กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร

31 มีนาคม 2566

ชื่นชอบ 640

15,725 ผู้เข้าชม

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

จังหวัดชุมพร ได้มอบที่ดินจำนวน 7 ไร่ ให้กับกรมศิลปากร เพื่อให้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง เพื่อให้ท้องถิ่นเกิดความรัก ความภาคภูมิใจในความเป็นมาของตนเองและจะได้ร่วมกันรักษามรดกวัฒนธรรมที่มีค่าให้คงอยู่สืบไป

 

อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร เป็นอาคาร 2 ชั้น มีลักษณะการผสมผสานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้และสถาปัตยกรรมร่วมสมัยเข้าด้วยกัน ทำให้มีลักษณะโดดเด่นและทันสมัย ภายในประกอบด้วย ห้องสมุด ห้องประชุม ห้องอเนกประสงค์ สำนักงาน คลังเก็บโบราณวัตถุศิลปวัตถุ ร้านจำหน่ายหนังสือและของที่ระลึก โดยห้องจัดนิทรรศการถาวร แบ่งตามเนื้อหาเป็น 8 หัวข้อ ได้แก่

 

  • จังหวัดชุมพร เป็นการให้รายละเอียด เกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นของจังหวัดชุมพรในปัจจุบัน โดยเฉพาะข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ มีสื่อการจัดแสดงได้แก่ การใช้ภาพโปร่งแสง และคำบรรยาย

 

  • สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในชุมพร  บอกเล่าร่องรอยหลักฐานการดำรงชีวิตของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดชุมพร (ในช่วงเวลาราว 2,500 ปีมาแล้ว) โดยใช้ข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีในการอธิบาย สื่อการจัดแสดงใช้หุ่นจำลองขนาดเท่าจริง (Near Life-Size Diorama) แสดงภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประกอบกับการใช้โบราณวัตถุและภาพถ่ายแหล่งโบราณคดี ในการอธิบายเรื่องราวในช่วงเวลาดังกล่าว

 

  • พัฒนาการในช่วงต้นประวัติศาสตร์  บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ระยะแรกเริ่ม (ในช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 5 - 10)  คือ การเกิดขึ้นของชุมชนโบราณบริเวณเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร  จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ แสดงถึงพัฒนาการของชุมชนระยะแรกเริ่มประวัติศาสตร์และบทบาทความสำคัญของชุมชนในฐานะเมืองท่า  ที่มีการติดต่อค้าขายกับโลกภายนอก ผ่านหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุ ที่มีความเกี่ยวพันด้านแหล่งกำเนิดจากภูมิภาคต่างถิ่น อาทิ  กลองมโหระทึกสำริด หินมีค่าสีต่างๆ ฯลฯ สื่อการจัดแสดงประกอบด้วย โบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว หุ่นจำลองขนาดเล็ก (Miniature Figure Diorama) แสดงภาพชุมชนเมืองท่าโบราณ บริเวณเขาสามแก้ว ภาพถ่ายโบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว และภาพถ่ายทางอากาศ

 

  • สมัยประวัติศาสตร์ในชุมพร แสดงหลักฐานการอยู่อาศัยและร่องรอยการเกิดขึ้นของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นสมัยสุโขทัย  สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ผ่านมุมมองทางหลักฐานด้านโบราณคดีที่พบในเขตเมืองชุมพร อาทิ  ศิลปวัตถุเนื่องในศาสนา และสิ่งของเครื่องใช้ ฯลฯ สื่อการจัดแสดงประกอบด้วย โบราณวัตถุที่พบในเขตเมืองชุมพร แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ หุ่นจำลองขนาดเล็ก (Miniature Figure Diorama) แสดงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์

 

  • ชุมพรกับสงครามโลกครั้งที่ 2 และ วีรกรรมของยุวชนทหาร เป็นการจัดแสดงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 และวีรกรรมของยุวชนทหารที่ทำการสู้รบป้องกันอธิปไตยจากการรุกล้ำของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในเหตุการณ์ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดชุมพร ในช่วงเช้าของวันที่ 8 ธันวาคม 2484 สื่อการจัดแสดง ใช้หุ่นจำลองขนาดเล็ก (Miniature Figure Diorama) แสดงเหตุการณ์การสู้รบของยุวชนทหาร กับกองกำลังทหารญี่ปุ่น ณ สมรภูมิเชิงสะพานท่านางสังข์ ประกอบกับภาพถ่ายเหตุการณ์สำคัญ ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2

 

