กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์สิรินธร

พิพิธภัณฑ์สิรินธร

26 เมษายน 2565

ชื่นชอบ 734

65,014 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์สิรินธร เดิมเป็นศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ในปี พ.ศ.2537 พบโครงกระดูกของไดโนเสาร์กินพืช ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ในบริเวณที่เป็นหลุมขุดค้นปัจจุบัน โดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา คณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณีจึงได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ และพบว่า ภูกุ้มข้าว เป็นแหล่งที่พบโครงกระดูกไดโนเสาร์กินพืชที่มีความสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย มีการพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ขนาดต่างๆ เป็นกระดูกชนิดกินพืชมากกว่า 7 ตัว จำนวนกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น ที่สำคัญคือ พบชิ้นส่วนของหัวกระโหลก ฟันและกราม และโครงกระดูกที่เรียงรายต่อกัน เกือบจะสมบูรณ์ทั้งตัวอยู่ด้วย โครงกระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัวอยู่บนไหล่เขาของภูกุ้มข้าวซึ่งมีรูปร่างคล้ายลอมฟาง มีความสูงประมาณ 240 เมตร

 

เมื่อปี พ.ศ.2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทอดพระเนตรซากกระดูกไดโนเสาร์ ทรงจัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้น โดยให้มีการสร้างอาคารหลุมขุดค้นชั่วคราวเพื่อใช้ป้องกันซากโครงกระดูก ในปี พ.ศ.2539 กรมทรัพยากรธรณีได้สร้างอาคารวิจัยขึ้น โดยมีพื้นที่ใช้งานจำนวน 375 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการอนุรักษ์ ศึกษาวิจัย และเก็บรวมรวมซากดึกดำบรรพ์ที่สำรวจพบในประเทศไทย

 

ในปี พ.ศ.2550 ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือ พิพิธภัณฑ์สิรินธร ถือเป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า “พิพิธภัณฑ์สิริธร”

 

พิพิธภัณฑ์สิรินธรมีอาคารจัดแสดงนิทรรศการ จำนวน 2 อาคาร อาคารแรกจัดแสดง 2 ส่วน คือ นิทรรศการถาวรและนิทรรศการชั่วคราว เริ่มจากชั้นที่ 2 ใช้โถงพิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่ประชาสัมพันธ์ บริเวณโถงมีการจัดแสดงหุ่นจำลองไดโนเสาร์สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส และข้อมูลเกี่ยวกับธรณีวิทยาของประเทศไทย ภายในนิทรรศการถาวรแบ่งพื้นที่ออกเป็น 8 โซน ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

 

โซนที่ 1 จักรวาลและโลก

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับจักรวาล โลก สิ่งมีชีวิต รวมทั้งไดโนเสาร์ซึ่งถือกำเนิดมานานแล้ว

 

โซนที่ 2 เมื่อชีวิตแรกปรากฏ

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อราว 3,400 ล้านปีก่อน เป็นช่วงที่ดาวเคราะห์ร้อนจัดและปั่นป่วน เนื่องจากภูเขาไฟระเบิดและการพุ่งชนของอุกกาบาต โลกค่อยๆ เย็นตัวลง ทั้งบรรยากาศและน้ำช่วยนำทางไปสู่พัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

 

โซนที่ 3 พาลีโอโซอิก 

มหายุคแห่งวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับมหายุคพาลีโอโซอิกซึ่งมีระยะเวลา 542 ล้านปีที่แล้ว โดยแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ มีการจำลองของสภาพภูมิประเทศที่เคยเกิดขึ้นในยุคนั้น พร้อมทั้งหุ่นจำลองของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในยุคต่างๆ

 

โซนที่ 4 มหายุคมีโซโซอิค

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับมหายุคมีโซโซอิคซึ่งอยู่ในช่วงเวลา 251-65 ล้านปีก่อน

 

โซนที่ 5 วิถีชีวิตไดโนเสาร์

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์โดยเฉพาะ เช่น ลักษณะของไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ การกินอาหาร การล่าเหยื่อ การป้องกันตัว การเลี้ยงลูกอ่อน และการสูญพันธุ์

