สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
Museum Thailand พาปักหมุด นิทรรศการ PRIMATES and ME: เรียนรู้วานร เข้าใจมนุษย์
ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตนิทรรศการซึ่งได้รับแรงบันดาลใจสำคัญจาก “ซูซู” และ “ไมค์” อุรังอุตังจากสวนสัตว์จังหวัดลพบุรี ที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างมากในยุค Y2K
เรื่องราวของวานรศึกษาในมิติต่าง ๆ ทั้งเรื่องไพรเมตวิทยา ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มานุษยวิทยากายภาพ จนถึงมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ที่นำเสนอผ่าน content ผสมผสานวัตถุจัดแสดงทั้งด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างโครงกระดูก หัวกะโหลก กระดูกต้นขา-มือ สมุดบันทึกภาคสนาม รูปปั้นจำลอง ตุ๊กตาลิง หรือแม้แต่หัวโขนจากวรรณคดีรามเกียรติ์ ล้วนทำให้นิทรรศการเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
‘ลูซี’ หลักฐานรอยเชื่อมต่อของวิวัฒนาการจากวานรสู่มนุษย์ ลูซีเป็นโฮมินิดที่มีรูปร่างคล้ายลิง มีกระดูกเชิงกรานและกระดูกขาลักษณะแบบเดียวกับมนุษย์ปัจจุบัน จึงเดินตัวตรงด้วยขาสองข้างแบบเดียวกับมนุษย์ ซึ่งบรรพบุรุษของมนุษย์ในยุคแรก ๆ อาจดูไม่แตกต่างไปจากวานร แต่มีคุณสมบัติสำคัญคือ การยืนตัวตรง เคลื่อนไหวด้วยขาและเท้าทั้งสองข้าง มีสมองขนาดใหญ่ ทำให้ “มนุษย์” ปรับตัวขึ้นมามีอำนาจเหนือกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
Highlight ของนิทรรศการนี้อาจจะไม่หวือหวา แต่มีความเรียบง่ายและน่าสนใจ คือ การหยิบยก “ไม้เท้าของปรีดี พนมยงค์” ขึ้นมาบอกเล่าถึงความพยายามในการยืนหยัดที่จะเดินสองขาของมนุษย์แม้กระทั่งวัยชรา เพียงแค่เพราะไม่อยากกลับไปเดินสี่ขาแบบไพรเมตอีกนั่นเอง
ท้ายที่สุดนิทรรศการได้ตั้งคำถามให้ชวนคิดต่อถึงพี่น้องร่วมบรรพบุรุษของมนุษย์ที่ยังคงดำรงชีวิตอยู่ในหลายพื้นที่ ว่าเราจะเรียนรู้อะไรจากพวกเขาได้อีกบ้างเพื่อที่จะเข้าใจตนเอง ดังเช่นชื่อนิทรรศการ PRIMATES and ME
ข้อเสียอย่างเดียว คือ พิพิธภัณฑ์ค่อนข้างอยู่ไกลเมืองและการเดินทางโดยรถสาธารณะเข้าไปในมหาวิทยาลัยยังไม่ค่อยสะดวกมากนัก แต่หากใครสนใจเรื่องราวของไพรเมตวิทยา Museum Thailand แนะนำนิทรรศการนี้ให้ไปปักหมุดเรียนรู้กันได้เลยครับ
นิทรรศการเปิดให้เข้าชมฟรี วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.30 - 15.30 น. จนถึงเดือนธันวาคม 2566 (ปิดทำการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: โทร. 02 696 6610 - 12 หรือ Facebook: https://www.facebook.com/SocAnthTUMuseum
#MuseumThailand #พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ #PRIMATESandMEเรียนรู้วานรเข้าใจมนุษย์