  • ธรรมชาติวิทยาและมรดกดีเด่นของจังหวัดชุมพร  กล่าวถึงลักษณะทางธรรมชาติวิทยาที่โดดเด่นของจังหวัดชุมพร คือ การเป็นแหล่งชีวภาพใต้ทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการละเล่นในเทศกาลต่างๆ หรือแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยใช้สื่อจัดแสดงประเภทภาพถ่าย ภาพลายเส้น หุ่นจำลองขนาดใหญ่และเล็ก เพื่อแสดงเหตุการณ์และเรื่องราวในส่วนนี้ อาทิเช่น หุ่นจำลองวิถีชีวิตพื้นบ้านของคนชุมพร ท่ามกลางบรรยากาศสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ฯลฯ

 

  • พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์  บอกเล่าเรื่องราวพระประวัติ พระกรณียกิจของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรฯ ที่มีต่อประเทศชาติบ้านเมือง ในด้านต่างๆ รวมถึงความสัมพันธ์ของพระองค์ท่านที่มีต่อจังหวัดชุมพร ซึ่งพระองค์ท่านได้ตัดสินพระทัย ใช้เวลาในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ เสด็จมาประทับ ณ หาดทรายรี (ทางใต้ของปากน้ำจังหวัดชุมพร) ตราบจนสิ้นพระชนม์  สื่อการจัดแสดง ใช้ภาพพระสาทิสลักษณ์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และแผ่นป้ายแสดงลำดับสายสกุล “อาภากร” ประกอบการบรรยายพระราชประวัติของพระองค์ท่าน

 

  • ชุมพรกับการเป็นเมืองบนเส้นทางผ่านของพายุไต้ฝุ่น จัดแสดงเรื่องราวว่าด้วยการเกิดพายุไต้ฝุ่นในจังหวัดชุมพร สื่อการจัดแสดง ใช้การสร้างฉากจำลองเหตุการณ์วาตภัยพายุไต้ฝุ่นเกย์ ที่สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2532 มีการใช้เทคนิคแสง-สี-เสียง ประกอบวีดีทัศน์ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถรับรู้เสมือนร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้น

 

 

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

กลองมโหระทึก จากแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว หน้ากลองแต่งด้วยลายดาวหรือลายนกกระสาบินทวนเข็มนาฬิกา จำนวน 8 ตัว ลักษณะและลวดลายของกลองมโหระทึกนี้สามารถเปรียบเทียบได้กับกลองมโหระทึกที่พบในวัฒนธรรมดองซอน ของเวียดนาม ซึ่งมีอายุราว 2,700-1900 ปีมาแล้ว

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

302 ถนนไตรรัตน์ ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000
โทรศัพท์ : 077-630 758
เว็บไซต์ : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chumphon

วันและเวลาทำการ

วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.

ค่าเข้าชม

  • ชาวไทย 20 บาท
  • ชาวต่างประเทศ 100 บาท
  • นักเรียน/นักศึกษาในเครื่องแบบ/ภิกษุ สามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียม

การเดินทาง

โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35(ธนบุรี-ปากท่อ) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4(เพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงสี่แยกปฐมพร จากนั้นแยกซ้ายเข้าตัวเมืองชุมพร ตามทางหลวงหมายเลข 4001 อีกประมาณ 8 กิโลเมตร ระยะทางประมาณ 463 กิโลเมตร

 

โดยรถประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน เส้นทางกรุงเทพฯ-ชุมพร ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง

 

โดยรถไฟ มีรถไฟออกจากสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง)-ชุมพร ทุกวัน ทั้งรถเร็วและรถด่วน

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีมาเป็นหมู่คณะกรุณาทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพื้นที่สำหรับจอดรถ

4

แบ่งปัน

กิจกรรม

16 ก.พ. 2566

17 ก.พ. 2566

06 กุมภาพันธ์ 2566
ขอเชิญชวนชมนิทรรศการวาดศิลป์แผ่นดินชุมพร Chumphon Art Exhibition ครั้งที่ 1 พบกับ นิทรรศการภาพวาดสีน้ำอันสวยงามที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดชุมพร ประกวดแข่งขันการวาดภาพสีน้ำระดับเยาวชนเพื่อคัดเลือกสู่ระดับนานาชาติ กิจกรรมอบรมและสาธิตการวาดภาพสีน้ำ (workshop) กิจกรรมวาดภาพสีน้ำสถานที่สำคัญต่างๆ ของ จ.ชุมพร พบกับศิลปินรับเชิญชั้นแนวหน้าของประเทศที่จะมาให้ความรู้ความเข้าใจกับงานศิลปะ   ระหว่างวันที่ 16 - 17 กุมภาพันธ์ 2566  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร พิกัด : https://goo.gl/maps/sPXcevbZmEWnAuwo6   เปิดให้ผู้เข้าชม วันพุธ - วันอาทิตย์  เวลา 9.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) ค่าเข้าชมคนไทย 20 บาท ต่างชาติ 100 บาท
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเล่าในจังหวัดชุมพร