรรถนะในการเรียนรู้สำหรับผู้เข้าชม ซึ่งมีหลากหลายก่อให้เกิด กระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียนได้ดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” ด้าน คุณพัฒนพงศ์ มณเฑียร อีกหนึ่งในคณะกรรมการฯ ที่เปรียบเสมือนตัวแทนจากคนรุ่นใหม่ ได้กล่าวว่า  “จากการที่ตนได้สัมผัสพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศคเราจะเห็นว่ามีการใช้เทคโนโลยี มีการใช้ดิจิตอลแพลตฟอร์มในการพัฒนาการดำเนิน แต่ถึงอย่างไรก็ดีการที่พิพิธภัณฑ์ไทยจะพัฒนา จะมองข้ามหัวใจของงานพิพิธภัณฑ์และหัวใจของคนพิพิธภัณฑ์ไปไม่ได้ ถ้าเราเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนทัศนคติทัศนคติในการทำงาน เราก็สามารถเทียบเท่ากับมาตรฐานสากลได้เช่นกัน เพราะไม่ว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ หรือ พิพิธภัณฑ์ในชุมชนและท้องถิ่น ก็มีของดีที่ซ่อนอยู่และสามารถนำออกสู่สายตาผู้เข้าชมได้อย่างแน่นอน” สำหรับพิพิธภัณฑ์ที่มีได้รับรางวัลจากทั้ง 2 ประเภทในปีนี้ มีจำนวนทั้งหมด 15 รางวัลด้วยกัน โดยตัวแทนจาก ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยมหาอินทร์ ณ เชียงใหม่) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลถึง 2 ปีซ้อน ในประเภทรางวัลพิพิธภัณฑ์ดีเด่นด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม กล่าวว่า “นับเป็นความภาคภูมิใจของทางพิพิธภัณฑ์ ที่ทางคณะกรรมการได้คัดเลือกและมอบรางวัลในปีนี้ เพราะปีนี้สัมผัสได้ว่ามีการคัดเลือกที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และทางพิพิธภัณฑ์จะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาในส่วนของการนำเสนอ ตลอดจนการเก็บรักษาสถาปัตยกรรมเป็นอย่างดี เพราะการได้รางวัล 2 ปีซ้อนนี้ นับว่าเป็นแรงกระตุ้นของพิพิธภัณฑ์ที่ในปีหน้า อยากจะคว้ารางวัลในปีที่ 3 อย่างต่อเนื่อง” ด้าน มิวเซียมภูเก็ต หนึ่งในตัวแทนพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลในประเภทพิพิธภัณฑ์ขวัญใจมหาชน หรือ Popular Vote กล่าวว่า “ขอขอบคุณผู้ที่ร่วมโหวตให้ มิวเซียมภูเก็ต เป็นพิพิธภัณฑ์ขวัญใจมหาชน รวมถึงต้องขอให้สัญญาว่า มิวเซียมภูเก็ต จะนำคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ และจะมีการพัฒนาปรับปรุงมิวเซียมภูเก็ตให้อยู่ในใจของคนในประเทศไทยต่อไป” สำหรับผลการคัดเลือกพิพิธภัณฑ์ ที่ได้รับรางวัลทั้งหมด จำนวน 15 แห่ง โดยแยกตามด้านและประเภท มีรายชื่อ ดังนี้  ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม แบ่งเป็น 1.       รางวัลดีเด่นด้านการจัดแสดงนิทรรศการ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 2.       รางวัลดีเด่นด้านกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยมหาอินทร์ ณ เชียงใหม่) 3.       รางวัลดีเด่นด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ได้แก่ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ 4.       รางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์และสืบสาน ได้แก่ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร.2) ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แบ่งเป็น 1.       รางวัลดีเด่นด้านการจัดแสดงนิทรรศการ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2.       รางวัลดีเด่นด้านกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย 3.       รางวัลดีเด่นด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านของพ่อ 4.       รางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์และสืบสาน ได้แก่ บ้านหมอหวาน ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 1.       รางวัลดีเด่นด้านการจัดแสดงนิทรรศการ ได้แก่ สยามเซอร์เพนทาเรียม 2.       รางวัลดีเด่นด้านกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา 3.       รางวัลดีเด่นด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช 4.       รางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์และสืบสาน ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านชุมชนและท้องถิ่น แบ่งเป็น 1.       รางวัลดีเด่นด้านกระบวนการเรียนรู้ได้แก่ ศูนย์จักสานที่ใหญ่ที่สุดในโลก 2.       รางวัลดีเด่นด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ชุมชนเกาะศาลเจ้า 3.       รางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์และสืบสาน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี พิษณุโลก ประเภทพิพิธภัณฑ์ขวัญใจมหาชน หรือ Popular Vote 1.       หอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2.       หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ 3.       พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 4.       พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 5.       พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6.       หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา  7.       พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน 8.       มิวเซียมภูเก็ต 9.       ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อย มหาอินทร์ ณ เชียงใหม่) 10.   ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน “สำหรับโครงการ Museum Thailand Awards จะยังคงดำเนินการในปีต่อ ๆ ไป เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่บุคลากรในวงการพิพิธภัณฑ์ ได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้วงการพิพิธภัณฑ์ไทยต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด และแน่นอนว่าการตัดสินรางวัลในปีต่อไปก็จะเพิ่มความเข้มข้นในการพิจารณารางวัลมากยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของตัวพิพิธภัณฑ์เอง และการมีส่วนร่วมกับสังคม เพื่อผลักดันให้พิพิธภัณฑ์ไทยก้าวเข้าสู่ระดับสากลได้อย่างภาคภูมิใจ รวมถึงเว็บไซต์ MuseumThailand.com ที่จะยังคงดำเนินการพัฒนาและสร้างสรรค์กิจกรรมให้สังคมของคนรักพิพิธภัณฑ์ขยายวงกว้างมากขึ้น ช่วยผลักดันและส่งเสริมวัฒนธรรมการท่องเที่ยวให้แพร่และยั่งยืนในสังคมไทยต่อไป” นายราเมศ พรหมเย็น กล่าวทิ้งท้าย
11 July 2019
มิวเซียมสยาม จับมือ บริษัท เจ้าพระยาทัวร์ริสท์โบ๊ท จำกัด เปิดตัวแพคเกจสุดคุ้ม“มิวพาสพลัสวันเดย์รีเวอร์พาส” ซึ่งเป็นแพคเกจสำหรับล่องเรือเจ้าพระยา 1 วัน  ในราคาสุดคุ้มเพียง 409 บาท  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้บนเส้นทางแห่งสายน้ำครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมชวนผู้ถือบัตรมิวพาสสัมผัสพริวิเลจสุดคุ้ม รับส่วนลดจากร้านค้าที่ร่วมรายการตลอดเส้นทางการเรียนรู้ โดยแพคเกจสุดคุ้ม “มิวพาสพลัสวันเดย์รีเวอร์พาส” เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มครอบครัว และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่สามารถให้เส้นทางการเดินเรือ เพื่อเชื่อมต่อไปยังแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้เคียงกว่า 13 แห่ง อาทิ ลงที่ท่าปากคลองตลาด เพื่อไปแวะที่มิวเซียมสยาม  ลงที่ท่าพระอาทิตย์และเดินเท้าอีกนิดเพื่อไปยังพิพิธภัณฑ์บางลำพู นอกจากนี้ บัตรดังกล่าวยังสามารถเข้าชมแหล่งเรียนรู้ 55 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งการเปิดตัวแพคเกจ “มิวพาสพลัสวันเดย์รีเวอร์พาส” จัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ณ มิวเซียมสยาม ถนนสนามไชย ท่าเตียน กรุงเทพมหานคร ผู้ที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดแพคเกจ “มิวพาสพลัสวันเดย์รีเวอร์พาส” รวมถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพริวิเลจของบัตรมิวพาส ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-225-2777 ต่อ 529 หรือที่เฟซบุ๊ค Muse Pass (https://www.facebook.com/musepass)                 นางซองทิพย์ เสริมสวัสดิ์ศรี      ผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม    และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและการตลาด มิวเซียมสยาม กล่าวว่า มิวเซียมสยาม และ บริษัท เจ้าพระยาทัวร์ริสท์โบ๊ท จำกัด ร่วมเปิดตัวแพคเกจ “มิวพาสพลัสวันเดย์รีเวอร์พาส”  เพื่อร่วมเปิดประสบการณ์ใหม่ในการเดินทางสู่แหล่งเรียนรู้บนเส้นทางแห่งสายน้ำ ภายใต้คอนเซป แล่นเรือ Hop on  Hop Off ตามหาแหล่งเรียนรู้ใจกลางกรุง ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่มากมายทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย สำหรับการจับคู่แพคเกจสุดคุ้ม ระหว่างบัตรผ่านประตูเข้าแหล่งเรียนรู้ 55 แห่งทั่วไทย หรือ “บัตรมิวพาส” และตั๋วเรือนำเที่ยวแม่น้ำเจ้าพระยาสุดหรู 1 วัน ไม่จำกัดเที่ยว หรือ “วันเดย์รีเวอร์พาส”                 แพคเกจ  “มิวพาสพลัสวันเดย์รีเวอร์พาส”  มีจำหน่ายที่เคาน์เตอร์ให้บริการท่าเทียบเรือของ บริษัท เจ้าพระยาทัวร์ริสท์โบ๊ท จำกัด ได้แก่ ท่าปากคลองตลาด ท่ามหาราช และท่าสาทร ที่จำหน่ายคู่กันในราคาพิเศษเพียง 409 บาท ซึ่งเปิดจำหน่ายแล้วตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 โดยสิ่งที่ผู้ซื้อแพคเกจดังกล่าวจะได้ประกอบด้วย บัตรมิวพาสซีซั่น 7 ที่สามารถใช้เป็นบัตรผ่านประตูเข้าชมแหล่งเรียนรู้  55 แห่งทั่วไทย ซึ่งปกติจำหน่ายในราคาบัตรละ 299 บาท และบัตรวันเดย์รีเวอร์พาส ตั๋วเรือนำเที่ยวแม่น้ำเจ้าพระยาสุดหรู 1 วัน ไม่จำกัดเที่ยวที่สามารถใช้บริการทั้งได้ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.30 น. ของทุกวัน ปกติจำหน่ายในราคา 200 บาท ซึ่งหากแยกซื้อในราคาปกติจะต้องซื้อในราคา 499 บาท แต่เมื่อซื้อคู่กันเป็นแพคเกจ จะช่วยให้ประหยัดทันที 90 บาท โดยผู้ที่ซื้อแพคเกจดังกล่าว สามารถเก็บบัตรมิวพาสเพื่อใช้เป็นบัตรผ่านเข้าชมแหล่งเรียนรู้กว่า 55 แห่งทั่วประเทศ เป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เปิดใช้งานบัตร โดยต้องเปิดใช้งาน บัตรไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2562                       สำหรับกลุ่มเป้าหมายของแพคเกจ “มิวพาสพลัสวันเดย์รีเวอร์พาส” ครอบคลุมทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยกลุ่มคนไทยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มครอบครัวที่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ผ่านเส้นทางที่แปลกใหม่ และกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่รักในการท่องเที่ยว ชอบการถ่ายภาพ ซึ่งเป็นการสัญจรทางเรือผ่านคุ้งน้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายหลักที่มีบทบาทสำคัญกับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังแหล่งเรียนรู้กว่า 13 แห่งที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งมีบางแห่งสามารถเดินเท้าเพียงไม่กี่นาที เช่น มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์บางลำพู และยังเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยแพคเกจนี้เหมาะกับกลุ่มแบคแพคเกอร์ ที่นิยมท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวประสบการณ์ผ่านแหล่งเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ นางซองทิพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การให้บริการของแพคเกจ “มิวพาสพลัสวันเดย์รีเวอร์พาส” เป็นเรือนำเที่ยว Hop on Hop Off (Chao Phraya Tourist Boat) ที่ให้บริการไปกลับจากท่าสาทร จนถึง ท่าพระอาทิตย์ ซึ่งเทียบท่าทุก 30 นาที โดยผู้ถือบัตรมิวพาสสามารถแวะท่าเรือที่สามารถเชื่อมต่อไปยังแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในความร่วมมือของบัตรมิวพาสได้ ได้แก่ ท่าพระอาทิตย์ ท่ามหาราช ท่าปากคลองตลาด ท่าราชวงศ์ และท่าสาทร โดยมีพิพิธภัณฑ์ 13 แห่งที่อยู่ใกล้ท่าเรือดังกล่าวและสามารถใช้บัตรมิวพาสผ่านเข้าชมได้ทันที ได้แก่ ·     ท่าพระอาทิตย์  และ ท่ามหาราช      ได้แก่    พิพิธภัณฑ์บางลำพู    พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์   ·        ท่าปากคลองตลาด ได้แก่ มิวเซียมสยาม บ้านหมอหวาน   ·     ท่าราชวงศ์ ได้แก่ นิทรรศการภายในอาคารพระมหามณฑปฯวัดไตรมิตรวิทยาราม พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครหอศิลป์กรุงไทย ·     ท่าสาทร (เชื่อมต่อบีทีเอส)   ได้แก่   พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน พระราชวังพญาไท พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   นอกจากนี้ ยังสามารถแสดงบัตรมิวพาสเพื่อรับพริวิเลจสุดพิเศษกับส่วนลดสุดคุ้มในบัตรเดียว ในร้านอาหาร คาเฟ่  ร้านของที่ระลึก และฟิตเนส ที่มีมูลค่ารวมกว่า 4,000 บาท อาทิ ส่วนลดอาหารและเครื่องดื่ม 10 เปอร์เซ็นต์ Muse Kitchen by Elefin และ Muse Cafe by D'Oro ภายในมิวเซียมสยาม ส่วนลดค่าอาหารที่ห้องทานข้าวสุพรรณิการ์ สาขาท่าเตียน และส่วนลดคอร์สมวยไทยหรือฟิตเนส 24 ชั่วโมงทุกคลาส ที่รัชดาฟิตเนส สาขาถนนพระอาทิตย์ เพียงโชว์บัตรมิวพาสใบเดียวก็สามารถรับสิทธิประโยชน์สุดคุ้มในราคาเพียง 299 บาท  และคุ้มยิ่งกว่าเมื่อซื้อพร้อมบัตรโดยสาร เรือนำเที่ยว Hop on Hop Off (Chao Phraya Tourist Boat) วันเดย์รีเวอร์พาสเพียง 409 บาทเท่านั้น ซึ่งสามารถเก็บบัตรมิวพาสไว้เพื่อเข้าชมแหล่งเรียนรู้ 55 แห่งทั่วประเทศที่ร่วมโครงการได้อีกด้วย ผู้ที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดแพคเกจ “มิวพาสพลัสวันเดย์รีเวอร์พาส” รวมถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพริวิเลจของบัตรมิวพาส ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-225-2777 ต่อ 529 หรือที่เฟซบุ๊ค Muse Pass (https://www.facebook.com/musepass)
11 July 2019
ผ่านไปแล้วสำหรับกิจกรรมและ Workshop ประกอบนิทรรศการ “ปิญญ่า-เซดา ผ้าใยสับปะรดและใยไหมจากเขตร้อน" ซึ่งเป็นกิจกรรมสุด Exclusive ที่ให้ผู้ชมได้ใกล้ชิดกับผ้าปิญญา-เซดาให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เมื่อวันที่วันที่ 5, 6, 7, 9 และ 10 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ อาคารอเนกประสงค์ มิวเซียมสยาม          โดยในช่วงเช้า มีบรรยายการทอผ้าใยสัปปะรด (ปิญญ่า-เซดา) ด้วยกี่ทอผ้า โดย ช่างทอผ้าผู้เชี่ยวชาญจากบาเลเต้, อัคลัน