คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

“สุขศาลา”

สถานพยาบาลในอดีต

     "สุขศาลา" เป็นชื่อเรียกสถานพยาบาลตามท้องที่ต่างๆ ในอดีต ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็นสถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลอำเภอ กล่าวได้ว่าสุขศาลามีความสำคัญต่อพัฒนาการของระบบสุขภาพของคนในสังคมไทยอยู่ไม่น้อยเนื่องจากเป็นสถานที่ให้บริการสุขภาพที่ใกล้ชิดกับผู้คนมานับแต่อดีต

     หากย้อนกลับไปถึงความเป็นมาของสุขศาลา เราคงต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยที่มีการจัดตั้ง “โอสถศาลา” สถานที่จำหน่ายยาให้แก่ราษฎร ในช่วงปีพ.ศ. 2439-2445 เคยมีการตั้งโอสถศาลาในหัวเมืองต่างๆ ขึ้น ได้แก่ หัวเมืองพิษณุโลก เมืองอุตรดิตถ์ เมืองอุทัยธานี เมืองปราจีนบุรี เพื่อเป็นสถานที่ในการจำหน่ายยาราคาถูกให้แก่ราษฎรตามหัวเมือง แต่ก็ต้องมีอันยกเลิกไปเนื่องจากรัฐบาลขาดทุนมาโดยตลอด กระทั่งในปี พ.ศ. 2456 จึงได้มีการตั้งโอสถศาลาใหม่ขึ้นในบางจังหวัดเพื่อเป็นสถานที่บำบัดโรคและจำหน่ายยา โดยต่อมาได้พัฒนาเป็น "สุขศาลา" และในเวลาต่อมาก็พัฒนาเป็นสถานีอนามัย เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบท เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย เป็นโรงพยาบาลอำเภอ และโรงพยาบาลชุมชนในปัจจุบัน

     ในปี พ.ศ. 2475 โอสถศาลาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สุขศาลา” โดยสุขศาลายังแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ กล่าวคือ ท้องถิ่นใดมีประชากรหนาแน่นทางราชการจะส่งแพทย์ไปประจำเรียกสุขศาลานั้นว่า “สุขศาลาชั้นหนึ่ง” ส่วนสุขศาลาที่ไม่มีแพทย์ประจำเรียกว่า “สุขศาลาชั้นสอง”  และเมื่อมีการสถาปนากระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2485 กรมการแพทย์ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงดังกล่าวได้รับโอน “สุขศาลาชั้นหนึ่ง” ที่ตั้งอยู่ตามอำเภอใหญ่ๆ และในบางจังหวัด ไปปรับปรุงขึ้นเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด ในขณะที่บางแห่งให้เทศบาลรับไปดำเนินการ ส่วน“สุขศาลาชั้นหนึ่ง “ที่ไม่ได้โอนไปอยู่กับเทศบาลและไม่ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลให้อยู่ภายใต้การดูแลของกรมอนามัย “สุขศาลาชั้นหนึ่ง” เหล่านี้จึงพัฒนามาเป็น “สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง” ในปี พ.ศ. 2497 และได้มีการพัฒนาต่อเนื่องเป็น “ศูนย์การแพทย์อนามัยชนบท” ในปี พ.ศ.2515 เป็น “ศูนย์การแพทย์และอนามัย” ในปี พ.ศ. 2517 และเป็น “โรงพยาบาลอำเภอ” ในปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน 

จัดทำโดย Muse Mobile

1,732 views

0

แบ่งปัน