 

โซนที่ 6 คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับนักบรรพชีวินวิทยาซึ่งทำงานศึกษาอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ทั่วโลก โดยมีการเล่าเรื่องราวผ่านจอวิดิทัศน์แสดงเหตุการณ์จำลอง

 

โซนที่ 7 ซีโนโซอิก

มหายุคแห่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดแสดงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แบ่งออกเป็น 7 สมัย คือ สมัยพาลีโอซีน สมัยอีโอซีน สมัยโอลิโกซีน สมัยไมโอซีน สมัยไพลโอซีน สมัยไพลสโตซีน และสมัยโฮโลซีน

 

โซนที่ 8 เรื่องของมนุษย์

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ และการสร้างอารยธรรมของมนุษย์ผ่านวัตถุจัดแสดงต่างๆ เช่น โครงกระดูกจำลองของมนุษย์โบราณ ภาพวาด ภาพถ่าย แผนผัง และวิดีทัศน์

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

  • กระดูกส่วนต้นขาของไดโนเสาร์อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่พบในประเทศไทยอายุประมาณ 209 ล้านปี
  • กระดูกไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน เป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทย

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 200 หมู่ที่ 11 ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46140
โทรศัพท์ : 043-871 014 / 043-871 393 - 4 / 043-871 612 - 6
โทรสาร : 043-871 614
เว็บไซต์ : http://www.sdm.dmr.go.th/website
อีเมล : SDMK@DMR.MAIL.GO.TH

วันและเวลาทำการ

วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 09.30-16.30 น.

** ปิดทุกวันจันทร์ **

 

ค่าเข้าชม

คนไทย

  • ผู้ใหญ่ 40 บาท
  • เด็ก 10 บาท (อายุไม่เกิน 12 ปี)

ชาวต่างชาติ

  • ผู้ใหญ่ 100 บาท
  • เด็ก 50 บาท (อายุไม่เกิน 12 ปี)

การเดินทาง

  • รถยนต์ : ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ต่อด้วยเส้นทางหมายเลข 23 ทางหลวงหมายเลข 213 และ 227 มหาสารคาม-กาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ รวมระยะทาง 564 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 227 (กาฬสินธุ์-สหัสขันธ์-คำม่วง-วังสามหมอ-พังโคน) ก่อนถึงตัวอำเภอสหัสขันธ์ประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่วัดสักกะวันตรงข้างโรงเรียนสหัสขันธ์ศึกษา เป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร

 

  • รถโดยสารประจำทาง : เส้นทางกรุงเทพฯ-กาฬสินธุ์ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-22.00 น. ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 1490 เรียก บขส. หรือ โทร 0 2936 2841-48 หรือ www.transport.co.th จากนั้นต่อรถประจำทางกาฬสินธุ์ ถึง อ.สหัสขันธ์ (ระยะทาง 30 กิโลเมตร)

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรุณาติดต่อที่เบอร์

  • 043-871 014
  • 043-871 612 - 6 / 043-871 393 - 4 ต่อ 118 , 119

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพื้นที่สำหรับจอดรถ

45

แบ่งปัน

กิจกรรม

14 ม.ค. 2566

13 มกราคม 2566
มหัศจรรย์วันของเด็กๆ ในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2566 ที่เด็กๆ ทุกคนตั้งตาคอย ณ พิพิธภัณฑ์สิรินธร วันที่ 14 มกราคม 2566   เรากลับมาจัด On-site กันอีกครั้ง เรียนรู้ธรณีวิทยา สร้างสรรค์จินตนาการ  พบกับ ฐานกิจกรรมทางธรณีวิทยา นิทรรศการอุทยานกาฬสินธุ์ การแสดงบนเวทีจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ การประกวดพ฿ดส่งเสริมการท่องเที่ยว กิจกรรมเล่นเกมแสนสนุก พร้อมอาหาร เครื่องดื่มฟรีตลอดงาน  การเดินทางมาพิพิธภัณฑ์สิรินธร https://goo.gl/maps/PAyab817L6ZhP4fo8