และในช่วงบ่าย(เวลา 14.00 น.) เวิร์คช็อปการปักลายผ้าบนผ้าใยสัปปะรด (ปิญญ่า-เซดา) นำโดยช่างปักลายผ้าใยสัปปะรดผู้เชี่ยวชาญจากลัมบัน, ลากูน่า เรียกได้ว่า ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับทั้งความรู้ และความสนุกสนาน แถมยังได้ผ้าปักฝีมือของตัวเองกลับบ้านเป้นที่ระลึกอีกด้วย         สำหรับนิทรรศการ “ปิญญ่า-เซดา ผ้าใยสับปะรดและใยไหมจากเขตร้อน" ยังสามารถเดินทางมาชมได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2562 เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์(ปิดทุกวันจันทร์) เวลา 10.00 - 18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.museumsiam.org 
05 July 2019
On 4 July 2019, the National Museum (NM) of the Philippines, in partnership with the Office of Senator Loren Legarda (OSLL) and the National Discovery Museum Institute (NMDI), will be launching the Hibla ng Lahing Filipino Travelling Exhibition featuring Piña-Seda: Pineapple and Silk Cloths from the Tropics at Museum Siam in Bangkok, Thailand. The exhibition highlights piña as a traditional and unique source of fiber in the Philippines, demonstrating the intricate features of the Filipino textile weaving and hand-embroidery heritage. Corollary to the exhibition are lecture series, piña fiber scraping and weaving demonstrations and embroidery workshops, which will be facilitated by Ms. Raquel Eliserio and Mr. Carlo Eliserio, expert piña-seda weavers from Balete, Aklan and Mr. Loreto Maestre, Jr. and Ms. Lolita Pereza, expert hand-embroiderers from Lumban, Laguna from 05 to 10 July 2019. The lecturers from the National Museum will be led by Dr. Ana P. Labrador, Assistant Director and the Hibla ng Lahing Filipino Program Head. Bangkok is the second destination of the Hibla ng Lahing Filipino Travelling Exhibition in Asia, Europe and Americas for 2019. The first travelling exhibition was held at the Philippine Embassy in London in October 2017. Through partnerships with Philippine Service Posts and partner institutions abroad, the travelling exhibition was brought to six destinations in 2018: Lisbon, Madrid, Washington D.C., New York, Honolulu, and Frankfurt. This year, the project continues, first of which was successfully launched at the Philippine Embassy in Tokyo, Japan. As the premier cultural institution in the Philippines, the National Museum aims to establish linkages and promote Filipino culture to a global audience of heritage professionals, textile enthusiasts and researchers, and to the Filipino community members abroad. The Hibla ng Lahing Filipino Travelling Exhibition will run from 5 to 27 July 2019 at the Multipurpose Building, Museum Siam, 4 Sanam Chai Road, Khwaeng Phra Borom Maha Ratchawang, Khet Phra Nakhon, Bangkok, Thailand. The lectures, weaving demonstrations and embroidery workshops are free. For inquiries and reservations, please contact Ms. Pattayarach Thamwongsa, Senior Management Officer of Museum Siam, through telephone numbers +66 (0) 2225-2777 ext. 101 or e-mail at pattayarach@ndmi.or.th.