คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ท้องทุ่งแห่งศรัทธา

ณ ทุ่งบางพลับ มีวัดงดงามท่ามกลางแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน คือวัดขุนอินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง

พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร

                                                      อ่างทองเสกสิ่งสร้าง    สวรรค์

                                          เมืองดังแสงอำพัน                   ทั่วเหล่า

                                          เหนือคุณค่าชีวัน                      โลกยิ่ง  เปรียบฤา

                                          ระบือชื่อก้องฟ้า                       น่าแผ้วยินยล

“พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองแผ่นดิน ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก” คำกล่าวนี้ได้กล่าวขึ้นตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน ครั้งสมัยพระยาเลอไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยมานมัสการพระฤาษีสุกกะทันตะ

 ในเขตกรุงละโว้ ได้สร้างพลับพลา ณ โคกบางพลับ ปัจจุบันคืออำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง พระองค์ได้ทรงพระสุบินทอดพระเนตรเห็นลูกไฟลอยขึ้นในอากาศทางทิศตะวันออก พระองค์ทรงพระโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงพระราชดำริสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นเป็นพุทธบูชา ทรงพระขนานนามว่า“พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร”

              จวบจนสมัยกรุงศรีอยุธยาด้วยความศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้มีนายอากรตำแหน่งขุนอินทประมูล เป็นผู้มีจิตใจใฝ่ในพระพุทธศาสนา ได้บูรณะปฏิสังขรพระพุทธไสยาสน์ จากน้ำพักน้ำแรงของตนเองแต่ก็ยังไม่เสร็จลุล่วง จึงยักยอกพระราชทรัพย์นำมาสร้างจนสำเร็จ ความนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศให้ไต่สวนขุนอินทประมูลให้การปฏิเสธจึงถูกสั่งให้ลงทัณฑ์ ภายหลังขุนอินทประมูลรับการลงทัณฑ์ไม่ไหวถึงแก่ชีวิต พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรพระพุทธไสยาสน์ ทรงเห็นความศรัทธาที่ขุนอินทประมูลมีต่อพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดสมมโนรส ทรงได้โปรดให้ฝังร่างขุนอินทประมูลด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์ หลังจากนั้นได้พระราชทานนามวัดขุนอินทประมูลและถวายนามพระพุทธไสยาสน์ว่า  “พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลจนเวลาลุล่วงมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ ,๒๕๑๘  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และในพุทธศักราช ๒๕๑๙  สมเด็จพระบรมโอสราธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล พระมหากษัตริย์ทรงมีความศรัทธา เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ประชาชนชาวไทยได้เกิดความศรัทธาและเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา จึงทำให้เกิดวัฒนธรรมประเพณี ที่เชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางจิตใน อีกทั้งยังช่วยบ่มเพาะ ขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ เป็นที่ยึดหนี่ยวเพื่อให้คนตระหนักถึงความดี  โดยวัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทองเป็นวัดที่ประชาชนมากราบไหว้นมัสการพระพุทธไสยาสน์เพื่อความสิริมงคล  แฝงความเชื่อที่ว่านมัสการพระพุทธไสยาสน์จะมีอายุยืน  ซึ่งความงดงามขององค์พระที่เด่นตระหง่านกลางท้องทุ่งที่เขียวขจีด้วยต้นข้าวจึงเป็นภาพที่สง่างามเมื่อได้เห็น อีกทั้งมีสินค้าผลิตภัณฑ์จากชุมชนท้องถิ่น อาทิ เครื่องสาน ขนมแปรรูปจากลูกตาล  ราคาย่อมเยา เมื่อมามนัสการพระพุทธไสยาสน์สิ่งที่จะได้รับนอกเหนือจากของฝากคือน้ำใจไมตรี และรอยยิ้มของชาวอ่างทอง

 

                                      ดำเนินเดินเรื่องอ้าง        ขับขานอ่างทอง

                             เมืองโด่งดังจักรสาน                ทั่วหน้า

                             ยังเป็นถิ่นลูกหลาน                  หลวงพ่อ  เลอไท

                             เลื่องชื่อคนใจกล้า                  ว่าไว้ขุนอิน       

                                                                                                                                                           นายสุเมธ  เงินนุช ครูโรงเรียนประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา   

2,507 views

0

share

Museum in Bangkok

08 December 2023
29,442
1,581
16 March 2023
65,947
635
21 March 2024
49,520
1,795
07 July 2022
45,448
4,428
09 January 2023
61,215
657
25 July 2022
91,639
784
17 June 2019
26,267
686