คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

แม่ฟ้าหลวงของแผ่นดิน

แนะนำส่วนหนึ่งจังหวัดเชียงรายผ่านโครงการในพระราชดำริของสมเด็จย่า

                คงไม่มีใครไม่รู้จักบุคคลในภาพนี้ นี่คือภาพของสมเด็จย่า ผู้ที่เป็นเสมือน “แม่” ของประชาชนชาวไทยทุกคน จากภาพ เราจะสัมผัสได้ถึงความเมตตาของพระองค์ท่านผ่านทางสายพระเนตรที่ทอดมองไปยังประชากรของพระองค์ พระองค์มิได้ทรงเป็นแต่เพียง “สมเด็จแม่” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เท่านั้น หากยังทรงเป็น “แม่ฟ้าหลวง” ของประชาชนชาวไทยทุกคนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของพี่น้องชาวเชียงราย จังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งตั้งชื่อตามพระองค์ท่าน และเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ในภาพนี้ จังหวัดที่มีความผูกผันอย่างมากกับสมเด็จย่า และเป็นจังหวัดที่สมเด็จย่าทรงพระราชทานความช่วยเหลือนานัปการ  จนทำให้กลายเป็นจังหวัดเชียงรายที่ประชาชนหลากหลายชาติพันธุ์สามารถอาศัยอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุขในทุกวันนี้

                จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่เหนือที่สุดของประเทศไทย มีชายแดนติดกับประเทศพม่า และลาว ที่เรียกว่า “สามเหลี่ยมทองคำ” ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัด สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนี้โดยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและสลับซับซ้อน และมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่มากถึง 30 ชนเผ่า ในอดีต ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ไม่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับการมีกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมาก ทำให้ประชากรเหล่านี้มีฐานะยากจน ในบรรดาเทือกเขาสูงเหล่านั้น  “ดอยตุง” เป็นดอยหนึ่งซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่ ถึง 6 ชนเผ่า แต่เดิมชาวบ้านบนดอยตุงไร้ซึ่งสัญชาติ ไม่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานและขาดการช่วยเหลือจากรัฐบาล ทำให้ชาวบ้านต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ปลูกพืชเสพติดคือฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอยเพื่อหาเลี้ยงชีพ ซึ่งการปลูกฝิ่นนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และการถางป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยก็เป็นการทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ซึ่งการกระทำทั้งสองอย่างนี้ อาจจะให้ผลตอบแทนในระยะสั้น แต่ส่งผลเสียในระยะยาวแก่ชาวบ้านและประเทศในภาพรวม

                ในปี พ.ศ.2530 สมเด็จย่าได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนดอยตุงเป็นครั้งแรก และทรงเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านดอยตุง จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการที่จะนำผืนป่ากลับคืนสู่ดอยตุง เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และช่วยให้ชาวบ้านที่ยากจนและขาดโอกาสในการดำรงชีวิตได้หลุดพ้นจากปัญหานี้ และถึงแม้ว่าชาวบ้านบนดอยตุงนั้นจะไม่ใช่คนไทย หากเป็นคนชาติพันธุ์อื่น แต่สมเด็จย่าก็มิได้ทรงกีดกันหรือขับไล่ ในทางกลับกัน ทรงพระราชทานความหวังและโอกาสในการที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่ชาวบ้านโดยถ้วนหน้า

                โครงการที่ได้ทรงพระราชดำริขึ้นนั้นมีชื่อว่าโครงการพัฒนาดอยตุง เป็นโครงการที่มุ่งเน้นเพื่อที่จะให้ชาวบ้านดอยตุงสามารถเลี้ยงตนเองได้ โดยไม่ต้องรอพึงพางบประมาณหรือความช่วยเหลือจากรัฐบาล กิจกรรมของโครงการประกอบด้วยการอบรมให้ความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ชาวบ้าน การอบรมด้านการประกอบอาชีพที่สุจริต และการหาตลาดสำหรับผลผลิตของพวกเขาโดยการจัดตั้งแบรนด์ดอยตุงขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการสร้างรายได้แทนการปลูกฝิ่น  รวมถึงสนับสนุนการปลูกป่าเพื่อนำป่ากลับมาสู่หมู่บ้าน เป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวบ้านในระยะยาว ผลจากโครงการดอยตุงนี้ทำให้ชาวบ้านบนดอยตุงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถยิ้มได้อย่างมีความสุข

                  จากโครงการพัฒนาดอยตุงที่สมเด็จย่าทรงริเริ่มและดำเนินการนี้ สะท้อนให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่มีต่อชาวบ้านทุกคนโดยไม่แบ่งแยกชาติพันธุ์ และฉันมั่นใจว่า พระมหากรุณาธิคุณนี้จะจารึกอยู่ในจิตใจ มิใช่เฉพาะของชาวบ้านดอยตุง และพี่น้องชาวเชียงรายเท่านั้น หากจะประทับอยู่ในความทรงจำของประชาชนชาวไทยทุกคนตลอดไป ในฐานะที่ทรงเป็น “แม่ฟ้าหลวง” ของแผ่นดิน

2,400 views

0

share

Museum in Chiang Rai

11 August 2018
6,884
635
21 June 2022
16,306
638
30 April 2019
7,782
708
09 February 2023
12,048
684
30 April 2019
6,760
661
19 June 2019
6,908
695
06 November 2019
5,555
241
27 November 2019
19,942
264