30 ธ.ค. 2565

01 ม.ค. 2566

29 ธันวาคม 2565
กรมทรัพยากรธรณี มอบของขวัญปีใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวทุกท่าน เปิดให้เข้าชม พิพิธภัณฑ์สิรินธร ฟรี ฟรี ฟรี  ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2565 - 1 มกราคม 2566 และปิดให้บริการในวันที่ 2 มกราคม 2566 เนื่องจากตรงกับวันจันทร์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 043 871 613

09 พ.ค. 2565

12 พ.ค. 2565

10 พฤษภาคม 2565
ได้เวลาพูดคุยกันกับ Facebook Live ประจำเดือนพฤษภาคม 2565  เรื่อง Fossil or not “นี่ฟอสซิลมั้ย จะใช่รึเปล่า” กับผู้เชี่ยวชายเรื่องฟอสซิล วันที่ 12 พฤษภาคมนี้ เวลา 14.00 น. ที่ Facebook : พิพิธภัณฑ์สิรินธร-Dinosaur museum     ร่วมสนุก ส่งภาพที่คุณสงสัยว่านี่คือฟอสซิลหรือไม่? ใน Comment ใต้โพสท์ https://www.facebook.com/sirindhorn.museum/photos/a.226171444223117/2041865299320380/ ลุ้นรับหมวก Collection ใหม่ 5 ใบ  

20 ส.ค. 2564

30 ส.ค. 2564

19 สิงหาคม 2564
ขอเชิญร่วมกิจกรรมเดือนแห่งวิทยาศาสตร์ ประจำเดือนสิงหาคม ผ่านทางออนไลน์ Live Facebook : พิพิธภัณฑ์สิรินธร-Dinosaur museum   วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564 10.00-11.00 น. ร่วมสนุกกับกิจกรรม Live Facebook เล่นเกมชิงรางวัล 14.00-15.00 น. ชม Live การแข่งขันตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์กับพิพิธภัณฑ์สิรินธร   วันอังคารที่ 31 สิงหาคม 2564 10.00-11.00 น. ร่วมสนุกกับกิจกรรม Live Facebook เล่นเกมชิงรางวัลฃ 14.00-15.00 น. รับสมัคร 50 ครอบครัว ร่วมสนุกกับกิจกรรมเรียนรู้ “นักสำรวจตัวน้อย” กับพี่นำชมผ่าน Application Zoom   สอบถามรายละเอียดได้ที่   Facebook : พิพิธภัณฑ์สิรินธร-Dinosaur museum  และ @Line ID: @sirindhornmuseum

15 ก.ค. 2564

29 ก.ค. 2564

14 กรกฎาคม 2564
เปิดรับสมัคร โรงเรียนหรือน้องๆ​ที่สนใจ​ ร่วมกิจกรรม ธรณีวิทยาสู่ห้องเรียน​ "Dino's​ classroom" โดยพี่ๆนักธรณีวิทยา​ ผู้​เชี่ยวชาญ​ มีให้เลือก​ 3 คลาส​ 3 วัน ได้แก่ 15​ กรกฎาคม​ 2564 เรื่อง "ธรณีประวัติ​" โดย​ ดร.พรเพ็ญ​ จันทสิทธิ์ 20 กรกฎาคม​ 2564  เรื่อง​ "โลกและการเปลี่ยนแปลงทาง​ธรณี"​ โดยคุณณสนนท์​ ขำคมเขตร์ 29 กรกฎาคม​ 2564 เรื่อง "หิน​ และ​ แร่​" โดยคุณปรารถนา​ ขำไข   ออนไลน์ผ่านระบบ Zoom รับจำนวนจำกัด ห้องละ​ 200 คน เท่านั้น สอบถามสมัครผ่านทาง​ LINE@​: @SIRINDHORNMUSEUM ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ Facebook : พิพิธภัณฑ์สิรินธร-Dinosaur museum  
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง