คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

มนต์เสน่ห์ดอยอ่างขาง

มนต์เสน่ห์ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง จ.เขียงใหม่

 

                สถานีเกษตรหลวงอ่างขางหรือดอยอ่างขาง เป็นพื้นที่โครงการหลวงที่มีการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรให้กับชาวเขา ดอยอ่างขางถือเป็นดอยที่ขึ้นชื่อแห่งขึ้นของจังหวัดเชียงใหม่เลยก็ว่าได้ เพราะ ความสวยงานของธรรมชาติเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวที่ดอยอ่างขาง อีกทั้งยังมีสถานที่เที่ยวมากมายให้เลือกมากมายไม่ว่าจะเป็นสวนสมเด็จ สวนแปดสิบ สวนกุหลาบอังกฤษ จุดชมดอกซากุระแท้และดอกนางพญาเสือโคร่ง จุดชมพระอาทิตยขึ้นขอบด้ง ไร่ชา 2000 ไร่สตอเบอรี่ขั้นบันไดบ้านนอแล ฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง ฯลฯ

            ดอยอ่างขางอยู่ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ วิธีขึ้นไปที่ดอยมีหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการขับรถยนต์ขึ้นไปเอง หรือการนั่งรถไปลงที่หน้าวัดหาดสำราญ เพื่อเหมารถสองแถวเพื่อขึ้นไปบนดอย เมื่อเราไปถึงดอยอ่างขางจุดแรกที่เราเห็นจะเป็นฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง เป็นจุดชมวิวที่สวยจุดหนึ่งของดอยอ่างขางเราก็ว่าได้  เราสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้อย่างชัดเจนจากจุดชมวิวนี้ในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว เมื่อเดินทางเข้ามาเรื่อยๆเราก็จะเจอสวนสมเด็จซึ่งมีการรวบรวมพันธุ์ไม้ประเภทฝิ่น ดอกป๊อปปี้และไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ โดยจะมีการสลับหมุนเวียนเปลี่ยนพันธุ์ไม้ไปทุกปีตลอดทางที่เดินเราผ่านจะมีดอกซากุระแท้ที่ได้เพาะพันธุ์มาจากต่างประเทศและดอกนางพญาเสือโคร่งโดยดอกซากุระและดอกนางพญาเสือโคร่งจะออกดอกแทบจะทั้งดอย ทำให้ดอยอ่างขางเต็มไปด้วยสีชมพูของดอยซากุระและนางพญาเสือโคร่งในช่วงฤดูหนาวของทุกปีทำให้คนนิยมมาถ่ายรูปเพื่อเก็บไว้เป็นที่ความทรงจำและเป็นที่ระลึกว่าครั้งหนึ่งเราได้มาที่ดอยที่เต็มไปด้วยสีชมพูแทบจะทั้งดอยแบบนี้ เมื่อเดินมาตามทางจะเจอกับสวนแปดสิบเป็นสวนกลางแจ้งซึ่งสวนนี้ได้ตั้งชื่อตามอายุขององค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวงซึ่งก็คือหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ในวาระที่ทรงมีอายุครบ 80 ชันษา โดยมีลักษณะการจัดสวนเป็นแบบรวบรวมพันธุ์ไม้หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้น ไม้เมืองหนาวนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น กะหล่ำประดับ ชบาอาบูติลอน แพนซีไวโอล่า ลิ้นมังกร ถัดมาคือสวนคำดอยเป็นสวนที่รวบรวมพันธุ์ไม้ดอกตระกูลโรโดเดนดรอนหรือ ดอกคำดอย(กุหลาบพันปลี) ซึ่งดอกคำที่ปลูกส่วนใหญ่ จะเป็นพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ฮอลแลนด์ และ อังกฤษ ซึ่งจะไม่มีปลูกที่อื่นนอกจากที่สวนแห่งนี่ที่เดียวและลักษณะเด่น ของกุหลาบพันปลีที่นำเข้าจะเป็นกุหลาบพันปลีด่าง คือลักษณะต้นใบจะด่างในบ้างพันธุ์ดอกกุหลาบพันปลีจะ มีสีเหลือง และสีชมพู ส่วนกุหลาบพันธุ์ปลีพันธุ์พื้นเมืองนั้น จะมีดอก สีแดง หรือ สีขาว นอกจากนี้ยังมีการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวหลายชนิด เช่น อะซาเลีย คาเมเลีย ลาเวนเดอร์ ซึ่งสวนนี้จะอยู่ตรงข้ามกับสวนแปดสิบ ภายในดอยอ่างขางยังมีสถานที่ที่น่าสนใจอยู่อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นสวนหอม แปลงไม้ผลเมืองหนาว โรงเรือนทดสอบพันธุ์กุหลาบตัดดอก สวนกุหลาบอังกฤษ ไร่ชา 2000 ไร่สตอเบอรี่ขั้นบันไดบ้านนอแล ฯลฯ

            เราจะเห็นได้ว่าดอยอ่างขางนั้น เป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการปลูกไร่ชา ไร่สตอเบอรี่ สวนต่างๆที่หมุนเวียนตามฤดูกาล ไม้ดอกไม้ประดับ จุดชมวิว หมู่บ้านต่างๆที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่านั้นๆ ทำให้ดอยอ่างขางเป็นสถานที่ที่มีเสน่ห์แห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้อาจจะเพราะความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ที่มีความเป็นอันเองและช่วยกันดูแล รักษาดอยอ่างขางให้มีความอุดสมบูรณ์คงความสวยงานของธรรมชาติให้อยู่คู่กับดอยไปเรื่อยๆ ทำให้ดอยอ่างขางเป็นสถานที่ที่มีมนต์เสน่ห์ที่อยากให้เรากลับมาเที่ยวอีกครั้งให้ได้

2,684 views

0

share

Museum in Chiang Mai

14 September 2023
23,180
551
16 July 2020
23,338
1,637
11 January 2019
3,460
301
07 February 2022
47,057
794
11 August 2018
8,323
595
08 August 2022
7,096
608
30 April 2019
38,156
718
17 March 2022
34,903
688